ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา ต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงวัย
คำสำคัญ:
ผู้สูงวัย, อาการซืมเศร้า, สุขภาพจิตศึกษาบทคัดย่อ
อาการซึมเศร้าพบมากในผู้สูงวัย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและครอบครัว นำไปสู่ปัญหาสังคม ชุมชน และประเทศ การวิจัยกึ่ง ทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงวัยประชากรที่ศึกษาคือผู้สูงวัยอายุ ระหว่าง 60-89 ปี จำนวน 66 ราย สุ่มเข้ากลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน กลุ่มศึกษาได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน อาการซึมเศร้า ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบผลการศึกษาระหว่าง 2 กลุ่มโดยสถิติ chi-square, Fisher’s Exact test และ t-test ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยของอาการซึมเศร้าในกลุ่มศึกษา หลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา (6.21) ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของอาการซึมเศร้าก่อนใช้โปรแกรม (19.00) (p < 0.001) และผล ต่างของคะแนนเฉลี่ยของอาการซึมเศร้าก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา (12.79) มากกว่ากลุ่ม ควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ (0.67) (p < 0.001) สรุปคือโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษามีประสิทธิผลในการลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงวัย บุคลากรสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงวัยได้