การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • Nataya Kamsawang หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • Treeyaphan Supamanee คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200
  • Bunpitcha Jitpakdee คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย, พยาบาลวิชาชีพ, องค์กรแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

งานบริการสุขภาพต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล
อย่างปลอดภัย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบเปรียบเทียบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
เกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย และเปรียบเทียบการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพระดับบริหาร กับระดับ
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องนี้ สำรวจจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก อย่างน้อย
1 ปีขึ้นไป จำนวน 300 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยแปลจากแบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัย
ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตามกรอบแนวคิดขององค์กรวิจัยสุขภาพและคุณภาพระบบบริการสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยด้านที่มีการรับรู้เชิงบวก
มากที่สุด คือ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 74.9) ส่วนด้านการส่งมอบงาน
มีการรับรู้เชิงบวกน้อยที่สุด (ร้อยละ 32.3) พยาบาลระดับบริหารและระดับปฏิบัติการมีการรับรู้วัฒนธรรม
ความปลอดภัยของผู้ป่วยแตกต่างกัน 8 องค์ประกอบจาก 12 องค์ประกอบ ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพควรพัฒนา
การรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยให้มากขึ้นและครบถ้วนทุกด้าน เพื่อความยั่งยืนของวัฒนธรรม
ความปลอดภัยของผู้ป่วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-23