การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนบนคอนแทคเลนส์ที่จำหน่ายในตลาดนัด

ผู้แต่ง

  • Chatluk Rojanabenjawong ภาควิชาทัศนมาตรศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • Thanaporn Kajornlaph ภาควิชาทัศนมาตรศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • Supattra Detphiphatsuphanon ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • Noppadon Jumroon ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

งานฟาร์ม, ระบบงานฟาร์ม, การจัดการศึกษา, อาชีวศึกษาเกษตร, โครงการเกษตรภายใต้การนิเทศ

บทคัดย่อ

ผลิตภัณฑ์เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์ (contact lens) ได้ถูกใช้แทนแว่นสายตา เพื่อประโยชน์ด้านกีฬาอาชีพการแสดง ความ สวยงามในการเปลี่ยนสีนัยน์ตา เป็นสาเหตุเสี่ยงให้เกิดการระคายเคืองตา เช่นตาแห้ง ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ ตลอดจนการติดเชื้อ  โดยพบว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียบนคอนแทคเลนส์ ตลอดจนตรวจมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์องค์การมาตรฐานสากล (ISO 11978:2000 (E)) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เลนส์สัมผัส จากร้านจำหน่ายคอนแทคเลนส์ที่ตลาดนัด 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดไนท์บาซาร์ ตลาดนัดข้างมหาวิทยาลัยนเรศวร และ ตลาดนัดถนนคนเดินวัดจันทร์ตะวันออก จังหวัดพิษณุโลก เก็บตัวอย่าง 15 ยี่ห้อ จาก 5 ร้าน ร้านละ 3 ยี่ห้อ ผลการศึกษาพบการปน เปื้อนเชื้อแบคทีเรีย บนคอนแทคเลนส์ 2 ยี่ห้อ (ร้อยละ 13.3) จากตลาดไนท์บาซาร์และตลาดนัดข้างมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเชื้อ Micrococcus spp. และ Bacillus spp. ตามลำดับ ผลการตรวจสอบมาตรฐานบรรจุภัณฑ์พบว่าคอนแทคเลนส์จากตลาดไนท์บาซาร์ 3 ยี่ห้อ (ร้อยละ 20.0) ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์องค์การมาตรฐานสากลและตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ผลการ ศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียบนคอนแทคเลนส์และตรวจมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ของคอนแทคเลนส์ในตลาดนัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-23