ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทยภายหลัง 5 ปี ด้วยการขับเคลื่อนของระบบสุขภาพระดับอำเภอ

ผู้แต่ง

  • Kitti Kanpirom เขตสุขภาพที่ 5 และเขตสุขภาพที่ 13 กทม.สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • Kavalin Chuencharoensuk กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • Juthatip Pitak กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพ, บริการปฐมภูมิ, ระบบสุขภาพระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ระบบสุขภาพระดับอำเภอใน การขับเคลื่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานระบบสุขภาพระดับ อำเภอ ในปีงบประมาณ 2556-2560 และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการ โดยเก็บข้อมูลผู้ดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพ ระดับอำเภอ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2559-มีนาคม 2560 ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นเอง คำถามเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหาร จัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและแก่นเนื้อหาสาระ นำ เสนอโดยใช้ค่าร้อยละและบรรยายความ ผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นทุกปี ปี พ.ศ. 2556-2560 คิดเป็น ร้อยละ  30.5, 50.0, 94.7, 100.0 และ 100.0 ตามลำดับ การจัดบริการปฐมภูมิเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพทุกสาขา ประเด็น ที่ได้ดำเนินการมากที่สุด คือ การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 26.6 ผลดีคือเครือข่ายมีส่วนร่วมในการทำงานค้นหาปัญหาของพื้นที่อย่างเป็นระบบ การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการมีความเชื่อมโยงกับสถานบริการทุกระดับระบบสารสนเทศใช้เครือข่าย ออนไลน์ นิเทศงานด้วยการเยี่ยมเสริมพลัง บูรณาการงบประมาณทุกภาคส่วน แบ่งปันทรัพยากรระหว่างสถานบริการทุกระดับ มีทีม นำที่มีสมรรถนะ อุปสรรคคือการสื่อสารนโยบายที่ไม่เข้าใจถึงระดับตำบลสรุปการพัฒนาระบบบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับ อำเภอทำให้เกิดประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ข้อเสนอคือเน้นการทำงานในชุมชนที่ชัดเจนต่อเนื่องและ สื่อสารไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการนโยบายให้พื้นที่ทำงานได้สะดวกขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-23