ประสบการณ์การประเมินสมรรถภาพปอดด้วยการเดิน 6 นาที (6MWT) ในผู้ป่วยโควิด – 19 ณ หน่วยคัดแยกและดูแลรักษาผู้ป่วยแรกรับ

Main Article Content

ภราดร ล้อธรรมมา

บทคัดย่อ

          สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 กรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center: EOC) เพื่อตอบโต้การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19  และเริ่มคัดกรองหาผู้ติดเชื้อที่ช่องทางเข้าออกประเทศไทย และตั้งหน่วยคัดแยกและดูแลรักษาผู้ป่วยแรกรับเพื่อปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะเชิงรุก เมื่อตรวจพบผู้ป่วยจากชุดตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ที่ผลการตรวจเป็นบวก (ATK  positive) จำเป็นต้องประเมินสัญญาณชีพเบื้องต้น พร้อมกับการประเมินสมรรถภาพปอดด้วยการเดิน 6 นาที (6MWT) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสมรรถภาพปอดเบื้องต้น โดยการเปรียบเทียบระดับออกซิเจนปลายนิ้วมือก่อนและหลังการทดสอบ เพื่อประเมินและคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการของโรคปอดอักเสบรุนแรงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจอย่างเร่งด่วนกับผู้ป่วยที่สามารถให้การดูแลแบบปกติ ณ โรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลสนาม


          จากประสบการณ์การประเมินสมรรถภาพปอดด้วยการเดิน 6 นาที (6MWT) ในผู้ป่วยโควิด – 19 ณ หน่วยคัดแยกและดูแลรักษาผู้ป่วยแรกรับ พบว่าในระหว่างการทดสอบอาจมีข้อจำกัดบางประการซึ่งผู้ประเมินต้องทำความเข้าใจและการประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินสมรรถภาพปอดด้วยการเดิน  6 นาทีเป็นรายกรณีเพื่อป้องกันการผิดพลาดของผลการประเมินและลดปัจจัยที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทดสอบสมรรถภาพปอดของผู้ป่วย โดยยึดหลักการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและหลักการประเมินสมรรถภาพปอดให้เป็นไปอย่างเคร่งครัด บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์การประเมินสมรรถภาพปอดด้วยการเดิน 6 นาทีในผู้ป่วย COVID-19 โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษา ปัญหาอุปสรรค สาเหตุของปัญหา ข้อเสนอแนะจากประสบการณ์การปฏิบัติงานและแนวทางการประเมินสมรรถภาพปอดด้วยการเดิน 6 นาที (6MWT) จากการปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic article)

References

Butkham, W. & Promsarn, S. (2021). Pulmonary function test with 6-minute walk test in the situation of the 2019 coronavirus epidemic. Medical records Siriraj, 1(1), 57-63. (in Thai)

Emerging infectious disease work Communicable Disease Work Group. (2021). Coronavirus disease 2019 situation, public health standards Bangkok: Emerging infectious disease work Communicable Disease Work Group. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2021). Guidelines for clinical research, practice, care and prevention of coronavirus infection for physicians and public health personnel. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai).

Working Group on Medical Treatment and Prevention of Infections in Hospitals In the case of a patient infected with the corona virus. (2021). Guidelines for medical practice, diagnosis, care and prevention of infection in hospitals. In the case of patients infected with the corona virus 2019 (COVID-19) for doctors and public health personnel. Department of Medical Services, Ministry of Public Health, supervision and treatment of COVID-19. Nonthaburi: Department of Medical Services, Ministry of Public Health. (in Thai) .

World Health Organization. (2020). Occupational safety and health standards: personal protective equipment. Retrieved (2020, October 23) from https://www.osha.gov/laws-regs/regulations/