https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/issue/feed วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2024-06-29T18:19:40+07:00 Waraporn Yottavee journal@unc.ac.th Open Journal Systems <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif';"><img src="https://he01.tci-thaijo.org/public/site/images/uncjournal/head-d7646c1248c7a309c5d63a898453bca4.jpg" alt="" width="643" height="132" /></span></span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</span></strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> </span><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">(ชื่อเดิมวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์) ชื่อภาษาอังกฤษ Journal of Nursing and Health Science Research (ISSN 2822 - 0706 [Online]) จัดทำขึ้นโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์<strong> </strong>คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก<strong> </strong>และสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์<strong> </strong>เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และมีความชำนาญ </span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพได้รับการคัดเลือกจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (</span><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) ฐานที่ 1 ทั้งนี้ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ <strong>ต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน</strong> ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก (ไม่อยู่สถาบันเดียวกับผู้เขียน) และมาจากหลากหลายสถาบัน โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ประเมินบทความ <strong>(Double blinded peer review) </strong></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">กำหนดการเผยแพร่</span></strong><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> (Publication Frequency)</span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดพิมพ์เผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี </span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> ฉบับที่ 1 มกราคม </span><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">– มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> โดยมีบทความที่เผยแพร่ในวารสารฯ จำนวน 20-25 เรื่อง/ฉบับ</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> </span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;">ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน</span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> <u>บทความภาษาไทย </u></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> <u>บทความภาษาอังกฤษ</u></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน)</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> </span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> ในการส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ ผู้นิพนธ์จะได้รับการแจ้งรายละเอียดการชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน โดยส่ง e-mail ผ่านเว็บไซต์ Thaijo2 ในบทความที่ท่าน submission มา <strong>ซึ่งผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน<u>ก่อน</u></strong> ที่วารสารฯ จะนำบทความของท่านเสนอผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและดำเนินการในขั้นตอนถัดไป <strong> </strong>ทั้งนี้หากบทความของท่าน<strong><u>ไม่ผ่าน</u></strong>การพิจารณา ทางวารสาร ฯ จะดำเนินการคืนเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน (หลังหักค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ) จำนวน 2,000 บาท</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> การโอนเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร ฯ ขอให้ผู้นิพนธ์โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาอุตรดิตถ์ ชื่อบัญชี วารสาร วทบ อุตรดิตถ์ โดยสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ <strong>หมายเลขบัญชี 510-3-13278-8 </strong></span></p> <p> </p> <h3> </h3> <p> </p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268570 มุมมองของผู้บริหารการพยาบาลต่อการเตรียมพยาบาลใหม่เข้าสู่ระบบบริการสุขภาพด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยง: การวิจัยเชิงคุณภาพ 2024-03-14T16:03:22+07:00 ภัทรมนัส พงศ์รังสรรค์ wausanee@hotmail.com อัศนี วันชัย wausanee@hotmail.com ปวงกมล กฤษณบุตร wausanee@hotmail.com อชิรญาน์ ศรีพัฒนาวัฒน์ wausanee@hotmail.com <p>การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของผู้บริหารการพยาบาลเกี่ยวกับการเตรียมพยาบาลใหม่เพื่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยงใน 3 ประเด็น คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลใหม่ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา และแนวทางการพัฒนาพยาบาลใหม่ด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในปี 2565 จำนวน 29 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลวิจัยพบว่าในมุมมองของผู้บริหารการพยาบาล คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลใหม่หลังเข้ารับการเตรียมความพร้อมด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยงในระยะเปลี่ยนผ่านสำหรับพยาบาลใหม่ มี 2 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพพยาบาล ได้แก่ ความรู้และทักษะในคลินิก ความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ 2) คุณลักษณะของการเป็นพยาบาลที่เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น ได้แก่ การมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปัญหาอุปสรรคที่อาจทำให้การพัฒนาพยาบาลใหม่ด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยงไม่บรรลุเป้าหมาย คือ ภาระงานในการดูแลผู้รับบริการที่มีจำนวนมากและความต่างระหว่างวัยของผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศการพยาบาล ส่วนแนวทางการพัฒนาพยาบาลใหม่ด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยง มี 2 แนวทาง ดังนี้ คือ 1) การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ ในการทำงานและการฝึกทักษะที่จำเป็นในการทำงานโดยการหมุนเวียนในแผนกที่พยาบาลใหม่ปฏิบัติงาน และการฝึกทักษะการพยาบาลโดยพยาบาลอาวุโสคู่กับพยาบาลใหม่</p> <p>ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) นำคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลใหม่ไปเป็นเป้าหมายในโปรแกรมการพัฒนาพยาบาลใหม่โดยมีกิจกรรมที่สามารถพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะและบุคลิกลักษณะของพยาบาลใหม่ 2) ทบทวนรูปแบบการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ เช่น รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลที่สามารถลดช่องว่างระหว่างวัยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศทางการพยาบาล เป็นต้น</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e272172 รูปแบบการจ้างงานและการทำงานของพยาบาลเกษียณอายุในสถานประกอบการ: การวิจัยเชิงคุณภาพ 2024-06-28T10:06:15+07:00 แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ ann.jir@mahidol.ac.th วันเพ็ญ แก้วปาน ann.jir@mahidol.ac.th สุรินธร กลัมพากร ann.jir@mahidol.ac.th จุฑาธิป ศีลบุตร ann.jir@mahidol.ac.th สุทธีพร มูลศาสตร์ ann.jir@mahidol.ac.th <p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจ้างงานและการทำงานของพยาบาลเกษียณอายุที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 ราย โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก คือ เป็นพยาบาลที่เกษียณอายุแล้วอายุ&nbsp; 45&nbsp; ปีขึ้นไป ปฏิบัติงาน 6 เดือนขึ้นไปในสถานประกอบการ คำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง พัฒนาโดยผู้วิจัยจากการทบทวนวรรณกรรม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามแนวคิดของ Johnson และ LaMontagne</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจ้างงานคือเต็มเวลาและบางช่วงเวลา ในส่วนของการทำงาน พยาบาลมีแรงจูงใจในการทำงาน คือ ต้องการรายได้ ชอบลักษณะงานที่มีขอบเขตความรับผิดชอบชัดเจน รับรู้ถึงคุณค่าของตนเอง รู้สึกผูกพันกับงานด้านพยาบาล และต้องการลดเวลาว่าง พยาบาลมีบทบาทในการให้คำแนะนำ รักษาพยาบาลและบันทึกรายงาน ปัญหาที่พบในการทำงาน คือ ความไม่เท่าเทียม ความเสื่อมของร่างกาย ขาดทักษะการใช้เทคโนโลยี ความเสี่ยงจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพ การขาดประสบการณ์การดูแลสุขภาพคนทำงาน และความเสี่ยงที่ต้องปฏิบัติงานที่นอกเหนือขอบเขตของข้อกำหนดกฎหมายวิชาชีพ ประโยชน์ของการทำงานมีทั้งต่อตนเอง สถานประกอบการ และประเทศ</p> <p>ดังนั้นควรมีการกำหนดรูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของพยาบาลเกษียณอายุ มีการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นไปตามบทบาทเพื่อให้พยาบาลเกษียณอายุสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268710 การมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุไทยในสังคมสูงวัย: การศึกษาสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชัยนาทภายใต้บริบทพื้นที่เขตภาคกลางของประเทศไทย 2024-05-03T12:43:27+07:00 ชุติมา มาลัย parinda@bcnchainat.ac.th ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ parinda@bcnchainat.ac.th อิทธิพล ดวงจินดา parinda@bcnchainat.ac.th อัศนี วันชัย parinda@bcnchainat.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุ และ 2) เปรียบเทียบการมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดชัยนาทจำแนกตามอายุ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน และเขตพื้นที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ที่บ้านในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท จำนวน 628 ราย ที่ถูกคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการสูงวัยอย่างมีศักยภาพ และ 3) การวัดระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA/ F-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุในจังหวัดชัยนาทมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 69.39 ± SD 18.38) เมื่อพิจารณาการมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังในองค์ประกอบรายด้าน ทั้งในด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมและด้านความมั่นคงปลอดภัยพบอยู่ในระดับปานกลาง ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 36.58, 21.91, 10.90, SD = 9.10, 7.48, 3.99 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบระดับการมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังโดยรวมของผู้สูงอายุในจังหวัดชัยนาทจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผลการเปรียบเทียบพบว่าระดับการมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังโดยรวมของผู้สูงอายุมีความแตกต่างตามกลุ่มอายุ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง) และเขตพื้นที่อยู่อาศัย (เขตเมือง เขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท และเขตชนบท) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุที่มีอายุน้อยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้ กลุ่มติดสังคมและอาศัยอยู่ในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท พบมีระดับการมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังสูงกว่ากลุ่มอื่น</p> <p> ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะช่วยนำไปใช้วางแผนกลยุทธ์ กำหนดนโยบายและเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการมีสุขภาวะแบบพฤฒพลังรายด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ที่สอดคล้องตามบริบทพื้นที่จังหวัดชัยนาทเพิ่มขึ้น</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e267411 การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เครือข่ายทางสังคมและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก 2024-05-03T12:41:08+07:00 ณัฐนิชย์ กลิ่นสุคนธ์ panarat0923@gmail.com พนารัตน์ เจนจบ panarat0923@gmail.com ณัฎฐวรรณ คำแสน panarat0923@gmail.com ศรินยา พลสิงห์ชาญ panarat0923@gmail.com สมตระกูล ราศิริ panarat0923@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เครือข่ายทางสังคม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเมืองพิษณุโลกและ 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เครือข่ายทางสังคม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพพระองค์ขาว ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 213 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าระดับการเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพชุมชนพระองค์ขาว เทศบาลเมืองพิษณุโลก (𝑥̅ = 2.83, SD = 1.095) เครือข่ายทางสังคมกับการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = .79, p = .001) และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการเข้าร่วมกิจกรรม (r = .34, p = .002) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268040 การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในชุมชน 2024-03-20T14:09:28+07:00 ประภาพร เมืองแก้ว prapaporn.m@psru.ac.th เจษฎากร โนอินทร์ prapaporn.m@psru.ac.th วรพล แวงนอก prapaporn.m@psru.ac.th ทินกร บัวชู prapaporn.m@psru.ac.th <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในชุมชน พื้นที่ศึกษาคือตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตำบลพลายชุมพล จำนวน 44 คน เลือกแบบเจาะจงคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แนวทางการสนทนากลุ่ม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นคำถามในการประชุมกลุ่มวิพากษ์รูปแบบฯ แนวทางการสนทนากลุ่มประเด็นความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบจับคู่และการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบฯ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยภายหลังการใช้รูปแบบฯ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ และผลต่อสุขภาพและบทบาทผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง โดยมีค่าคะแนนการรับรู้การเสริมพลังอำนาจ ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รูปแบบฯ มี 3 องค์ประกอบ คือ การสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่า ความศรัทธาและความหวัง และมีกระบวนการเสริมพลังอำนาจผู้ดูแล 3 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินความพร้อมของตนเอง 2) การเปลี่ยนแปลงตนเอง 3) การผสมผสานเข้าเป็นเรื่องปกติของชีวิต</p> <p>ข้อเสนอแนะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยผู้อำนวยการ พยาบาลวิชาชีพ ทีมสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและเครือข่ายชุมชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุควรร่วมกันกำหนดเป็นนโยบายและขับเคลื่อนการนำรูปแบบฯ ไปใช้ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องสร้างศักยภาพของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงต่อไป</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e264393 การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมในชุมชน 2024-03-26T11:36:21+07:00 สิรภพ โตเสม siraphob@bcnchainat.ac.th วิสุทธิ์ โนจิตต์ siraphob@bcnchainat.ac.th นฤมล จันทร์สุข siraphob@bcnchainat.ac.th นันตพร ทองเต็ม siraphob@bcnchainat.ac.th <p> </p> <p>การศึกษาวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมในชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น <br />มีการดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม 3) ประเมินผลรูปแบบ โดยศึกษาจากผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมในชุมชน 80 ราย มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม 2) แบบประเมินการทรงตัว 3) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม 4) รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา independent sample t-test และ repeated measures ANOVA.</p> <p>ผลวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการทรงตัวและพฤติกรรมการป้องกันการป้องกันการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 8 และ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ถึงแม้ว่ารูปแบบป้องกันการพลัดตกหกล้มนั้นไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทรงตัวระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองเมื่อระยะเวลาผ่านไป</p> <p>ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพควรนำไปประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อไป</p> <p> </p> <p> </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e269916 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้กระบวนการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 2024-03-22T10:41:38+07:00 เอกรัตน์ เชื้ออินถา eakpin@hotmail.com ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ eakpin@hotmail.com วรภรณ์ ทินวัง eakpin@hotmail.com กรรณิการ์ กองบุญเกิด eakpin@hotmail.com ปนัดดา สวัสดี eakpin@hotmail.com <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้กระบวนการสร้างแรงจูงใจ และ 3) ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจงในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในจังหวัดลำปางจำนวน 560 คน และตัวแทนครอบครัวของผู้ป่วย ชุมชน และบุคลกรสุขภาพจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยกระบวนการสร้างแรงจูงใจ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและแบบทดสอบความรู้ในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ .85, .74, และ .68 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.71 ปี (SD =11.17) สถานภาพสมรสคู่ และจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูง ร้อยละ 51.60 ส่วนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 73.40 ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยใช้กระบวนการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.35, SD = .28) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าค่าเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลตนเองทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ใช้รูปแบบฯ สูงกว่ากลุ่มที่ควบคุม ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 80.06, SD= 2.19, <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 76.20, SD = 2.24 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ใช้รูปแบบฯ สูงกว่ากลุ่มที่ควบคุม ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 26.72, SD = 1.18, <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 21.85, SD = 2.02 ตามลำดับ)</p> <p> ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรได้รับการสร้างเสริมแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เป็นรายบุคล เพื่อให้รับทราบปัญหาและความต้องการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e266580 การพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังวิถีใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดปัตตานี 2024-02-09T13:44:07+07:00 กมลาศ ทองมีสิทธิ์ โยสท์ noppcha@hotmail.com จิตนภา วาณิชวโรตม์ noppcha@hotmail.com กฤษณา ตรียมณีรัตน์ noppcha@hotmail.com นภชา สิงห์วีรธรรม noppcha@hotmail.com กิตติพร เนาว์สุวรรณ noppcha@hotmail.com <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พัฒนารูปแบบ และเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเก่าและวิถีใหม่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดปัตตานี มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์บริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย จำนวน 48 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 2) พัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3) ศึกษาประสิทธิผลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมได้ดี ศึกษา 6 โรงพยาบาลในจังหวัดปัตตานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 388 คน รวมเป็น 1,552 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-square สถิติ Independent t – test และสถิติ Mann-whitney U test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>1. <span style="font-size: 0.875rem;">สถานการณ์การจัดบริการก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดเดือนละครั้ง และติดตามทุก 2-3 เดือน รูปแบบบริการการแพทย์วิถีใหม่ ต้องการให้มีการตั้งจุดตรวจคัดกรองเบื้องต้นใกล้บ้าน เมื่อพบอาการผิดปกติ มีช่องทางให้คำปรึกษาในระบบออนไลน์ เพื่อลดการไปพบแพทย์</span></p> <p>2. รูปแบบการจัดระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังวิถีใหม่ คือ นัดผู้ป่วยทุก 4 เดือน บันทึกผลภาวะสุขภาพด้วยตนเองในเดือนที่ไม่ได้นัด พยาบาลจัดการรายกรณี หรือผู้ที่มีหน้าที่Triage ทุกครั้งที่นัดหมาย เพื่อรับยาตามปกติ ในกรณีที่ผลระดับน้ำตาลในเลือดปกติสามารถเข้าช่องทางเร่งด่วน (Fast tract) เพื่อพบแพทย์</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังวิถีใหม่ พบว่า เพศ อายุ ระดับค่าน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ด้านจำนวน visit พบว่ากลุ่มทดลองมาโรงพยาบาลจำนวน 2 ครั้ง กลุ่มควบคุม มาโรงพยาบาลทั้ง 4 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05)</span></p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e269345 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความเสี่ยงของการหกล้ม กำลังกล้ามเนื้อขา และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลแพร่ 2024-03-26T11:35:31+07:00 พรรณี สิทธิโน chulawaree@gmial.com ยอดปิติ ตั้งตรงจิตร chulawaree@gmial.com ภัททิรา เวียงคำ chulawaree@gmial.com จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ chulawaree@gmial.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความเสี่ยงของการหกล้ม กำลังกล้ามเนื้อขา และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีกระดูกสะโพกหักที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดในโรงพยาบาลแพร่ จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 2) คู่มือการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก 3) คลิปวิดีโอ เครื่องมือผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 4) แบบประเมินความเสี่ยงของการหกล้ม 5) แบบประเมินกำลังกล้ามเนื้อขา และ 6) แบบประเมิน ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความเชื่อมั่นของการประเมินระหว่างบุคคล (interrater reliability) และ คำนวณสัมประสิทธิ์ Cohen’s Kappa ได้เท่ากับ .81, .83 และ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติWilcoxson และPaired t- test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักหลังได้รับโปรแกรมมีความเสี่ยงของการหกล้มลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม มีกำลังกล้ามเนื้อขาและมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> <p>ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดหลังจำหน่ายในสัปดาห์ที่ 4 และบุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนไปประยุกต์ใช้โดยเชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่องสู่ชุมชนในระยะยาวเพื่อพัฒนาคุณภาพของการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268720 ผลการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาลด้วยแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 2024-03-19T16:20:43+07:00 วีรวรรณ เกิดทอง wandee@bcnsurat.ac.th วรรณดี เสือมาก wandee@bcnsurat.ac.th ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์ wandee@bcnsurat.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมจริยธรรมและเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ประกอบด้วย การประชุมปรึกษาทางจริยธรรม (Ethics Conference) การตรวจเยี่ยมทางด้านจริยธรรม (Ethics Round) รายงานวิเคราะห์ประเด็นทางจริยธรรม (Ethics Report) และการสะท้อนคิดทางจริยธรรม (Ethics Reflection) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 127 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมนักศึกษาพยาบาลในการฝึกประสบการณ์ภาคปฏิบัติและคู่มืออาจารย์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล โดยแบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรม ได้ค่าเฉลี่ยดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .90 ความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าหลังการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจริยธรรม ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.85, SD = .02) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอน ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.51, SD = .03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = -8.51)</p> <p>ควรนำการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงไปใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาในทุกรายวิชาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีความตระหนักถึงหลักจริยธรรมในวิชาชีพและสามารถนำมาใช้ปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างเหมาะสมเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268357 ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองตามแบบ 5 เอ ต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร และระดับไขมันในเลือดของพนักงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ 2024-02-22T09:22:55+07:00 สุภาพร เหลียวสูง kanchanap@go.buu.ac.th ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ kanchanap@go.buu.ac.th ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ kanchanap@go.buu.ac.th กาญจนา พิบูลย์ kanchanap@go.buu.ac.th <p>การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองตามแบบ 5 เอ ต่อความรู้ พฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร และระดับไขมันในเลือดของพนักงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นพนักงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองตามแบบ 5 เอ และชุดแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ และ 20 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องภาวะน้ำหนักเกิน พฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับค่าเฉลี่ยระดับไขมันในเลือดในกลุ่มทดลองพบว่า หลังการทดลอง 20 สัปดาห์ มีเพียงค่าเฉลี่ยไตรกลีเซอไรด์ และไขมัน LDL ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่าคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ ไขมัน LDL และ ไขมัน HDL ไม่แตกต่างกัน</p> <p>จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองตามแบบ 5 เอ สามารถเพิ่มระดับความรู้ พฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และไขมัน LDL ได้ ดังนั้นผู้บริหารสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพ และผู้ให้บริการสุขภาพสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินในสถานประกอบการได้</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270048 ผลของการใช้ครีมนวดเท้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกรูดร่วมกับการนวดเท้าด้วยตนเอง ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 2024-04-24T11:34:45+07:00 อนุชา ไทยวงษ์ kamthorn@smnc.ac.th กำทร ดานา kamthorn@smnc.ac.th กัญญาพัชร บัณฑิตถาวร kamthorn@smnc.ac.th มลฤดี แสนจันทร์ kamthorn@smnc.ac.th ดิษฐพล ใจซื่อ kamthorn@smnc.ac.th รัตนา เสนาหนอก kamthorn@smnc.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ครีมนวดเท้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกรูดร่วมกับการนวดเท้าด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี จังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ ครีมนวดเท้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกรูดและการนวดเท้าด้วยตนเอง และ 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก แบบประเมินความพึงพอใจ Monofilament ขนาด 10 กรัม และเครื่องตรวจความชุ่มชื้นผิว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบวิลคอกซัน</p> <p>ผลวิจัยพบว่าภายหลังการใช้ครีมนวดเท้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกรูดร่วมกับการนวดเท้าด้วยตนเองเป็นเวลา 2 และ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนจุดที่มีอาการชาเท้าของเท้าทั้งสองข้างลดลงและน้อยกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุ่มชื้นของผิวที่หลังเท้าทั้งสองข้างเพิ่มขึ้นและมากกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้ครีมนวดเท้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกรูดร่วมกับการนวดเท้าด้วยตนเองช่วยลดจำนวนจุดที่มีอาการชาเท้า และเพิ่มความชุ่มชื้นผิวเท้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พยาบาลควรแนะนำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้เป็นวิธีเสริมเพื่อลดอาการชาเท้าและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270129 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจ แบบไม่รุกรานต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยหายใจแบบไม่รุกราน 2024-03-30T14:03:48+07:00 กษมา ก้านจันทร์ alisa@unc.ac.th อลิษา ขุนแก้ว alisa@unc.ac.th มณฑา อุดมเลิศ alisa@unc.ac.th บุษกร ยอดทราย alisa@unc.ac.th <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจแบบไม่รุกราน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานปกติกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิดที่ได้รับการช่วยหายใจแบบไม่รุกราน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจแบบไม่รุกราน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินแผลกดทับรอบจมูก เยื่อบุจมูกบวม และภาวะท้องอืด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลทั่วไประหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติ Mann-Whitney U-test และสถิติ independent t-test เปรียบเทียบการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติ chi-square</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลทั่วไปของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p&gt;.05) การเกิดแผลกดทับรอบจมูก ภาวะเยื่อบุจมูกบวมและภาวะท้องอืดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) </p> <p>ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจแบบไม่รุกรานสามารถช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับการช่วยหายใจแบบไม่รุกรานของทารกเกิดก่อนกำหนดได้</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268576 ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ 2024-03-22T11:43:04+07:00 ต่อเกียรติ สิงหะ thitima.suk@cmu.ac.th ฐิติมา สุขเลิศตระกูล thitima.suk@cmu.ac.th พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น thitima.suk@cmu.ac.th <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กโรคปอดอักเสบอายุ 1 – 3 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 64 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 32 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน 2) วีดิทัศน์ตัวแบบของผู้ปกครอง 3) สื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์ 4) คู่มือการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล 5) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ 6) แบบประเมินการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ มีค่าความเชื่อมั่น .80 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกลุ่มทดลองหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.577, p &lt; .001) และสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.875, p &lt; .001) </p> <p>จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรนำโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนนี้ไปใช้ในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล เพื่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพเด็กโรคปอดอักเสบต่อไป</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268890 ปัจจัยทำนายการนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน 2024-02-13T14:40:35+07:00 วิรินทร พิมพ์ไลย Wirinthorn@unc.ac.th จิราวรรณ ดีเหลือ Wirinthorn@unc.ac.th นันทพร แสนศิริพันธ์ Wirinthorn@unc.ac.th <p>การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนอนไม่หลับและปัจจัยทำนายการนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โรงพยาบาลลำพูน และโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จำนวน 115 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกและแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะนอนไม่หลับฉบับภาษาไทย แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแบบประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติฟิชเชอร์ และสถิติถดถอยโลจิสติกพหุ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนมีปัญหาการนอนไม่หลับ (AIS ≥ 7) ร้อยละ 44.35 โดยมีค่ามัธยฐานของคะแนนการนอนไม่หลับเท่ากับ 6.0 (IQR = 4.0) และปัจจัยทำนายการนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน ได้แก่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 27.0 กก./ตร.ม. (aOR = 3.05, 95% CI: 1.14-8.16) ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 19.0 คะแนน (aOR = 2.88, 95% CI: 1.17-7.11) และความเชื่อและทัศนคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับมากกว่าหรือเท่ากับ 6.0 คะแนน (aOR = 4.20, 95% CI: 1.51-11.64) โดยมีความถูกต้องในการทำนายร้อยละ 75.10 (AuROC = .751)</p> <p>พยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการประเมินดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และความเชื่อและทัศนคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังปัญหาการนอนไม่หลับ และส่งเสริมการนอนหลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e265960 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทารกได้รับการดูแล ในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดทันทีหลังคลอด 2024-04-03T16:00:07+07:00 ณชพัฒน์ จีนหลักร้อย nachaphat@bcnsprnw.ac.th ถกลรัตน์ หนูฤกษ์ nachaphat@bcnsprnw.ac.th พลอยไพลิน มาสุข กำแพงจินดา nachaphat@bcnsprnw.ac.th ชุติมา บูรณธนิต nachaphat@bcnsprnw.ac.th <p>การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ในมารดาที่ทารกได้รับการดูแลในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดทันทีหลังคลอด จำนวน 93 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสอบถามความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีอิทธิพลร่วมกันทำนายความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทารกได้รับการดูแลในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดทันทีหลังคลอดได้ร้อยละ 30 (R<sup>2</sup> = .3, F = 12.721, p&lt; .01) โดยปัจจัยที่สามารถทำนายความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ได้แก่ ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนม (β= .440, p &lt;.001 และ β= .246, p .008)</p> <p>ดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ควรส่งเสริมทัศนติที่ดีและสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพื่อให้มารดาเกิดความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e265837 ความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2024-04-02T13:35:27+07:00 สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล soianu@kku.ac.th ดวงพร แสงสุวรรณ soianu@kku.ac.th ณัฏฐากุล บึงมุม soianu@kku.ac.th สุภาพักตร์ หาญกล้า soianu@kku.ac.th <p>การวิจัยเชิงสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์จำนวน 167 คน เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเครียด และแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.3 รองลงมาเป็นระดับมาก ร้อยละ 33.5 และมีระดับรุนแรง ร้อยละ 6.0 ส่วนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.9 รองลงมาเป็นระดับดี ร้อยละ 39.5 และมีระดับไม่ดี ร้อยละ 12.6 และพบว่าความเครียดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมทางด้านลบ (r-.374, p&lt;.001) และรายด้านทางด้านลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (r-.306, p&lt;.001) กิจกรรมทางกาย (r-.212, p&lt;.01) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (r-.302, p&lt;.001) การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ (r-.368, p&lt;.001) และการจัดการความเครียด (r-.302, p&lt;.001)</p> <p>ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีความเครียดเพิ่มขึ้นพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพทางบวกจะน้อยลง ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงควรได้รับการคัดกรองความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนเน้นการดูแลเพื่อลดสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียดในขณะตั้งครรภ์</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e267430 ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรงที่ได้รับเคมีบำบัด 2023-11-30T16:25:29+07:00 นฤมล จันทร์สุข drchawanon@gmail.com ชวนนท์ จันทร์สุข drchawanon@gmail.com ชะอุ้ม จันทร์เจริญ drchawanon@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับเคมีบำบัด จำนวน 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ใช้วิธีการจับคู่ แล้วแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 20 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสร้างเสริมพลังสุขภาพจิต ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับเคมีบำบัด ประกอบด้วย 8 กิจกรรม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ได้แก่ 1) สานสัมพันธ์ 2) คุณค่าในตัวฉัน 3) พลังสุขภาพจิตสำคัญไฉน 4) คลายความเครียด เพิ่มพลังแห่งความสุข 5) ในวิกฤตมีโอกาส 6) สายใย สายใจ 7) เติมพลังสู้ชีวิต และ8) แลกเปลี่ยนเรียนรู้นำสู่การพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมพลังสุขภาพจิต กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโปรแกรมสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับเคมีบำบัด</p> <p> ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ได้รับยาเคมีบำบัด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e258928 การศึกษาภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้า และความมีคุณค่าในตนเอง ในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ 2023-04-04T16:11:04+07:00 ศรีแพร เข็มวิชัย saifon.i408@gmail.com เชษฐา แก้วพรม saifon.i408@gmail.com สายฝน อินศรีชื่น saifon.i408@gmail.com <p>การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ กลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ (เทียบเท่าปริญญาตรี) 2558 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า CED-S (Center for Epidemiology Studies-Depression Scale for depression) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Rubin’s Self Esteem Scale) และแบบประเมินความเครียด (Suanprung Stress Test-20) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.9 มีอายุเฉลี่ย 21.2 ปี นักศึกษามีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 14.1 2) นักศึกษาพยาบาลมีความเครียด ระดับปานกลาง (Moderate) ร้อยละ 54.0 ระดับสูง (High) ร้อยละ 36.9 และระดับระดับรุนแรง (severe) คิดเป็นร้อยละ 5.1 3) ความมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล พบว่านักศึกษามีคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง (modurate) ร้อยละ 73.2 และความมีคุณค่าตนเองในระดับสูง (high) ร้อยละ 26.8 4) ความมีคุณค่าในตนเองกับภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามในระดับปานกลางค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.52 ส่วนภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</p> <p> ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ควรศึกษาตัวแปรด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและสุขภาพจิตของนักศึกษา เช่น การปรับตัว การเรียน ปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจในครอบครัว แรงจูงใจ เป็นต้น</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ควรศึกษาวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับผลของการใช้โปรแกรมที่จะสามารถลดภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในกลุ่มนักศึกษาพยาบาล</span></p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270239 รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2024-05-21T16:29:46+07:00 พีระนันทิ์ จีระยิ่งมงคล jantana@ckr.ac.th วัลทณี นาคศรีสังข์ jantana@ckr.ac.th จันทนา ณหทัยโภคิน jantana@ckr.ac.th อนัญญา คูอาริยะกุล jantana@ckr.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล โดยแบ่งการวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดความผิดพลาดของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยและศึกษาการรับรู้และความตระหนักรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยกับความสามารถในการบริหารความเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน เป็นนักศึกษาพยาบาล (ชั้นปีที่ 3 และ 4) และอาจารย์พยาบาล การสนทนากลุ่มอาจารย์และอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก จำนวน 28 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ทดลองใช้นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 23 คน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 และระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงกับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ตามแนวคิดการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ การค้นหาความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดการกับความเสี่ยง การประเมินผลการจัดการความเสี่ยง มี 8 องค์ประกอบที่มีชื่อว่า A-IO-KG-RSF</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลของของการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.1 ค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความตระหนักรู้ในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วยภายหลังได้รับรูปแบบมีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับรูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .01)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2.2 ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนความสามารถในการบริหารความเสี่ยง ภายหลังได้รับรูปแบบมีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับรูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .01)</span></p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ