วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif';"><img src="https://he01.tci-thaijo.org/public/site/images/uncjournal/head-d7646c1248c7a309c5d63a898453bca4.jpg" alt="" width="643" height="132" /></span></span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</span></strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> </span><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">(ชื่อเดิมวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์) ชื่อภาษาอังกฤษ Journal of Nursing and Health Science Research (ISSN 2822 - 0706 [Online]) จัดทำขึ้นโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์<strong> </strong>คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก<strong> </strong>และสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์<strong> </strong>เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษาพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพได้รับการคัดเลือกจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (</span><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) ฐานที่ 1 ทั้งนี้ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ <strong>ต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน</strong> ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก (ไม่อยู่สถาบันเดียวกับผู้เขียน) และมาจากหลากหลายสถาบัน โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ประเมินบทความ <strong>(Double blinded peer review) </strong></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify; text-indent: .5in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in; text-align: justify;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">กำหนดการเผยแพร่</span></strong><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> (Publication Frequency)</span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดพิมพ์เผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี </span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> ฉบับที่ 1 มกราคม </span><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;">– มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> โดยมีบทความที่เผยแพร่ในวารสารฯ จำนวน 20-25 เรื่อง/ฉบับ</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: black;"> </span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><strong><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;">ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน</span></strong></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> <u>บทความภาษาไทย </u></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> <u>บทความภาษาอังกฤษ</u></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน)</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> </span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> ในการส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ ผู้นิพนธ์จะได้รับการแจ้งรายละเอียดการชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน โดยส่ง e-mail ผ่านเว็บไซต์ Thaijo2 ในบทความที่ท่าน submission มา <strong>ซึ่งผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน<u>ก่อน</u></strong> ที่วารสารฯ จะนำบทความของท่านเสนอผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและดำเนินการในขั้นตอนถัดไป <strong> </strong>ทั้งนี้หากบทความของท่าน<strong><u>ไม่ผ่าน</u></strong>การพิจารณา ทางวารสาร ฯ จะดำเนินการคืนเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน จำนวน 2,000 บาท (หลังหักค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและค่าดำเนินการ)</span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"> การโอนเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร ฯ ขอให้ผู้นิพนธ์โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาอุตรดิตถ์ ชื่อบัญชี วารสาร วพบ อุตรดิตถ์ โดยสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ <strong>หมายเลขบัญชี 510-3-13278-8 </strong></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"><span style="font-size: 24px; line-height: 150%; font-family: 'TH SarabunPSK','sans-serif'; color: #555555;"><strong> </strong>* ทั้งนี้ในการส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ ผู้นิพนธ์จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและการจัดทำรูปแบบบทความของวารสาร ฯ อย่างเคร่งครัด ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ : <a title="คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง" href="https://drive.google.com/file/d/1HZFbFlGj0r-TB5dm76BR3fQ38Skvl-ON/view?usp=sharing">https://drive.google.com/file/d/1HZFbFlGj0r-TB5dm76BR3fQ38Skvl-ON/view?usp=sharing</a></span></p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"> </p> <p style="font-size: 15px; font-family: 'Calibri','sans-serif'; line-height: 150%; background: white; margin: 0in 0in .0001pt 0in;"> </p> <p> </p> <h3> </h3> <p> </p> สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ร่วมกับ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข th-TH วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2822-0706 <p>บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> ครอบครัวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e272373 <p>เป้าหมายการดูแลโรคไตเรื้อรังคือการชะลอความเสื่อมของไต โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรังระยะแรกถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ป่วยจะต้องมีการดูแลตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดของลักษณะการดำเนินโรค การรับรู้และการพยากรณ์โรค รวมทั้งความยากและซับซ้อนในการดูแลตนเองล้วนส่งผลต่อการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เพื่อให้การดูแลตนเองของผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล รวมทั้งสนับสนุนผู้ป่วยในด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุม บทความนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังระยะแรก ครอบครัวกับการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะแรก อุปสรรคของครอบครัวกับการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะแรก และพยาบาลกับการส่งเสริมบทบาทครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะแรก อันจะเป็นการกระตุ้นให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อให้การปฏิบัติตนของผู้ป่วยมีความต่อเนื่องและเกิดผลลัพธ์ที่ดีทางคลินิก ลดผลกระทบต่าง ๆ จากโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต่อไป</p> รสติกร ขวัญชุม วรรณดี เสือมาก อุมาพร นกแพทย์ Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 16 2 e272373 e272373 ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบของนิวแมนต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270109 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบของนิวแมนพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อายุ 35 – 59 ปี มีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มอย่างง่ายและคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เป็นกลุ่มทดลอง 30 รายและกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวาน ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีระบบของนิวแมนมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวาน 2) โปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ .95 และ .96 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ Paired t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมแตกต่างจากก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือด หลังได้รับโปรแกรมของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบของนิวแมนสามารถช่วยให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพสามารถนำโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานนี้ไปใช้ในการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนได้</p> กชวรรณ ทะวิชัย สุภาพร แนวบุตร สมศักดิ์ โทจำปา Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 16 2 e270109 e270109 ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่สูง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e272602 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่สูง โรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่วในไตและได้รับการสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่สูงเป็นครั้งแรก จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน 2) แบบสอบถามความวิตกกังวล และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วไตด้วยเครื่องสลายนิ่วคลื่นความถี่สูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Wilcoxson และ Mann-Withney U </p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 </p> <p> ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความพึงพอใจในผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่ให้สูงขึ้น บุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่สูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้ดีขึ้น</p> ฐดา ปราชญ์วีระกุล จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 16 2 e272602 e272602 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความเครียด ของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e271031 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิต ต่อความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มาเข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง สังกัดกรมสุขภาพจิต จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 18 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 9 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม แบบวัดการรับรู้ความเครียด มีค่าความเชื่อมั่น .88 แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น .89 และแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square Test, Fisher exact Probability Test, Paired Sample t-Test, Mann - Whitney U Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิต 1 เดือน ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ดังนั้นผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตสามารถลดความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมได้</p> วรเศรษฐ์ วัชรโรจนสกุล ชาลินี สุวรรณยศ ภัทราภรณ์ ภทรสกุล Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-26 2024-09-26 16 2 e271031 e271031 ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e271978 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการ ใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน 2) แบบทดสอบความรู้เรื่องต้อกระจก และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ชุดที่ 2 ใช้สูตร KR-20 ได้ค่าเท่ากับ .78 และเครื่องมือชุดที่ 3 ใช้สูตรสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องต้อกระจก และพฤติกรรมการดูแลตัวเองดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p>ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสามารถเพิ่มความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกได้ ดังนั้นพยาบาลจึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดต้อกระจกในรายอื่น ๆ ต่อไป</p> สุพรรณี โตสัมฤทธิ์ อัศนี วันชัย จันทร์จีรา ยานะชัย Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 16 2 e271978 e271978 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ต่อความร่วมมือในการใช้ยาขับเหล็กในเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270432 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ต่อความร่วมมือในการใช้ยาขับเหล็กของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย กลุ่มตัวอย่างเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย จำนวน 36 คน คัดเลือกแบบเจาะจงโดยเป็นผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย อายุ 7-12 ปี เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำปาง แบ่งเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 18 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของมอริสกี้ ฉบับภาษาไทย 8 ข้อ ซึ่งตรวจสอบความเชื่อมั่น KR 20 เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าความร่วมมือในการใช้ยาขับเหล็กของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความร่วมมือในการใช้ยา ขับเหล็กของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001</p> <p>ผลจากการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่าควรมีการสนับสนุนบุคลากรด้านสุขภาพในการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการใช้ยาขับเหล็กและส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือในการใช้ยาขับเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ธนาวรรณ อินตา จุฑารัตน์ มีสุขโข ศรีมนา นิยมค้า Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-26 2024-09-26 16 2 e270432 e270432 ผลของโปรแกรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าผ่านระบบออนไลน์ต่ออาการเหนื่อยล้าของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับเคมีบำบัด และพฤติกรรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าของผู้ดูแล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e276252 <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และพฤติกรรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าของผู้ดูแลระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการเหนื่อยล้ากับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอายุ 7-12 ปี ที่ได้รับยาเคมีบำบัด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 17 คู่ และกลุ่มทดลอง 17 คู่&nbsp; โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการเหนื่อยล้า ซึ่งประกอบด้วยการสร้างการรับรู้อาการเหนื่อยล้า การให้ข้อมูลและสื่อวีดิทัศน์สำหรับการจัดการอาการเหนื่อยล้า เกมส่งเสริมการรับรู้วิธีการจัดการอาการสำหรับเด็ก และการติดตามการเยี่ยมด้วย Line official ทุกสัปดาห์ รวม 28 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าโดยผู้ดูแล 2) แบบประเมินอาการเหนื่อยล้าสำหรับเด็กวัยเรียนโรคมะเร็ง 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าในเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดโดยผู้ดูแล และ 4) แบบสอบถามอาการเหนื่อยล้าสำหรับเด็กโรคมะเร็งวัยเรียนตามการรับรู้ของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติ Independent Sample t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าตามการรับรู้ของเด็กวัยเรียนและคะแนนเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าตามการรับรู้ของผู้ดูแลน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ดูแลที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการอาการเหนื่อยล้าดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพควรนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนให้เด็กและผู้ดูแลร่วมมือกันในการจัดการอาการเหนื่อยล้า</p> ณฐชา ยศปัญญา อาภาวรรณ หนูคง อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์ Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 16 2 e276252 e276252 ผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่ออัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e272778 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่ออัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลชุมชน 1 เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิด 2 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 64 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 32 คน ระยะเวลาศึกษา 4 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมที่ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อม และส่วนที่ 2 กิจกรรมการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในชุมชนโดยใช้กิจกรรมเดียวกับกลุ่มเปรียบเทียบ แต่มีการเพิ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้กระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญา 3 ลักษณะ คือ 1) การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) 2) การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ (Contemplation) และ 3) การเฝ้ามองตามความเป็นจริง (Meditation) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลการทดลองด้วยสถิติ t-test วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการสัมภาษณ์นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมพบว่ากิจกรรมจิตตปัญญาทำให้นักศึกษารู้สึกมีความสุข อยากส่งต่อความสุขให้กับผู้รับบริการ สามารถรับรู้และระบุอารมณ์ของตนเองได้อย่างชัดเจน ยอมรับ เห็นอกเห็นใจสามารถคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการในชุมชนได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น การบูรณาการกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษากับการเรียนการสอนช่วยให้นักศึกษามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ โดยช่วยให้นักศึกษาเข้าใจผู้รับบริการ สามารถให้การพยาบาลที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจและอารมณ์ของผู้รับบริการในชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาของนักศึกษาได้อย่างแท้จริง</p> อัญชรี เข็มเพชร อภัสริน มะโน อิทธิพล แก้วฟอง นพรัตน์ สวนปาน Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 16 2 e272778 e272778 ผลของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ ต่อคุณภาพชีวิตและสภาพความสุข ของผู้สูงอายุชุมชนไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e272665 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ ต่อคุณภาพชีวิตและสภาพความสุขของผู้สูงอายุ ชุมชนไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุและเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุชุมชนไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 30 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพความสุขของผู้สูงอายุ ใน 5 มิติ ผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยกอนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired t- test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตและสภาพความสุขของผู้สูงอายุโดยรวมหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วย สุข 5 มิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ข้อเสนอแนะ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุข 5 มิติ สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนอื่น ๆ ได้ โดยสามารถปรับรูปแบบกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม และกำหนดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องตามบริบทการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนนั้น ๆ</p> สุปราณี หมื่นยา ไพทูรย์ มาผิว วาสนา ครุฑเมือง เสาวลักษณ์ เนตรชัง Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 16 2 e272665 e272665 ผลของการออกกำลังกายด้วยการฟ้อนขนมเส้น ต่อสมรรถภาพทางกายและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270476 <p>การวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายและระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการออกกำลังกายด้วยการฟ้อนขนมเส้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ จำนวน 80 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 40 คน และกลุ่มทดลอง 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือและวีดิทัศน์การออกกำลังกายโดยการฟ้อนขนมเส้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกการทดสอบสมรรถภาพทางกายและแบบประเมินความเครียดสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Mann-Whitney U test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการออกกำลังกาย กลุ่มทดลองมีคะแนนสมรรถภาพทางกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความเครียดลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> ดังนั้นการออกกำลังกายโดยการฟ้อนขนมเส้นช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ส่งผลให้นักศึกษามีสุขภาพที่ดีขึ้นและเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป</p> <p> </p> สุทธิดา ศรีเทพ รัชนิตา เขียนโพธิ์ เบญจวรรณ นันทะไสย ศิราวัลย์ เหรา กรรณิการ์ กาศสมบูรณ์ Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 16 2 e270476 e270476 ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนในโรงพยาบาลภายใต้เขตบริการสุขภาพของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270170 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน ระหว่างเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 46 คน ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน จำนวน 20 คน ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน จำนวน 20 คน และทีมบุคลากรทางการพยาบาล จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการเสพแอมเฟตามีน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยวันเสพแอมเฟตามีนโดยใช้สถิติ t-test dependence กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้ารับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนมีคะแนนเฉลี่ยการเสพแอมเฟตามีนลดลงจาก 124 คะแนนเป็น 12 คะแนน (t = 2.40, p-value = .0135) และมีวันหยุดเสพแอมเฟตามีนเฉลี่ยจาก 5 วันในสองสัปดาห์ เป็น 10 วันในสองสัปดาห์ (t = 3.695 , p-value = .001)</p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน มีคะแนนเฉลี่ยการเสพแอมเฟตามีนและวันหยุดเสพลดลง ทีมบุคคลากรทางการพยาบาลพึงพอใจในการใช้โปรแกรมจึงควรนำเสนอโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนเพื่อนำไปใช้และขยายผลในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิต่อไป</p> สุกัญญา พรหมประเสริฐ ชาลินี สุวรรณยศ หรรษา เศรษฐบุปผา Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 16 2 e270170 e270170 ผลการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270211 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 133 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการสอนตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ แบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลองนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.56, SD=.57)</p> <p>ข้อเสนอแนะคือควรบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ส่งเสริมการใช้ในสถานพยาบาล และพิจารณาบรรจุเป็นสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมและยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในอนาคต</p> เสาวลักษณ์ เนตรชัง สืบตระกูล ตันตลานุกุล ไพทูรย์ มาผิว นัยนา แก้วคง อรุณรัตน์ พรมมา Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-05 2024-11-05 16 2 e270211 e270211 การเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นและความทุกข์ทางใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e271369 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นความทุกข์ทางใจ และความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นและความทุกข์ทางใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 384 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นฉบับย่อ 3) แบบประเมินความทุกข์ทางใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับของการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นต่ำ ร้อยละ 58.63 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความทุกข์ทางใจปกติ ร้อยละ 57 และมีความทุกข์ทางใจผิดปกติร้อยละ 43 และการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นมีความสัมพันธ์ทางลบกับความทุกข์ทางใจ (r = -.138) </p> <p>ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าควรมีการดำเนินการจัดอบรมส่งเสริมความยืดหยุ่นทางใจให้กับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นที่มีประสิทธิภาพ โดยจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเกิดความทุกข์ทางใจ และในกลุ่มที่มีความทุกข์ทางใจรุนแรงควรได้รับการรักษา ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ คัดกรอง วินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางต่อไป และควรศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดความทุกข์ทางใจ เพื่อศึกษาว่าการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่นทำนายการเกิดความทุกข์ทางใจหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีการเผชิญปัญหาแบบยืดหยุ่น หรือลดความทุกข์ทางใจต่อไป</p> ชุติมา ศรียี่ทอง ขวัญพนมพรi ธรรมไทย ภัทราภรณ์ ภทรสกุล Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 16 2 e271369 e271369 ประสบการณ์การจัดการสุขภาพของผู้นำชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e273089 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การจัดการสุขภาพของผู้นำชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดนนทบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชน จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าผู้นำชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทร จังหวัดนนทบุรี มีประสบการณ์การจัดการสุขภาพ 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การจัดการสุขภาพภายใต้การดำเนินกิจกรรมของผู้นำในโครงการบ้านเอื้ออาทร ประกอบด้วย การสื่อสารข้อมูลทางสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ และการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และ 2) การจัดการสุขภาพโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ประกอบด้วย การดูแลผู้สูงอายุและการฟื้นฟูสุขภาพ การตรวจสุขภาพ การกำจัดแมลง และการจัดการขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพ</p> <p>ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพของผู้นำที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นหน่วยงานหรือบุคลากรทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรนำแนวคิดการจัดการมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรต่อไป</p> มาสริน ศุกลปักษ์ สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง วรานิษฐ์ ลำใย วิไลพร ขำวงษ์ Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 16 2 e273089 e273089 ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อจัดการ ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270458 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับการปฏิบัติของพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลรัฐบาลระดับจังหวัดและโรงพยาบาลศูนย์ ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต แบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .80, .65 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน </p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตอยู่ในระดับดี ส่วนการปฏิบัติในการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันอยู่ในระดับไม่ดี และความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต ส่วนทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติในการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r<sub>s</sub> = .270, p&lt;.01)</p> <p>ผลการวิจัยที่ได้เป็นความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต</p> <p> </p> รุจิรา คำบุญเรือง วราวรรณ อุดมความสุข มยุลี สำราญญาติ Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 16 2 e270458 e270458 ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ในหออภิบาลทารกแรกเกิด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270097 <p>การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการสนับสนุนช่วยเหลือจากพยาบาล การได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาและสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก ต่อการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์แรกเกิดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตพื้นที่จังหวัดภาคใต้ จำนวน 77 ราย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 ถึงเดือนเมษายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด แบบสอบถามการสนับสนุนช่วยเหลือจากพยาบาล แบบสอบถามการได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดา และแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดได้ร้อยละ 30.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Nagelkerke R<sup>2</sup> = .302, p &lt; .01) และมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ความถูกต้องของอำนาจการทำนายได้ ร้อยละ 66.2</p> <p>จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก เพื่อส่งเสริมให้มารดามีส่วนร่วมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดมากขึ้น</p> รัศมีดาว หนูชูชาติ ฐิติมา สุขเลิศตระกูล เนตรทอง นามพรม Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 16 2 e270097 e270097 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิภาคเหนือตอนล่าง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268743 <p>การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ วิสัญญีพยาบาลจำนวน 105 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนประชากร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของเนียว่าและซอร่า และแบบสอบถามปัจจัยเจ็ดระดับของความปลอดภัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดปัจจัยเจ็ดระดับของความปลอดภัยของวินเซนต์ มีค่าความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง .60-1.00 และทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือในวิสัญญีพยาบาลจำนวน 30 คน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ .95 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบนำเข้าทั้งหมด</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคเหนือตอนล่าง มีค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.96, SD = .32) และมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยเจ็ดระดับของความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.93, SD= .34) โดยปัจจัยด้านทีมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.14, SD = .44) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของวิสัญญีพยาบาล พบว่าปัจจัยเจ็ดระดับของความปลอดภัยทั้ง 7 ด้าน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยได้ร้อยละ 48.0 (R<sup>2</sup>=.480, p&lt;.001) โดยปัจจัยด้านทีมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β=.526, p&lt;.001)</p> <p> ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานวิสัญญีพยาบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นในหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ลลิตพร คืนประคอง อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-13 2024-11-13 16 2 e268743 e268743 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาด้านสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e267185 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ของนิสิต 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยร่วม ปัจจัยความเชื่อของบุคคล และปัจจัยกระตุ้นกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิต กลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ตามมาตรการ DMHTTA วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ระดับปาoกลาง ปัจจัยร่วม ได้แก่ ปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านคณะไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ปัจจัยความเชื่อของบุคคล ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .215, .262, .228, .598) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ การให้ข้อมูลคำแนะนำจากครอบครัว อาจารย์ เพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .327)</p> <p>ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปวางแผนส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 โดยมหาวิทยาลัยควรมีกิจกรรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 สนับสนุนครอบครัวอาจารย์และเพื่อนมีส่วนร่วมต่อกิจกรรม</p> <p> </p> ปิยนุช ยอดสมสวย รัตน์ติพร โกสุวินทร์ เจนจิรา บุญฤทธิ์ พิมพ์วรีย์ มาลา รินธิวราพร ปรุดรัมย์ อรวรรณ สบายใจ ปะการัง ศรีมี Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 16 2 e267185 e267185 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e271713 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ แรงจูงใจภายใน และแรงบันดาลใจในชีวิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2566 จำนวน 132 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ แบบสอบถามแรงจูงใจภายในและแบบสอบถามแรงบันดาลใจในชีวิต มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87, .92, และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.32, SD = .65) คะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจภายในเท่ากับ 4.81 (SD = .91) แรงบันดาลใจภายในเท่ากับ 5.81 (SD = 1.10) และแรงบันดาลใจภายนอกเท่ากับ 5.25 (SD = 1.25) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่แรงจูงใจภายในและแรงบันดาลใจภายนอก ตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพได้ร้อยละ 77.80 โดยปัจจัยแรงจูงใจภายในมีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .710) และปัจจัยแรงบันดาลใจภายนอกมีอิทธิพลในทางลบ (β = -.261)</p> <p>ดังนั้นในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมให้แก่นักศึกษาพยาบาลอาจารย์และสถาบันควรสนับสนุนให้นักศึกษาพยาบาลมีแรงจูงใจภายในเพิ่มขึ้นโดยการสนับสนุนให้นักศึกษาพยาบาลมีโอกาสรับรู้ถึงความอิสระ ความสามารถ และสัมพันธภาพที่ดี รวมทั้งสนับสนุนให้นักศึกษารักษาสมดุลระหว่างแรงบันดาลใจภายในกับแรงบันดาลใจภายนอกอย่างเหมาะสม</p> ดารณี เสรเมธากุล ญาณัชฌาน์ แก้วตา พนิดา ชัยวัง Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 16 2 e271713 e271713 ลักษณะของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่กลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลทั่วไป https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e270921 <p>การศึกษาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่กลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน กลุ่มประชากร คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่กลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแม่สอด จำนวน 168 ราย จากประวัติเวชระเบียนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารักษาครั้งแรกและกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60 - 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test และ t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าการใช้เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูงในการนอนโรงพยาบาลครั้งแรกร้อยละ 27.38 และการนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วันเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.67 ค่าเฉลี่ยวันนอนโรงพยาบาลครั้งแรกอยู่ที่ 4.58 ค่าเฉลี่ยวันนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วันเพิ่มขึ้น 5.89 ค่าเฉลี่ยค่ารักษาพยาบาลในการนอนโรงพยาบาลครั้งแรก 18,305.91 บาท ค่าเฉลี่ยค่ารักษาพยาบาลในการนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วันเพิ่มขึ้น 25,186.47 บาท และผลการรักษาเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของการนอนโรงพยาบาลครั้งแรก พบว่าอาการดีขึ้น ร้อยละ 100 ไม่พบอัตราการตาย แต่การนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน ผลการรักษาเมื่อจำหน่ายลดลงร้อยละ 94.05 และมีอัตราการตายเพิ่มร้อยละ 2.98 เมื่อเปรียบเทียบลักษณะดังกล่าวพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p>การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าลักษณะดังกล่าวส่งผลต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ควรนำไปวิเคราะห์ร่วมกับทีมนำทางอายุรกรรมเพื่อนำมาพัฒนาการวางแผนการจำหน่ายให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> อารีรัตน์ จิตต์นุ่ม มงคล สุริเมือง Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-21 2024-07-21 16 2 e270921 e270921 รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e276249 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 77 คน ดังนี้ 1) ผู้บริหารภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน&nbsp; 2) บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน 3) ผู้ประกอบการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 5 คน และ 4) ตัวแทนภาคประชาขน จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างพัฒนาโดยผู้วิจัยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์กรและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 1) ค่านิยมร่วม คือ ตั้งเป้าหมายร่วมคิดและทำร่วม ใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์ร่วมกัน 2) ด้านยุทธศาสตร์ กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ และกลยุทธ์แบบบูรณาการความร่วมมือของหุ้นส่วนชุมชน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3) โครงสร้าง จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานและคณะทำงานด้านต่าง ๆ ที่มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัย หุ้นส่วนชุมชนและผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบอย่างชัดเจน 4) ระบบจัดระบบและกลไกการดำเนินงานให้ครอบคลุมระบบการบริหารและการดำเนินงานตามพันธกิจ มีระบบการประกันคุณภาพ ระบบการติดตามการดำเนินงาน 5) บุคลากร จัดทำแผนการสรรหาและพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับงานและความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ 6) ฝึกทักษะให้ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล นักศึกษา และประชาชน 7) รูปแบบบริการ โดยพัฒนาโปรแกรมบริการครอบคลุมการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูทั้งแบบผู้ป่วยนอกและพักค้างคืน&nbsp;&nbsp;</p> กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร ณิชารีย์ ใจคำวัง อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ ชิชญาสุ์ ช่างเรียน อนัญญา คูอาริยะกุล พิมพ์รดา ธรรมีภักดี Copyright (c) 2024 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-30 2024-12-30 16 2 e276279 e276279