ทัศนคติของอาจารย์และนักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาล

Main Article Content

นิกร จันภิลม
สุภาณี เส็งศรี
กอบสุข คงมนัส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบสถานการณ์เสมือนจริงของอาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่  กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในการศึกษาครั้งนี้เป็นอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกซึ่งมีประสบการณ์การสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง จำนวน 15 คน และนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ ที่เคยผ่านการเรียนการสอนแบบสถานการณ์เสมือนจริงจำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามทัศนคติต่อการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง  หาค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของอาจารย์และนักศึกษาได้เท่ากับ .84 และ .86  ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติในภาพรวมของอาจารย์พยาบาล ที่มีทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์เสมือนจริง  อยู่ในระดับมากที่สุด (X=3.51, SD.= .50)  และ 2) ทัศนคติในภาพรวมของนักศึกษาพยาบาล ที่มีทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์เสมือนจริง อยู่ในระดับมาก (X=3.40, SD = .42)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. Jeffries, P.R. (2007). Simulation in nursing education. New York: National League for Nurse.
National Qualifications Framework for Bachelor of Nursing. 3 January 2017.Ratchakitchanubaksa. 135(1), 7-11.

2. Panich, V. (2013). Creating learning to the century 21th. Bangkok: Siam commercial foundation. (in Thai)

3. Siripan, S. & Sisawat Y. (2011). The teaching and learning process is focused on learners [Problem Based Learning]. Journal Princess of Naradhiwas University, 3(1), 109-110. (in Thai)

4. Sintuchai, S. (2016). The development of instructional model based on the concept of supplementation on learning and reflective practice in order to promote the ability of nursing students in clinical decision-making (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)

5. Sintuchai, S. & Ubonwam, K. (2017). Fidelity simulation based learning [ Implementation to Learning and Teaching Management]. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(1), 29-38. (in Thai)

6. Srisaart B. (2011). Basic Research. (9thed). Bangkok : Suriyasan. (in Thai)

7. Tamarpirat, N. & Oumtanee, A. (2017). Being a newly graduated nurse working under supervision of a mentor. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(Supple), 32-40. (in Thai)

8. Tantalanukul, S., Rattanasak, S., Sengpanich. C., Srisung, W. & Tungkawanich, T. (2016). The effect of simulation-based learning on the ability development of primary medical care practicum of nursing students at Boromarajonani College of Nursing Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal, 8(1), 49-58 (in Thai)

9. Tana, K. & Nittaya, S. (2013). The satisfaction of nursing faculty training science McCormick teaching by reflection of nursing practice basis, sector study 2 academic year 2012. McCormick Faculty of nursing. (in Thai)

10. Tanaroj S. (2017). Simulation-based learning in principles and techniques course in nursing practicum. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal, 9(2), 70-84. (in Thai)

11. Waichompu, N. & Jorajit, S. (2016). The challenge of nursing teachers [Teach, Less Learn More, The 21]. Princess of Naradhiwas University, Journal of Health Sciences and social sciences, 3(2), 73-81. (in Thai)