ผลของการสอนโดยใช้กลยุทธ์ไดแดคติคที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทฤษฎี การพยาบาลสิ่งแวดล้อมของไนติงเกลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1

Main Article Content

วรรณวดี เนียมสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้กลยุทธ์ไดแดคติคและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้กลยุทธ์ไดแดคติคกับกลุ่มที่ได้รับการสอน
แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จำนวน 60 คน จัดเข้ากลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยการสุ่มแบบ
จับคู่ตามระดับเกรดเฉลี่ยของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการสอนโดยใช้กลยุทธ์ไดแดคติค
และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยกลุ่ม
ผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลหลังได้รับการสอนโดยกลยุทธ์ไดแดคติคสูงกว่า
ก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนโดยกลยุทธ์ไดแดคติคสูงกว่า
กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพ:บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.
2. ประดับ แก้วแดง. (2542). ผลของการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์ที่มีต่อความคงทนในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
3. ประเวศ วะสี. ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพ: บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555-2559).สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.สำนัก นายกรัฐมนตรี.
4. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักงานปลัดกระทรวง. กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
5. พัชรภัณฑ์ ไชยสังข์ และ ศราวิน เทพสถิตภรณ์.(2558). รายงานวิจัยเรื่องการจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา: นครนายกretrievefromhttp://mis.cola.kku.ac.th/files/gs28_attachment_files/files/348/ED_032.pdf?1402718868 June 28, 2015
6. แฟ้มรายงานแผนการสอนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. (2555). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.
7. รายงานประจำปีของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. (2555). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.
8. สุภรณ์ สภาพงศ์. (2544). วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544มุ่งให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 19039: พฤศจิกายน. หน้า 6
9. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง2555. (2555). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี
10. Alkhasawneh, I., Mrayyan, M. T., Docherty, C.,Alashram, S., & Yousef, H. Y. (2008).Problem-based learning (PBL): assessingstudents’ learning preferences using vark.Nurse Education Today, 28, 572-579.
11. Alkhasawneh, E. (2013). Using VARK to assesschanges in learning preferences of nursing students at a public university in Jordan: Implication for teaching. Nurse EducationToday, 33, 1546-1549.
12. Edgar, D. (1969). Audio-Visual Methods inTeaching. 3rd ed. Holt Rinehart Winston.
13. Fleming, N. D. (2004). VARK: A guide to learningstyles: Retrieve from www.vark-learn.com/english. June 28, 2015
14. Meehan-Andrews, T. A. (2009). Teaching modeefficiency and learning preferences of first year nursing students. Nurse EducationToday, 29, 24-32.
15. The Fontys UAS Team. (2013). Training/course manual. Fontys University of Applied Science: The Netherlands.