ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

Main Article Content

กิตติพร เนาว์สุวรรณ

บทคัดย่อ

แรงสนับสนุนทางสังคมมีส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพได้อย่างยั่งยืน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรค
ความดันโลหิตสูง และศึกษาวิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิต
ได้ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนาย กลุ่มตัวอย่างคือ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาในคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสิงหนคร
จ.สงขลา จำนวน 138 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power สุ่มตัวอย่างวิธีหยิบฉลาก
แบบไม่คืน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ
ตรวจสอบความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยอย่างง่าย ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาวิธีปฏิบัติตัว
ที่ดีของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เก็บข้อมูลวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ป่วยโรคความดัน
โลหิตสูงที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ 9 คนนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1. แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการปฏิบัติตัวของ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสิงหนคร จ.สงขลา อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .543)และสามารถทำนายได้ร้อยละ 29.50
2. วิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ในคลินิก
เบาหวานความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสิงหนคร จ.สงขลา ได้แก่การไปพบแพทย์ตามนัด รับประทานยา
และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อ โดยเน้นปลาและผลไม้ งดอาหารเค็ม
การประกอบอาหารเอง การปรึกษาปัญหากับคนในครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนและชมรม
ผู้สูงอายุ การประกอบศาสนกิจทุกวัน ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ลูกหลานเป็นคนดี การทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
การทำจิตใจให้แจ่มใส การให้อภัย และมองโลกในแง่ด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. กฤติน ชุมแก้ว และชีพสุมน รังสยาธร. (2557). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารเกษตรศาสตร์, (35), 16-29
2. จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง และฉันทนานาคฉัตรีย์. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,22(3), 88-99.
3. จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมSPSS. ชลบุรี: ศรีศิลปการพิมพ์.
4. บำเพ็ญ สุขสีเสน. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัย ต.เขารูปช้างสาขา 1 อ.เมือง จ.สงขลา. สงขลา : โรงพยาบาลสงขลา.
5. ปฐญาภรณ์ ลาลุน, นภาพร มัธยมางกูร และอนันต์มาลารัตน์. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 18(3),160-169.
6. ประภาส ขำมาก, สมรัตน์ ขำมาก และมาลิน แก้วมูณี.(2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(3) , 74-91.
7. ปิยะวรรณ ขนาน, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, สุวิมลกิมปี และกุลภา ศรีสวัสดิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า. วารสารพยาบาล, 56(1-2),102-113.
8. พานทิพย์ แสงประเสริฐ. (2550). ความดันโลหิตสูงกับการออกกำลังกาย: บทบาทของพยาบาล.วารสารพยาบาล, 56(1), 1-13.
9. ภัสราวลัย ศีติสาร,อรุณวรรณ สุวรรณรัตน์ และจารุวรรณ ใจลังกา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้โรงพยาบาลดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา.วารสารสาธารณสุขล้านนา, 9(2), 136.
10. โรงพยาบาลสิงหนคร. (2557). สรุปผลการดำเนินงานโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง. สงขลา:โรงพยาบาลสิงหนคร. เอกสารอัดสำเนา
11. วรวรรณ จันทวีเมือง และบุษยา สังขชาติ. (2557).การดูแลตนเองแบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคเบาหวานกรณีศึกษา: ภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข
ภาคใต้, 1(3), 15-35.
12. วันวิสา รอดกล่อม, นิสาพร วัฒนศัพท์, ปัทมาสุพรรณกุล, และอรอุษา สุวรรณประเทศ.(2555). การสนับสนุนทางสังคมและความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่มารับบริการโรงพยาบาลพรหมพิรามจ.พิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ,6(2), 76-87.
13. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.(2556). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคความดันโลหิตสูง. จาก http://thaincd.com/information-statistic/non-communicabledisease-data.php.
14. สุนทรีย์ คำเพ็ง และอรธิรา บุญประดิษฐ์. (2555). ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ต.ดงตะงาว อ.ดอนพุดจ.สระบุรี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 112-123.
15. สุพัตรา บัวที. (2545). การพยาบาลกับการสนับสนุนการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโ ล หิ ต อ ย ่ า ง ส ม่ำเ ส ม อ แ ล ะ ต ่ อ เ นื่ อ ง .วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 18(1), 49-61.
16. สุสารี ประคินกิจ. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมและความวิตกกังวลของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
17. อภัสริน มะโน, วันเพ็ญ แก้วปาน, อาภาพร เผ่าวัฒนาและปาหนัน พิชยภิญโญ. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันความดันโลหิตสูงในชายวัยกลางคน เขตกรุงเทพมหานคร.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ,28(1), 1-16.
18. Cohen, S. (2004). Social Relationships and Health. American Psychological Society, 14(5), 676-684.
19. House, J. S., Umberson, D., & Landis, K. R. (1988). Structure and Processes of Social Support. Annual Review of Sociology,14, 293-318.
20. Ozbay,B. ,Johnson, D. C., Dimoulas, E., Morgan, C.A., Charney, D., & Southwick, S. (2007). Social Support and Resilience to Stress. Psychiatry(Edgmont),4(5), 35–40.
21. Pender, N. J. (2011).Heath Promotion Model Manual. Michigan: University of Michigan.
22. U.S. Department of Health and Human Services. (2004). The Seventh Report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure. This work was supported entirely by the National Heart, Lung, and Blood Institute.
23. Warren-Findlow, J., Seymou, R. B.,& Brunner, L. R. (2012). The Association between Self-efficacy and Hypertension Self-care Activities among African American Adults. Journal Community Health, 37(1):15-24.
24. Wiersma, W. &Jurs, S.G.(2009). Research Methods in Education. Massachusetts: Pearson.
25. World Health Organization.(2012). New Data Highlight Increases in Hypertension, Diabetes Incidence.Retrieved July 2, 2015, Fromhttp://www.who.int/mediacentre/ news/releases/2012/world_health_statistics_ 20120516/en/.