การพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะไตวายเฉียบพลัน, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, กรณีศึกษาบทคัดย่อ
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะวิกฤตส่งผลต่อชีวิตที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนร่วมกับการรักษาปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องตเทียม บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยการใช้กรณีศึกษา วิธีการศึกษา: จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและไตวาย เฉียบพลัน ในหอผู้ป่วยหนักได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบฉุกเฉิน จำนวน 1 ราย
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 67 ปี มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะไตวายเฉียบพลัน ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และให้การพยาบาลตามมาตรฐานจนจำหน่ายกลับบ้านได้รวมระยะเวลาอยู่โรงพยาบาล 11 วัน หลังจากได้รับการรักษาพยาบาลเพื่อแก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว ไม่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยมีของเสียคั่งในร่างกายลดลง ไม่เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในขณะและหลังฟอกเลือด มีความรู้ในการดูแลตนเองแพทย์จึงจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน และสามารถยุติการฟอกเลือดก่อนจำหน่ายได้
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะไตวายเฉียบพลัน ต้องได้รับการรักษาภาวะช็อกและการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างทันที สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้น ดังนั้นพยาบาลไตเทียมต้องมีความรู้และความชำนาญกระบวนการพยาบาลในการดูแลตามมาตรฐานการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เพื่อให้การฟอกเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของกระบวนการฟอกเลือดทั้งก่อนการฟอกเลือด ระหว่างการฟอกเลือดและหลังการฟอกเลือด
References
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานทางสถิติอัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567] เข้าถึงจาก:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/
ประสิทธิ์ อุพาพรรณ. SEPSIS. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 พ.ย.2566] เข้าถึ'จากhttp://med.swu.ac.th/internalmed/images/documents/handout/ID/PU/sepsis.pdf
คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมา สมาคมโรคไตแห่ง ประเทศไทย. 2561. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ. 2561. มปท.
ชัยรัตน์ ฉายากุล (บรรณาธิการ). ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลาคม; 2557.
วิจิตรา กุสุมภ์. กระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาล: การนำไปใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์; 2556.
ชัชวาล วงค์สารี, อรนันท์ หาญยุทธ. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.วารสารพยาบาลตำรวจ. 2557;6(2):220-33.
Kanbay M, Ertuglu LA, Afsar B, Ozdogan E, Siriopol D, Covic A, et al. An update review of intradialytic hypotension: concept, risk factors, clinical implications and management. Clinical Kidney Jour. 2020;13(6):981-93.
สุภาพร เพชรรักษ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและ นวัตกรรมทางสุขภาพ. 2020;3(2):85-97.
Douvris A, Zeid K, Hiremath S, et al. Mechanisms for hemodynamic instability related to renal replacement therapy: a narrative review. Intensive care med 2019;45(10):1333-46.
รุ่งรักษ์ ภิรมย์ลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2021; 24(1):94-105.
ณีรชา บุญมาตย์และอธิษฐาน ชินสุวรรณ. การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2014;32(2):78-85.
ซ่อนกลิ่น ชูจันทร์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 2563; 29(3):13-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลสิงห์บุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว