ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุต่อความรู้และภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลโคกสำโรง ลพบุรี

ผู้แต่ง

  • กุลรัศมิ์ น่าชม นักกายภาพบำบัดชำนาญการ, กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู, โรงพยาบาลโคกสำโรง, จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

ความรู้เกี่ยวกับการล้ม, โปรแกรมออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุต่อความรู้และภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยการคัดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน กลุ่มทดลองได้รับอบรมความรู้เกี่ยวกับการเสี่ยงพลัดตกหกล้มในสัปดาห์ที่ 1 ร่วมกับโปรแกรมออกกำลังกายด้วยตนเองต่อเนื่องทุกวัน วันละ 30 นาที และติดตามเยี่ยมบ้านในสัปดาห์ที่ 5 ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลให้บริการตามมาตรฐาน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1. แบบประเมินความรู้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม 2. ประเมิน Time Up and Go test (TUGT) 3. ประเมินการทรงตัว 4 Stage balance test  สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Mann-Whitney U test พบว่า ข้อมูลกระจายตัวไม่เป็นโค้งปกติระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง

ผลการศึกษา พบว่า ในกลุ่มทดลองเปรียบเทียบก่อน-หลัง ได้รับโปรแกรมออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ มีคะแนนค่าเฉลี่ยความรู้ ระยะเวลาเฉลี่ย TUGT และค่าคะแนนการทรงตัว 4 Stage balance test เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)   

สรุป โปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุต่อความรู้และภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความสามารถในการทรงตัวได้ดีขึ้นและลดภาวะหกล้มในผู้สูงอายุได้

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. 2567:12

World Health Organization. Elderly Situation [Internet].2012.[cited 2022.05.11] Available from;

https://www.dop.go.th/th/know/side/1/2/147.

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง,อรทัย ยินดี.การศึกษาความเสี่ยง ความกลัวการหกล้ม และแนวทางการจัดการป้องกัน การพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอาย.วชิรสารการพยาบาล.2564;23(2):30-43.

Barnett A, Smith B, Lord S, Williams M, Baumand A. Communitybased group exercise improves balance and reduces falls in at-risk older people: a randomized controlled trial. Age Ageing 2003;32(4):407-14.

วัลลภา ดิษสระ, พรรณี บัญชรหัตถกิจ, จีราพร ทองดี. การออกกำลังกายต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรม อย่างเป็นระบบ .วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;5(2):1-13

Hamm J, Money, AG, Atwal, A, Paraskevopoulos I. Fall prevention intervention technologies: A conceptual framework and survey of the state of the art. JBI , 2016;59:319-45.

Steven A Julious. Sample sizes for clinical trials with Normal data. Stat Med. 2004;23(12) : 1921-86.

ดารณี ทองสัมฤทธิ์, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, วัชชรี แก้วทอง , ศรินพร คุณธรณ์. ผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุอำเภอ วัดเพลง จังหวัดราชุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2565;2(1),62-73

ละมิตร์ ปึกขาว, ผาสุก มั่นคง, สาวิตรี สุวณิชชากุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ณ บ้านพักผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม. วารสารสิงห์บุรี. 2567;33(2),171-8

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ .[Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565/08/26]. เข้าถึงได้จาก: http:// file:Downloads/Documents /file20210129131952.pdf.

Phelan, E. A., Mahoney, J. E., Voit, J. C., & Stevens, J. A. Assessment and management of fall risk in primary care settings. Med Clin North Am. 2015;99(2):281-93.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ. 2558;24

สุรีย์ สิมพลี, พรรณี ปัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายโดยท่าบริการมณีเวชประยุกต์เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขศึกษา. 2562;42(2):149-59

ยุภา โพผา, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อการลดภาวะเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารสิงห์บุรี. 2566;31(3):88-102

จุฑาทิพย์ รอดสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 2564;15(38):541-59

ปารีส ผุยพาณิชย์สิริ , สมพร สังขรัตน์ , ศิรินันท์ บริพันธกุล , ศศิภา จินาจิ้น ,กัลยพร นันทชัย, บุษย์ณกมล เรืองรักเรียน . ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มต่อการ เดินและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารกรมการแพทย์. 2564;46(4):74-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-03-2025

How to Cite

1.
น่าชม ก. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุต่อความรู้และภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลโคกสำโรง ลพบุรี. Singburi Hosp J [อินเทอร์เน็ต]. 5 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 29 เมษายน 2025];33(3):B19-28. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/274365