ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของนักกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3

ผู้แต่ง

  • เดียนา วิเชียรสราง คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, นักกายภาพบำบัด, บรรยากาศองค์กร, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์กร แรงจูงใจ
กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของนักกายภาพบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
เขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 169 คน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้รับการตอบกลับและมีความสมบูรณ์ทั้งสิ้น 151 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ในการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยไคสแควร์
และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า นักกายภาพบำบัดเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 87.42 สถานภาพโสดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.28 มีระดับวุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ที่ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 97.35 อายุการทำงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 11 - 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.34 ประเภทการจ้างส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 96.69 เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับบรรยากาศในองค์กรโดยรวม พบว่า
มีระดับของบรรยากาศองค์กรอยู่ในเกณฑ์สูง คิดเป็นร้อยละ 74.18 เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยรวม พบว่า มีระดับของแรงจูงใจอยู่ในเกณฑ์สูง คิดเป็นร้อยละ 58.28 เมื่อพิจารณาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของนักกายภาพบำบัด พบว่า มีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของนักกายภาพบำบัดระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 84.80 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของ
นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เพศ วุฒิการศึกษา และอายุการทำงานไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.764 p=0.757 และ p=0.097 ตามลำดับ) มีเพียงสถานภาพเท่านั้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) บรรยากาศองค์กรโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของนักกายภาพบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.660 p<0.001) และแรงจูงใจโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของนักกายภาพบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.691 p<0.001)

            จากการวิจัยในครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักกายภาพบำบัดสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการ วางแผน ปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นทั้งทางด้านนโยบาย โครงสร้างองค์กร บุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อม

References

คุณภาพมาตรฐานสากล [Internet]. Bumrungrad.com. [cited 2023 Nov 18]. Available from: https://www.bumrungrad.com/th/about-us/international-hospital-accreditation

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 65ก. หน้า 1-20. 2547.

Physical therapy council [Internet]. 115.42.51. [cited 2023 Jun 18]. Available from: http://164.115.42.51/PTCouncil/new_detail.php?id=646

Moph.go.th. [cited 2023 Dec 18]. Available from: http://gishealth.moph.go.th/healthmap/gmap.php#result

ข้อมูลพื้นฐาน เขตสุขภาพที่ 3 : กำแพงพิชัยอุทัยสวรรค์ [Internet]. Moph.go.th. [cited 2023 Nov 13]. Available from: https://spbo3.moph.go.th/Binfo/index.php

Steers RM. Organization Effectiveness: A Behavioral view. Goodyear Publishing; 1977.

Herzberg F, Mausner B, Snyderman BB. The motivation to work. 2nd ed. John Wiley & Sons Publishing; 1959.

Stringer. Leadership and Organizational Climate. Prentice Hall. 2002.

ชุติมา วรฤทธานนท์. การปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดตามมาตรฐานการบริการวิชาชีพกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

สินีนาฏ วิไลจิตต์. ปัจจัยที่มีผลต่อมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตภาคกลาง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

ขวัญชนก ฤทธิ์ธาทร. การปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชนตามมาตรฐานกายภาพบำบัด [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

Mrayyan TM. Hospital Organizational; climates and nurses intent to stay: Differences between units and wards. Contemporary Nurse 2008; 27(2):223–236.

Stone PW, Mooney-Kane C, Larson EL, Pastor DK, Zwanziger J, Dick AW. Nurse working conditions, organizational climate and intent to leave in ICUs: A instrumental variable approach. Health Services Research 2007;42(3):1085–1104.

Tentama F, Pranungsari D. The Roles of tachers’ work motivation and eachers’ job satisfaction in the organizational commitment in extraordinary schools. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE) 2016;5(1).

Sohail A, Safdar R, Saleem S, Ansar S. Azeem M. Effect of Work Motivation and Organizational Commitment on Job Satisfaction: (A Case of Education Industry in Pakistan). Global Journal r vwof Management and Business 2014;14(6-A).

กาญจนา โพยายรส. แรงจูงใจและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารทาง อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2024