ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ของนักเรียนสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1
คำสำคัญ:
ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า, ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า, การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า, พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า, นักเรียนอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนสถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 จำนวน 357 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.738 3) ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.717 4) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.868 5) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 31.10 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนสถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 ได้แก่ อายุ รายได้ที่ได้รับต่อเดือน การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของบิดา แฟน และเพื่อน ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนสถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากผลการศึกษาวิจัยนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปเป็นข้อพิจารณาในการดำเนินการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ของนักเรียนสถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 หรือวัยรุ่นกลุ่มอื่น ๆ ให้เหมาะสมต่อไป
References
ณัฐพล รุ่งโรจน์สิทธิชัย. การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชายอาชีวศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เตือนนักสูบ บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายกว่าที่คิด[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายป่วยหนัก ตายจริง. วารสารก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 2563;12(1):1-39.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ. รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nso.go.th
อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. ห่วงเยาวชนไทยเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย หลังพบขายบุหรี่ไฟฟ้าทางสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.trc.or.th/th/attachments/article/644/Press
วิชช์ เกษมทรัพย์. ห่วงเยาวชนไทยเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย หลังพบขายบุหรี่ไฟฟ้าทางสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.trc.or.th/th/attachments/article/644/Press
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ. บุหรี่ไฟฟ้า ภัยซ่อนเร้น ในสังคม. วารสารก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 2565;14(2):6-18.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ. จับตาป้องกันธุรกิจยาสูบข้ามชาติ แทรกแซงนโยบายคุมยาสูบไทย. วารสารก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 2565;14(1):23-7
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. โครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.vec.go.th/th-th/
Launiala, A. How much can a KPA survey tell us about people’s knowledge, attitudes and practices Some observations from medical anthropology research on malaria in pregnancy in Malawi. Anthropology Matters Journal. 2009;11(1):1-13. doi:10.22582/am.v11i1.31
Bronfenbrenner, U. Ecological model of human development. International Encyclopedia of Education. 1994. doi:10.1007/978-3-031-38762-3_4
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. รายงานข้อมูล-สถิติบุคลากร/นักเรียน/นักศึกษา[อินเทอร์เน็ต]. (2566) [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://techno.vec.go.th
Cronbach, Lee Joseph. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. Haper & Row; 1972.
Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1997.
ธิติ บุดดาน้อย. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2562;2(1):139-52.
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย, อาทิตยา บัวเรือง, ชนุตา พาโพนงาม, ธิรดา จันทร์รุ่งเรือง, นฤมล ลาวน้อย, และอัมพวัน บุญรอด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(2):197-205.
Pettigrew S, Santos JA, Li Y, Jun M, Anderson C, Jones A. Short report: Factors contributing to young people's susceptibility to e-cigarettes in four countries. Drug Alcohol Depend. 2023;250:109944. doi:10.1016/j.drugalcdep. 2023.109944
ปิยวรรณ บุญเพ็ญ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและพฤติกรรมต้องการเลิกบุหรี่ของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2562;11(22):111-27.
ศุภพงศ์ พินิจธนภาคย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดปริมาณการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย; 2561.
จิราภรณ์ จำปาจันทร์, สิริวิมล ทะวงศ์นา, นิธิพร ยะคำสี และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566; 17(2):631-44.
ไพฑูรย์ สอนทน, นฤมล จันทร์มา, และอัมพร สอนทน. ความชุกของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้กัญชา และการสูบบุหรี่ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเพชรบูรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้ จาก: https://cads.in.th/cads/content?id=324
กัลยา วิริยะ. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2562;30(1):66-74.
สมเด็จ ภิมายกุล, และกนกวรรณ คชสีห์. ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้ากับแนวทางการป้องกันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้า ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566;16(3):30-43.
ศรีรัช ลาภใหญ่. บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่ประเภท heat-not-burn: การศึกษาการสื่อสารการตลาดบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในสื่อสังคมเครือข่าย (social media network) และการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ใน กลุ่มเยาวชนและวัยทำงานตอนต้น. วารสารก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 2564; 14(1):23-7.
Margolis KA, Donaldson EA, Portnoy DB, Robinson J, Neff LJ, Jamal A. E-cigarette openness, curiosity, harm perceptions and advertising exposure among U.S. middle and high school students. Prev Med. 2018;112:119-25. doi:10.1016/j.ypmed.2018.04. 017
Villanti AC, Rath JM, Williams VF, et al. Impact of Exposure to Electronic Cigarette Advertising on Susceptibility and Trial of Electronic Cigarettes and Cigarettes in US Young Adults: A Randomized Controlled Trial. Nicotine Tob Res. 2016;18(5):1331-9. doi:10.1093/ntr/ntv235
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว