การพัฒนารูปแบบของผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่ในการจัดการทางการพยาบาล ในยุค Digital Disruption

ผู้แต่ง

  • สมคิด อมรเมตตาจิต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, โรงพยาบาลอ่างทอง กระทรวงสาธารณสุข
  • อัจฉรพรรณ ค้ายาดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, โรงพยาบาลอ่างทอง กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนพร วิชชุเวสคามินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, โรงพยาบาลอ่างทอง กระทรวงสาธารณสุข
  • จิราวรรณ นาคะปักษิณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, โรงพยาบาลอ่างทอง กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบของผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่, การจัดการทางการพยาบาล, ยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

กระแสการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างกว้างขวาง ผู้นำทางการพยาบาลในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ มีความสามารถในการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการพยาบาล ต้องค้นหาวิธีการรับมือการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มองค์ความรู้ใหม่เพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าขององค์กร การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบในการจัดการทางการพยาบาลของผู้บริหารการพยาบาลในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการ การจัดการทางการพยาบาล ในยุค Digital Disruption ระยะที่ 2 การพัฒนา และการใช้รูปแบบ และระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบ

ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและการจัดการในยุค Digital Disruption โดยเฉพาะในด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ การวิเคราะห์ข้อมูล และการตัดสินใจ

ระยะที่ 2 การพัฒนาและใช้รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้บริหารการพยาบาลในยุคดิจิทัล พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้เทคนิค A-I-C และร่วมกันดำเนินการพัฒนารูปแบบ NURSE Model ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร 2) การพัฒนาทักษะดิจิทัลและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้บริหารและบุคลากรทางการพยาบาล 3) การจัดการความเสี่ยงและการรักษาความปลอดภัย 4) ส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลที่มีจริยธรรม 5) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน  นำรูปแบบมาใช้รูปแบบกับผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่

และระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบฯ พบว่า ผู้เข้าร่วมมีคะแนนความรู้ด้านดิจิทัลและทักษะการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผู้เข้าร่วมการพัฒนารูปแบบมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบของผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.30, S.D.=0.59) ได้รับความรู้จากรูปแบบใหม่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.43, S.D.=0.50) ความพึงพอใจต่อผลการพัฒนารูปแบบใหม่อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.43, S.D.=0.56) รูปแบบมีผลต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05  ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่ควรมีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานการเตรียมความพร้อมในการจัดการทางการพยาบาลสำหรับการก้าวสู่ผู้บริหารทางการพยาบาล เพื่อการบริหารจัดการ การตัดสินใจที่ดีมีการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ควรมีการพัฒนาหลักสูตรมาตรฐานสำหรับการเตรียมความพร้อมผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่ในด้านการจัดการทางการพยาบาล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ การตัดสินใจ การเรียนรู้ และการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Isidori V, Diamanti F, Gios L, Malfatti G, Perini FC, Nicolini A, et al. Digital Technologies and the Role of Health Care Professionals: Scoping Review Exploring Nurses’ Skills in the Digital Era and in the Light of the COVID-19 Pandemic. JMIR nursing, (2022).;5(1):e37631. doi: 10.2196/37631

World Economic Forum. The Future of Jobs Report 2020 [Internet]. 2020 [cited 2023 Nov 20]. Available from: https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2020

World Health Organization. Global strategy on human resources for health: Workforce 2030 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2016.[cited 2023 Nov 20]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241511131

Remus S. Advancing the Digital Health Discourse for Nurse Leaders. Stud Health Technol Inform, (2016).;225:412-6. doi: 10.3233/978-1-61499-658-3-412

Lemak CH, Guptill J. Leadership to Accelerate Healthcare’s Digital Transformation: Evidence From 33 Health Systems. J Healthc Manag, (2024).;69(4):267-79. doi: 10.1097/jhm-d-23-00210

Stunden A, Ginige A, O'Reilly R, Sanagavarapu P, Heaton L, Jefferies D. Nursing students' preparedness for the digitalised clinical environment in Australia: An integrative review. Nurse Educ Pract. (2024).;75:103908. doi: 10.1016/j.nepr.2024.103908

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566 (ไตรมาส 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2566

Dašić D, Ilievska Kostadinović M, Vlajković M, Pavlović M. Digital Literacy in the Service of Science and Scientific Knowledge. International Journal of Cognitive Research in Science, Engineering and Education. 2024;12(1):219-27.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. ชื่อเป้าหมายย่อยและตัวชี้วัด SDG [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2565 [cited 2023 Nov 24]. Available from: https://www.sdgmove.com/sdg-101/

สายฝน สุเอียนทรเมธี, รุ่งนภา เทพภาพ, อรณิชา เมี่ยงม่วง. ผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์: กระบวนทัศน์ กลไก มาตรการ ประสบการณ์ และข้อเสนอเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ; 2567.

ภัณฑิรา ปริญญารักษ์, วนิดา รักผกาวงศ์, จิราภรณ์ สาชะรุง, รัตนากร ทวีเฉลิมดิษฐ์, อธิชา ฉันทวุฒินันท์, ธนวัฒน์ ฉัตรทวีลาภ. ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลาง ภาคเอกชนแห่งหนึ่ง. เภสัชกรรมคลินิก. 2564;27(2):55-61.

Usher EL, Butz AR, Chen X, Ford CJ, Han J, Mamaril NA, et al. Supporting self-efficacy development from primary school to the professions: A guide for educators. Theory Pract. 2023; 62(2):125-140. doi: 10.1080/00405841.2023.2226559

DeSimone RL, Werner JM, Scullion H, Collings DG. Human Resource Development: A Critical Review and Future Directions. Management International Review. 2015;55(1):39-61. doi: 10.1007/S11575-013-0197-9

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญและพนักงานราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 7 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2021/02/26-เอกสารแนบ-5-มาตรฐาน-PMS-สป..pdf

สหัสพร ยืนยง, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2562 ;46(2):152-63.

Erlingsson C, Brysiewicz P. A hands-on guide to doing content analysis. Afr J Emerg Med. 2017;7(3):93-9.

Goncharov VV. The Fourth Industrial Revolution: Challenges, Risks and Opportunities. ERUDITIO. 2020;2(6):95-108.

Kaihlanen AM, Virtanen L, Kainiemi E, Sulosaari V, Heponiemi T. Continuing Education in Digital Skills for Healthcare Professionals — Mapping of the Current Situation in EU Member States. Int J Health Policy Manag. 2024;13(1):1-12. doi: 10.34172/ijhpm.8309

Wright J. Healthcare Cybersecurity and Cybercrime Supply Chain Risk Management. J Crime Crim Behav. 2024;4(2):249-264. doi: 10.47509/JCCB.2024.v04i02.05

Thanh NH, Quang NV. Ethical Leadership in the Digital Era: Requirements for Developing Ethical Leaderships in Vietnam. The International Journal of Business & Management. 2019 Jul;7(7):174-9. DOI: 10.24940/theijbm/2019/v7/i7/BM1907-028.

Economic Commission for Latin America and the Caribbean. Economic Survey of Latin America and the Caribbean 2016: The 2030 Agenda for Sustainable Development and the Challenges of Financing for Development [Internet]. Santiago: United Nations; 2016 [cited 2024 Mar 7]. Available from: https://doi.org/10.18356/e1d2d8de-en

ชุติมา ดำศิริ. ประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

Booth R. Informatics and Nursing in a Post-Nursing Informatics World: Future Directions for Nurses in an Automated, Artificially-Intelligent, Social-Networked Healthcare Environment. Nurs Leadersh. 2016;28(4):61-9. doi: 10.12927/CJNL.2016.24563

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. แผนปฏิบัติการดิจิทัล พ.ศ. 2566 - 2570 ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nsc.go.th/wpcontent/uploads/2023/10/digital_plan66-70.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. "บริการสุขภาพปฐมภูมิบัตรทอง ปี 2566" สปสช.เร่งพัฒนาระบบรุกนวัตกรรมบริการวิถีใหม่[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/news/3759

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-10-2024