ความชุกของภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อม ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ที่มารับบริการคลินิกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสระบุรี

ผู้แต่ง

  • วรัญญู สุทธิกาศนีย์ นายแพทย์ชำนาญการ, กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์, โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

ความชุกของโรค, ภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อม, อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง

บทคัดย่อ

อาการปวดหลังส่วนล่างมีหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อม (Degenerative spondylolisthesis) แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจนในประชากรไทย งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังร่วมกับการศึกษาแบบตัดขวาง (retrospective cross-sectional study) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวน 1,051 คน ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง และเข้ารับการรักษาที่แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสระบุรี เพื่อทำการศึกษาในรูปแบบ retrospective cross-sectional study โดยวิเคราะห์หาค่าความชุกของภาวะดังกล่าว และความชุกของโรคในปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย และอาชีพ  

ผลการศึกษา พบว่ามีค่าความชุกของภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อม 26.83% ค่าความชุกของโรคในกลุ่มเพศชาย 18.87% และในกลุ่มเพศหญิง 30.89% เพศหญิงจึงพบความชุกของโรคได้มากกว่า คิดเป็น Odd ratio 1.92 (95%CI, 1.41–2.62)   ค่าความชุกของโรคในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 50 ปี เท่ากับ 19.27% และในกลุ่มที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เท่ากับ 28.81% กลุ่มที่อายุตั้งแต่  50 ปีขึ้นไปจึงพบความชุกของโรคได้มากกว่า คิดเป็น Odd ratio 1.69 (95%CI, 1.17–2.45) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายในกลุ่มที่พบโรค และในกลุ่มที่ไม่พบโรคดังกล่าว มีค่า 24.7±2.80 และ 24.4±2.85 ตามลำดับ มี P-value 0.156 จึงไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้านอาชีพเปรียบเทียบกันระหว่างอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน และอาชีพทำงานนั่งโต๊ะ พบว่าไม่มีอาชีพใดที่มีความชุกของโรคแตกต่างกัน ด้วย Odd ratio 1.20 (95%CI, 0.91–1.58) โดยใช้สถิติ two-sample t-test และ chi-squared test

โดยสรุป ภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อมพบประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรไทยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง และพบว่ามีความชุกของโรคที่สูงในเพศหญิง และคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

References

Panjabi MM. Clinical spinal instability and low back pain. J Electromyogr Kinesiol 2003;13(4):371-9.

Wang YXJ, Káplár Z, Deng M, Leung JCS. Lumbar degenerative spondylolisthesis epidemiology: A systematic review with a focus on gender-specific and age-specific prevalence. J Orthop Translat. 2016;11:39-52.

Izzo R, Guarnieri G, Guglielmi G, Muto M. Biomechanics of the spine. Part II: spinal instability. Eur J Radiol. 2013; 82(1): 127-38.

วิทย์ โคธีรานุรักษ์, วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล. Degenerative Spondylolisthesis. ใน : อารีศักดิ์ โชติวิจิตร, บรรณาธิการ. ภาวะและโรคทางกระดูกสันหลัง. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย; 2564. หน้า 909-17.

Koslosky E, Gendelberg D. Classification in Brief: The Meyerding Classification System of Spondylolisthesis. Clin Orthop Relat Res. 2020;478(5):1125-30.

Takahashi M, Iwamoto K, Kuzuyama M, Inami H, Matsumoto Y, Ueda S, et. al. Incidence of spinal instability among patients with discogenic low back pain with different backgrounds. J Phys Ther Sci. 2021;33(8):601-5.

Chatprem T, Puntumetakul R, Siritaratiwat W, Hunsawong T, Boucaut R. Prevalence of Thai People with Lumbar Instability and Associated Factors: A Cross-Sectional Study. J Pain Res. 2022;15:3287-97.

He LC, Wang YX, Gong JS, Griffith JF, Zeng XJ, Kwok AW, et. al. Prevalence and risk factors of lumbar spondylolisthesis in elderly Chinese men and women. Eur Radiol. 2014;24(2):441-8.

Wáng YXJ, Deng M, Griffith JF, Kwok AWL, Leung JC, Ahuja AT, et. al. Lumbar Spondylolisthesis Progression and De Novo Spondylolisthesis in Elderly Chinese Men and Women: A Year-4 Follow-up Study. Spine (Phila Pa 1976). 2016;41(13):1096-103.

Williams R, Cheung JP, Goss B, Rajasekaran S, Kawaguchi Y, Acharya S, et. al. An International Multicenter Study Assessing the Role of Ethnicity on Variation of Lumbar Facet Joint Orientation and the Occurrence of Degenerative Spondylolisthesis in Asia Pacific: A Study from the AOSpine Asia Pacific Research Collaboration Consortium. Global Spine J. 2016;6(1):35-45.

Li N, Scofield J, Mangham P, Cooper J, Sherman W, Kaye AD. Spondylolisthesis. Orthopedic Reviews. 2022;14(3).

Bulut M, Uçar BY, Uçar D, Azboy I, Demirtaş A, Alemdar C, Gem M, Ozkul E. Is sacralization really a cause of low back pain? ISRN Orthop. 2013 Feb 7;2013:839013.

Mahmoodkhani M, Naeimi A, Zohrevand A, Rabbanifard A, Rezvani M. Lumbosacral transitional vertebra in spondylolisthesis:

frequency, demographic findings, and clinical characteristics. BMC Musculoskelet Disord. 2024 Mar 27;25(1):243.

Mazurek M, Kulesza B, Gołębiowska N, Tyzo B, Kura K, Szczepanek D. Factors Predisposing to The Formation of Degenerative Spondylolisthesis-A Narrative Review. Medicina (Kaunas). 2023 Aug 7;59(8):1430.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-09-2024