ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • กรวุธ อุติเนตร นักศึกษาหลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ อาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สม.) สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ อาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สม.) สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข, ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, การถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 2) ปัจจัยด้านลักษณะประชากรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์บริหารส่วนจังหวัด กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากร สาธารณสุขที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 236 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.895

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครพบว่าส่วนใหญ่ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 75.80 2) ปัจจัยลักษณะประชากร ได้แก่ ระดับการศึกษา ประเภทของบุคลากร และตำแหน่งสายงาน มีความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา สภาพการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และนโยบายการบริหาร ปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจได้ร้อยละ 58.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (R2 = .459) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ( equation =.330) ตามด้วยด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา (equation =.201)

References

กมลพร กัลยาณมิตร. การนำนโยบายอยู่ดีมีสุขไปปฏิบัติ ในจังหวัดนนทบุรี [ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี บัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิยาลัยรามคำแหง; 2550.

กฤตภาคิน มิ่งโสภา, ณกมล จันทร์สม. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 2564; 2: 209 – 22.

ชาคริตส์ ปานผ่อง. การศึกษาแรงจูงใจในการทำงาน การยอมรับเทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรในกรมโยธาธิการและผัง [ปริญญานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2564.

ชมนภัส วิจิตรชัยกุล. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางกะปิ [ปริญญานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า); 2563.

ฐานิฎา เจริญเลิศวิวัฒน์. ความพึงพอใจในค่าตอบแทน สวัสดิการและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [ปริญญานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2558.

ดาวนภา เกตุทอง. การกระจายอำนาจสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการ มจร เพชรบุรี ปริทรรศน์. 2563;1:48-9.

ณัชชา ใจตรง. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่มีอายุต่างกัน กรณีศึกษา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้) [ปริญญานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

ณัฐดนัย ไทยถาวร, พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถามศึกษา จังหวัดสระบุรี. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสววรค์. 2563;1:239-43.

พัชรี พันธุ์แตงไทย. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2564.

พลอยไพลิน อิงบุญ, กนกวรรณ แสนเมือง, กาญจนา พันธุ์เอี่ยม. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 2562;1:4-9.

Angela Dzida, David Schmuck, Ulrich Sieberer. HoMinisterial Reorganization Affects the Work Motivation of Top-Level Bureaucrats [dissertation]. Bamberg Germany: Department of Political Science. University; 2022.

Barnard,C. The early sociology of management and organizations. 7th ed. the USA and Canada. Library of Congress Cataloguing; 1969.

Cristina Lin-Lin, Carmen De-Pablos-Heredero, Jose Luis Montes-Botella and Susana-Lin. The Influence of Enterpreneurial Motivation on the Valuation of Socioeconomic Benefits of Business Incubator Function. Economic. 2022; 1: 2-21.

DuBrin, J Andrew. Leadership: Resarch Findings, Practice, and Skills. 8th ed. New Jersey: Pearson Education, Inc.; 2004.

Frederck Herzberg, Bernard Mausner, Barbara B. Synderman. The Motivation to Work. 2nd ed: New York: John Wiley and Sons; 1959.

Nur Nabilllah, Sri Surdiarti. Analisis of the Effect of Ability and Motivation on Performance of Counter Employees at the Social Service of Medan City in 2020-2022. Jurnal akuntansi manajemen dan bisnis digital. 2022; 1: 83-88.

Tustiyana Windiyani, Yusf Gunawan. Internationnal and Indonesia’s Teacher Performance: A bibliometric Study Based on Vosviewer. Junal Hasil Penelitian dan Kajian di Bidang Pendidikan, Pengajaran dan Pembelajaran. 2023; 1: 92-106.

Mike Woodcock. Team development manual. USA: Gower Publishing; 1979.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-11-2024