ผลของการใช้แผนการชี้แนะต่อระดับค่าไตและคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
แผนการชี้แนะ, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental.Research).ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการชี้แนะต่อระดับระดับค่าไต และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการทดลองของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์จำนวน 60 คน ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2566-เมษายน 2567 โดยสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และสุ่มเข้ากลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และภาวะสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน dependent t-test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากที่ได้ใช้แผนการชี้แนะโดยใช้แนวคิดการชี้แนะของแฮส (HASS) มาประยุกต์ใช้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มทดลองมีระดับค่าไตลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มควบคุม และค่าการกรองของไต สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม คะแนนเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมโดยได้ผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
โดยสรุป ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้แผนการชี้แนะของแฮส (HASS) ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยระดับค่าไตลดลง ค่าการกรองของไตสูงขึ้น และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น จึงควรเผยแพร่แผนการชี้แนะนี้ และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อขยายผลต่อไป
References
ปิติรส วิโทจิตร. ชะลอไตในโรคเบาหวาน. 2560. (เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม
. สืบค้นจาก: http://www.kmblog/page. Research_detail. Php. ResID284.
ประจักร เหิกขุนทด. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลส่องดาว. 2560. (เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2566). สืบค้นจาก: https://he02.tci thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/251643
โกวิทย์ ทองละมุล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยติดเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มีต่อความสม่ำเสมอ ในการใช้ยาต้านไวรัส ในโรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. 2562. (เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2566). สืบค้นจาก
ภูรดา ยังวิลัย. การเปรียบเทียบผลของการชี้แนะและการสอนสุขศึกษาต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 6(2): 41-54.
ภูรดา ยังวิลัย. ผลของการใช้แผนการชี้แนะต่อค่าความดันโลหิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ แผนกผู้ป่วย
นอก โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2566; 29(1): 1-16.
Polit, DF. Beck, CT. Nursing Research:Gernerating and Assessing vidence for Nursing Practice. (8th ed). Philadephia: Lippincott;
Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York, NY: Routledge Academic; 1988.
Haas, S. A. Coaching: Developing key players. JONA, 1992;22(6): 54-58.
Kirsi, K. Elo, S. Kynagas, H. Kaariainen, M. The effects of health coaching on adult patients with chronic diseases: a systematic review. [Internet]. 2014. [cited 2023 April 9]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25127667/.
Meiyu. et. al. Mechanisms and Effects of Health Coaching in Patients With Early-Stage Chronic Kidney Disease: A Randomized Controlled Trial. [Internet]. 2021. [cited 2023 April 10]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov.
ใกล้รุ่ง สุทธารักษ์. อุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยเอช ไอ วีที่ใช้ยา Tenofovir โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร.
;28(1):29-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว