การพัฒนาระบบบริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ ที่ปลอดภัย จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม, ระบบบริการ, การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
ระบบบริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ เริ่มพัฒนาระบบบริการเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย แต่ยังพบว่าระบบบริการดังกล่าวขาดการประสานงานภายในระบบบริการที่จะช่วยให้บริการการยุติการตั้งครรภ์เป็นระบบที่รวดเร็วและปลอดภัยในทุกมิติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของระบบบริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฯ และเพื่อพัฒนาระบบบริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ ที่ปลอดภัย ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ 1) การวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลง (Planning a change) 2) การปฏิบัติ (Acting) 3) การสังเกตการณ์ (Observing) 4) การสะท้อนกลับ (Reflecting) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการพัฒนาระบบบริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย สถานการณ์การจัดบริการพบว่า มีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการคือ การเข้าถึงบริการที่มีความยุ่งยาก การขาดการสนับสนุนทางจิตใจและคำปรึกษาทางเลือก และการขาดการดูแลต่อเนื่องหลังการยุติการตั้งครรภ์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือการสร้างความเข้าใจต่อผู้รับบริการเพื่อลดการตีตราในการทำแท้งของผู้ให้บริการ การสร้างช่องทางการติดต่อและส่งต่อโดยการพัฒนาช่องทางการติดต่อสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมช่วยให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น การบริการปรึกษาและดูแลจิตใจโดยมีการให้บริการปรึกษาและสนับสนุนทางจิตใจทำให้ผู้หญิงมีโอกาสได้รับการสนับสนุนในการตัดสินใจและความช่วยเหลือหลังจากการยุติการตั้งครรภ์ และการดูแลต่อเนื่องหลังการยุติการตั้งครรภ์โดยสร้างระบบการดูแลต่อเนื่องช่วยให้หญิงสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและการติดตามเชิงป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตที่ไม่ได้วางแผน
อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของระบบบริการที่พัฒนาฯนี้ แม้ว่าจะมีการปรับปรุงบริการและช่องทางการติดต่อ แต่ผู้หญิงบางคนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและบริการที่มีอยู่ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้เต็มที่ และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ห่างไกลยังเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงบริการเนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางและทรัพยากร ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจวิธีการพัฒนาระบบบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และแม้ว่าจะมีความสำเร็จอย่างมากในการปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของบริการ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้บริการเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้หญิงทุกคนได้อย่างเต็มที่ต่อไป
References
Stevenson AJ. A research note on the mortality consequence of denying all wanted induced abortions [Internet]. 2021 [cited 2023 Jan 18]. Available from: https://doi.org/10.31235/osf.io/sb5f2
เครือข่ายอาสา RSA. แถลงการณ์ข้อเท็จจริงเรื่องการทำแท้งในประเทศไทยจากเครือข่ายอาสา RSA. [อินเทอร์เน็ต}: กรุงเทพฯ: เครือข่ายอาสา RSA; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566,] เข้าถึงได้จากhttps://rsathai.org/contents/17600/
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานการตายของมารดาประเทศไทย พ.ศ. 2564. กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. รายงานเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2556. [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/th/surveillance-report/2504#wow-book/
สีนวน บุญนาค. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อและภาวะไตวายเฉียบพลันหลังได้รับการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2567;32(3): C1-C9.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. รายงานผลการดำเนินงานการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี; 2566.
กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวมฉบับปรับปรุง. ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2564.
Von Bertalanffy, L. General Theory of Systems : Application to psychology. Social Science Information 1967;6(6):125-36. doi.org/10.1177/053901846700600610
Kemmis, S.,McTaggart, R., & Nixon, R. The Action Research Planner Doing Critical Participatory Action Research. Springer; 2014.
Von Bertalanffy L. General System Theory: Foundations, Development, Applications. New York: George Braziller; 1968.
Cameron S. Recent advances in improving the effectiveness and reducing the complications of abortion. F1000Res 2018;7:F1000 Faculty Rev-1881. Published 2018 Dec 2. doi:10.12688/f1000research.15441.1
Yegon EK, Kabanya PM, Echoka E, Osur J. Understanding abortion-related stigma and incidence of unsafe abortion: experiences from community members in Machakos and Trans Nzoia counties Kenya. Pan Afr Med J 2016;24:258. Published 2016 Jul 20. doi:10.11604/pamj.2016.24.258.7567
Langer A, Meleis A, Knaul FM, Atun R, Aran M, Arreola-Ornelas H, et al. Women and Health: the key for sustainable development. Lancet 2015;386(9999):1165-1210. doi:10.1016/S0140-6736(15)60497-4.
จุฑามาศ โกมลศิริสุข.การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นจังหวัดสุพรรณบุรี วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;27(2): 253-67.
วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. การขับเคลื่อนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2560;20(20):216-29.
พิมพ์ณิชณิณ ภิวงศ์กำจร. การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและองค์กรในพื้นที่ ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(4): 608-17.
ฉลวย หาลือ. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร 2560;26(2): 121-33.
Biggs, M. A., Upadhyay, U. D., McCulloch, C. E., & Foster, D. G. Women's Mental Health and Well-being 5 Years After Receiving or Being Denied an Abortion: A Prospective, Longitudinal Cohort Study. JAMA psychiatry 2017;74(2):169–78. https://doi.org/10.1001/jamapsychiatry.2016.3478
Fahey, J. O., & Shenassa, E. Understanding and meeting the needs of women in the postpartum period: the Perinatal Maternal Health Promotion Model. Journal of midwifery & women's health 2013;58(6):613–21. https://doi.org/10.1111/jmwh.12139
Bridwell RE, Long B, Montrief T, Gottlieb M. Post-abortion Complications: A Narrative Review for Emergency Clinicians. West J Emerg Med 2022;23(6):919-25. Published 2022 Oct 23. doi:10.5811/westjem.2022.8.57929
Verbiest, S., Tully, K. P., Stuebe, A. Promoting maternal and infant health in the postpartum period. Maternal and Child Health Journal 2016;20(2):578-86.
Greenslade FC, Mckay H, Wolf M, Mclaurin K. Post-abortion care: a women's health initiative to combat unsafe abortion. Adv Abort Care 1994;4(1):1-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว