การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation ร่วมกับมีภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ขาวแก้ว กลุ่มงานหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง, กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation, ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน, การรักษาด้วยยา Warfarin

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation ร่วมกับมีภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Antiarrhythmic drugs) และยา Warfarin ซึ่งเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรีช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล รวมระยะวิกฤต กึ่งวิกฤต และเตรียมจำหน่ายกลับบ้าน

ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยหญิงอายุ 58 ปีปฏิเสธโรคประจำตัวผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการหายใจเหนื่อย.ใจสั่น.แน่นหน้าอก   ทำ Electrocardiogram (EKG): Atrial fibrillationrate 148 bpm แพทย์วินิจฉัย Atrial fibrillation ได้รับยาAntiarrhythmic drugs  รวมถึงการ MonitorEKG และติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง ประเมิน CHA2DS2-VASc Score for Atrial Fibrillation Stroke Risk ได้ 2 คะแนน เพื่อเริ่มยา warfarin ขณะสังเกตอาการผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายเฉียบพลันร่วมด้วย ได้รับยา Furosemide และให้ออกซิเจนไม่พบภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน ได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาลและจําหน่ายกลับบ้านได้รวมระยะเวลาอยู่โรงพยาบาล 6 วันและผู้ป่วยไม่มีการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

ดังนั้นบทบาทของพยาบาลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และทักษะในการดูแลให้การพยาบาลในภาวะวิกฤติ การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อติดตามประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วย อย่างเหมาะสมโดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและลดการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

References

Jirapattrathamrong S. Use of oral anticoagulant for.prevention of embolic stroke and systemic embolism in atrial fibrillation. Vajira Med J 2018;62Suppl3:S64-74.

Krittayaphong R, Phrommintikul A, Ngamjanyaporn P, Siriwattana K, Kanjanarutjawiwat W, Chantrarat T, et al. Rate of anticoagulant use, and factors associated with not prescribing anticoagulant inolder Thai adults withnon-valvular atrial fibrillation: a multicenter registry J GeriatrCardiol 2019;16(3):242–50.

Wehbe RM, Yadlapati A. Underuse of oral anticoagulants for nonvalvular atrial fibrillation: past, present, and future. Tex Heart Inst J 2016;43(4):287-90.

สมาคมแพทย์ โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. กรุงเทพฯ:สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555.

เกรียง ไกรเฮงรัศมี. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. นนทบุรี: บริษัทสุขุมวิทการพิมพ์; 2562.

คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาหัวใจ. คู่มือการ ดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ เรื่อง การบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin Clinic Management) ปี2560-2562กรุงเทพมหานคร; 2563

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. รายงานสถิติประจำปี 2563-2565. โรงพยาบาลสิงห์บุรี; 2565

ณัฏฐ์ น้อมพรรโณภาส. การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานของผู้ป่วยนอกที่มี Nonvalvular Atrial Fibrillation โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 2565;19(2):83-100.

ณรงค์กร ชัยวงศ์, ปณวัตร สันประโคน. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของพยาบาลของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤต. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2562;14(1):43 -51.

รติกร เมธาวีกุล, คมสิงห์ เมธาวีกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการควบคุม ระดับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับยา aspirin และ clopidogrel ร่วมกับ warfarin. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42: 59-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024