ผลของการใช้โครงงานเป็นฐานส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
โครงงานเป็นฐาน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, กัญชาทางการแพทย์, นักศึกษาสตรพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้โครงงานเป็นฐานส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้กัญชาทางแพทย์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชน 1 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของความรู้และความรอบรู้ เท่ากับ 0.90 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูงทั้งหมด (ร้อยละ 100.00) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ด้านสุขภาพในภาพรวม (p > 0.001) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกัญชา (p > 0.001) และด้านอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยสมุนไพรกัญชา (p = 0.005) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ (p = 0.044) ดีกว่า และผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ความรู้ด้านสุขภาพในภาพรวม และรายด้านทุกด้าน (p<0.001) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมและรายด้าน (p<0.05) ดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผล การใช้โครงงานเป็นฐานในการเรียนการสอนมีประสิทธิผลต่อการเพิ่มความรู้ สามารถนำมาใช้ในการสอน ในวิชาชีพพยาบาลทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566, จาก : http://www.dms.moph.go.th
ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์. กัญชากับการรักษาโรค.สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 มีนาคม 2566 จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/กัญชา
กระทรวงยุติธรรม. กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 402 : ห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 จาก https://www.moj.go.th/view/78558
กุลยา ตันติผลาชีวะ และพนิดา ดามาพงษ์. แนวโน้มทางการพยาบาลด้านการใช้กัญชาทางการแพทย์. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปี 2562 เรื่อง “บทบาทพยาบาลกับกัญชาทางการแพทย์” ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2562 ณ โรงพยาบาลราชวิถี, 2562
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง, 2559.
ดุษฎี โยเหลา. การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริม ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ, 2557.
รจนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริ และกมลพร แพทย์ชีพ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19. วารสารเครือวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2564; 8(1), 250-262.
Best, J.W. Research in Education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall., 1997
Bloom, B.S., Hastings, T. J., Madaus, G. F. Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw – Hill Book Company Inc, 1971.
ดวงเนตร ธรรมกุล, วนิดา ตันเจริญรัตน์ และพูลทรัพย์ ลาภเจียน. (2557). ผลของการจัดการเรียนแบบโครงการต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(1), 46-54.
ศิริลักษณ์ อัคพิน, กรกนก เสาร์แดน, ลลดา ทองจำนงค์ และญาตาวี เซ็นเชาวนิช. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์. ในการประชุมสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาส ครบรอบ 66 ปี คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 24 มกราคม 2563, 2563
กุลนิษฐ์ วงศ์แก้ว. การสร้างบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน เรื่องนิทานคุณธรรม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพมหานคร, 2553.
ประกายฉัตร ขวัญแก้ว, พัชรา วาณิชวศิน และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน Project-Based Learning (PjBL) ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการเลขานุการ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 2559; 9(1), 1-6
Dale, E. (1969). Audiovisual Method in Teaching. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว