สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน: ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการดูแลตนเอง

ผู้แต่ง

  • สุฑารัตน์ ชูรส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท
  • ปรีดาวรรณ กะสินัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท
  • บุษกร แก้วเขียว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท

คำสำคัญ:

เบาหวานขณะตั้งครรภ์, ปัจจัยสนับสนุน, อุปสรรค, การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นการตรวจพบครั้งแรกระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมอันดับหนึ่งในสตรีตั้งครรภ์ ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีจะส่งผลกระทบทั้งด้านมารดาและทารก เช่น การคลอดยาก ภาวะความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด และทารกหายใจลำบากแรกเกิด เป็นต้น สตรีตั้งครรภ์สามารถป้องกันหรือลดผลกระทบเหล่านี้ได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียง ทั้งนี้การที่สตรีตั้งครรภ์  จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้นจะต้องมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการดูแลตนเอง เช่น การรับรู้เกี่ยวกับเบาหวานและความรุนแรงของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การเข้าถึงบริการ การมีปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว และบุคลากรในหน่วยบริการ เป็นต้น ดังนั้น พยาบาลมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมปัจจัยสนับสนุนและลดอุปสรรคในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ บทความเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมายของ GDM ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบของ GDM แนวทางการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น GDM ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น GDM

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี[สบท.]. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566: Clinical practice guideline fordiabetes 2023. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

ประภัทร วานิชพงษพันธุ.บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2560.

International Diabetes Federation [IDF]. Care & prevent gestational diabetes. Retrieved from https://www.idf.org/our-activities/careprevention/gdm.html; 2020.

Geum, J.C., Jong, H.P., Heeyoung, L., Seughyun, Y., Soon-Ae, S., & Min-Jeong, O. Prepregnancy Factors as Determinants of the Development of Diabetes Mellitus After First Pregnancy. Journal Clin Endocrinol Metab 2016; 101(7): 2923–2930.

ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล และนลัท สมภักดี. เบาหวานขณะตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2560.

Zurawska-Klisl, M., Kosinskil, M., Wender-Ozegowska, E., Bartyzel, L., Matysiak, E., Olak-Bialon, B., et al. Obstetric Results of the Multicenter, Nationwide, Scientific-Educational Program for Pregnant Women with Gestational Diabetes Mellitus (GDM). Ginekologia Polska 2016; 87: 651–658.

Centers for Disease Control and Prevention. Gestational diabetes and pregnancy. Retrieved from https://www.cdc.gov/pregnancy/diabetes-gestational.html; 2020.

ฑิฆัมพร ทองบุญนุ่ม และสิวิลักษณ์ กาญจนบัตร. ผลกระทบของทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine 2560; 61(1).

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. แนวคิดและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน (ปรับปรุงใหม่).กรุงเทพฯ : โครงการตำราวิทยาลัยเซนต์หลุยส์; 2560.

Gilbert, L., Gross, J., Lanzi, S., Quansah, D. Y., Puder, J. & Horsch, A. How diet, physical activity and psychosocial well-being interact in women with gestational diabetes mellitus: An integrative review. BMC Pregnancy Childbirth 2019; 19(1): 60-75.

American Diabetes Association. American Diabetes Association. Diabetes Care, 39 (Suppl 1) 2020; 97-112.

Yaiyiam, C.,& Suthutvoravut,S. Screening of Diabetes Mellitus in Pregnancy by Hemoglobin A1c and Fasting Plasma Glucose at Ramathibodi Hospital. Ramathibodi Medical Journal, 2018; 41(3): 73-81.

Cunningham F.G., Lenovo K.J., Dashe J.S., Hoffman B.L., Spong C.Y. & Casey B.M. Williams obstetrics. 26 ed. New York: McGraw-Hill Education; 2022.

Bismuth, E., Bouche, C., Caliman, C., Lepercq, J., Lubin, V., Rouge, D., Timsit, J., & Vambergue, A. Management of pregnancy in woman with type 1 diabetes mellitus: Guideline of the French-speaking diabetes society. Diabetes and Metabolism 2020; 38(3): 205-216.

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับตั้งครรภ์.(พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560.

Yang, O. H., Chen, B., Abdulrahman , M. A., Li, L. A., & Wu, N. Associations between Gestational Diabetes and Anxiety or Depression: A Systematic Review, Journal of Diabetes Research 2021; ID 9959779, 10 pages https://doi.org/10.1155/2021/9959779, 1-10

พินทร์พจน์ พรหมเสน, จันทรรัตน์ เจริญสันติ และพรรณพิไล ศรีอาภรณ์. ความเข้มแข็งอดทนการ สนับสนุนทางสังคมและความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. Nursing Journal Volume 2019; 46( 3): 169-180.

Wenxin Qiu, Xiaodan Cai, Chenhui Zheng, Shumin Qiu, Hanyang Ke, & Yinqiong Huang. Update on the Relationship Between Depression and Neuroendocrine Metabolism. Frontiers in Neuroscience 2021; 15:728810.doi:10.3389/fnins.2021.728810

Rafiea, Z., Vakilian, K., Zamanian,M. & Eghbalic, H. The effectiveness of solution-focused counseling on the mental health of mothers with gestational diabetes under treatment with insulin A randomized clinical trial. International Journal of Healthcare Managment 2023; 16(2): 224–230. https://doi.org/10.1080/20479700.2022.2095083

ปาริชาติ วันชูเสริม และอักษราณัฐ สุทธิประภา.(2564). บทบาทพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมการเผชิญความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564; 8(8): 1-16.

วิบูลย์ เรืองชัยนิคม. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ในเยื้อน ตันนิรันดร, และ วรพงศ์ ภู่พงษ์ (บรรณาธิการ). เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. กรุงเทพฯ :พิมพ์ดี; 2561.

Wang, X., Zhang, X., Zhou, M., Juan, J., & Wang, X. Association of Gestational Diabetes Mellitus with Adverse Pregnancy Outcomes and Its Interaction with Maternal Age in Chinese Urban Women. Journal of Diabetes Research 2021; https://doi.org/10.1155/2021/5516937.

Snapp, C.A.,& Donaldson, S.K. GestationalDiabetes Mellitus: Physical Exercise and Health Outcomes. Biological Research for Nursing 2018; 10(2): 145-155.

Lovallo, W.R. Stress and Health: Biological and Psychological Interactions (2nd ed.). London : SAGE 2016.

ชญาดา เนตร์กระจ่าง.การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภาวะเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562; 36(2): 168-177.

AlemayehuI,D. M. A., Henok Dagne, H., & Dagnew, B. Knowledge and associated factors towards diabetes mellitus among adult nondiabetic community members of Gondar city, Ethiopia 2019. PLOS ONE 2020; https://doi.org/10.1371/journal.pone.0230880

จิรพรรณ ผิวนวล และประทุม เนตรินทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี 2561; 1(2): 46-61.

วิทยา เลิกสายเพ็ง. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปิ้งไก่ ตำบลนาบ่อ อำเภอเมืองกำแพงเพช จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2564; 2(1): 1-10.

Oliveira, M. C., Tureck, V. L., Alvares, D., Liu, C., Horimoto, R. V.R. A., Mercedes Balcells, M., Pereira, C. A. Relationship between marital status and incidence of type 2 diabetes mellitus in a Brazilian rural population: The Baependi Heart Study 2020; PLOS ONE

Jones, E.J., Roche, C.C & Appel, S.J. A review of the health beliefs and lifestyle behaviors of women with previous gestational diabetes.Journal of Obstetric, Gynecologic & Neonatal Nursing 2009; 38 (5): 516–526.

กฤษณา ปิงวงศ์ และกัญญาณัฐ สิทธิภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49 (1): 317-328.

ยุฑามาส วันดาว, ทิพมาส ชิณวงศ์, อุดมรัตน์ ชโลธร และอรุณี ทิพย์วงศ์. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(3): 52-64

วนัญญา แก้วปาน. สัมพันธภาพครอบครัวกับปัญหาการกระทำความผิดในวัยรุ่น. Veridian E-Journal Silpakorn University 2560; 10 (1): 361-371.

สุภานัน ชัยราช, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม และกนกพร นทีธนสมบัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดเอ วัน. Journal of Health and Nursing Research 2019; 36(3): 204-219.

แสงดาว แจ้งสว่าง, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, และตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี . ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2020; 28(3): 79-89

Radarith, C., Tachasuksri, T., & Siriarunrat, S. Factors influencing self-management among women with gestational diabetes mellitus. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2019; 27(1): 50-59. [In Thai]

Boonprasit, S., Somanusorn, S., & Sumngern, C. Factors related to self-management for controlling plasma glucose in uncontrolled diabetes elderly. Journal of Boromarajonani College of Nursing Bangkok 2016; 32(1): 44-56. [In Thai]

อังสินี กันสุขเจริญ และชณุตพร สมใจ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2566; 41(2): 1-13.

กรรณิกา เพ็ชรักษ์, ศีตรา มยูขโชติ, นภศพร เทวะเศกสรรค์, เยาวพา วรรณแก้ว และฝนทอง จิตจำนง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564; 29(1): 11-21.

ขวัญเรือน ก๋าวิตู และชนิดา มัททวางกูร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562; 20(38): 82-95.

Berkowitz, G .S., Lapinski, R. H., Wein R, Lee D. Race/ethnicity and other risk factor for gestational diabetes. Am J Epidemiol 2018; 135: 965-973.

Sedigheh S., Mahdie M., Sodabeh R.S., Marya M. Incidence of Gestational Diabetes Mellitus in pregnant. Postgraduate Medical Journal 2020; 83(980): 426-430.

Li, Y., Jiang, Y., Lin, J., Wang, D., Wang, C., Wang, F. Prevalence and associated factors of diabetes mellitus among individuals aged 18 years and above in Xiaoshan District, China, 2018: a communitybased cross-sectional study. BMJ Open 2022; 12: e049754. doi:10.1136/bmjopen-2021-049754, 1-9

Zehle, K., B. J. Smith, et al. Psychosocial Factors Related to Diet Among Women with Recent Gestational Diabetes: Opportunities for Intervention. The Diabetes Educator 2018; 34(5): 807-814.

กนกอร ปัญญาโส, ศิริวรรณ แสงอินทร์ และอุษา เชื้อหอม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพ ชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตภาคเหนือตอนบน.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 28(3): 37-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023