ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ทองทาสี กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, บุคลากร, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของบุคลากร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสรรถนะของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 229 คน เครื่องมือวิจัยทีใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะบุคลากร 3) สมรรถนะบุคลากร และ 4) ข้อเสนอแนะในการพัฒนา ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .93 ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา มีค่าความเชื่อมั่น .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของบุคลากรกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูงที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.22, S.D. = .412) ปัจจัยภายในตัวบุคคลความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะของบุคลากรระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .835, p <. 001) โดยปัจจัยที่มีความความสัมพันธ์ทางบวกสูงสุด ได้แก่ ความตั้งใจในการพัฒนาทัศนคติ (r = .768) รองลงมาคือ ความตั้งใจในการพัฒนาทักษะ (r=.764) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (r=.745) ปัจจัยภายในตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง ได้แก่ ความตั้งใจในการพัฒนาความรู้ (r = .623) ปัจจัยด้านองค์กรมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของบุคลากรทางบวกระดับปานกลาง (r = .626) โดยวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของบุคลากรทางบวกระดับปานกลางมากที่สุด (r = .611) รองลงมาคือ บรรยากาศองค์กร (r = .511)

                   สรุปได้ว่า ปัจจัยภายในตัวบุคคล และปัจจัยด้านองค์กรมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของบุคลากร จึงควรเน้นพัฒนาในเรื่องการพัฒนาทัศนคติ การพัฒนาทักษะ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง เป็นอันดับแรก รวมถึงการพัฒนาความรู้ การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศองค์กรที่ดีร่วมด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้สูงขึ้น ส่งผลให้การทำงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ศรัณน์พัชร์ ไผ่พูล. สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2559.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. คู่มือการพัฒนาข้าราชการตามสมรรถนะหลัก (Core Competencies). กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอร์บอร์น พรินต์ จำกัด; 2553.

จันทร์ทา มั่งคำมี. การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

ยาใจ ธรรมพิทักษ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานโรงแรมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2559.

โสภณ นีละพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะข้าราชการประเภทวิชาการของกรมสรรพากร. [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรธุรกิจมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช; 2561.

ชุติกาญจน์ ฉลาดสกุล และคณะ. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานของพนักงานรักษาความ ปลอดภัยภาคเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563; 5(6): 245-60.

วรรณภา ชมกรด. การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. [การค้นคว้าอัสระหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

ธีระพล เจริญสุข. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอัสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา; 2564.

สิริวดี ชูเชิด. การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2565; 12(1): 223-38.

ถาวร มาต้น และเสน่ห์ แสงเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุข 2560; 41(1): 67-78.

สำนักงาน ก.พ. สมรรถนะของข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พี.เอ.ลิฟวิ่ง; 2548.

พัชรี อมรสิน. สมรรถนะในการปฏิบัติงานของลูกจ้าง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง โซน 2 จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2560.

ศตววรษ กล่ำดิษฐ. สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตใน อุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า กรณีศึกษาบริษัท สายไฟฟ้าไทย-ยาซากิจำกัด. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ; 2560.

อรุณโรจน์ เข้มแข็ง. ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะในการสื่อสารของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท ยูเนี่ยนพลาสติก จำกัด (มหาชน). วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ 2562; 6(2): 82-90.

Bloom Benjamin S., et al. Taxonomy of Educational Objectives. New York : David Mckay Company; 1956.

Bandura, A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977; 84(2): 191-215.

ยศพล พิชญเดชาวงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2561.

เชษฐกิตติ์ บุณพสิษฐโศธิน และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(1): 441-9.

วิทยาธร ท่อแก้ว. การสร้างวัฒนธรรมองค์กร. [อินเทอร์เน็ต]. นนนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://commarts.stou.ac.th/การสร้างวัฒนธรรมองค์กร%202565.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023