ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนจำนวนเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่อจำนวน ลิมโฟไซต์ในเลือดก่อนการรักษามากกว่าหรือเท่ากับ 3 ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
คำสำคัญ:
มะเร็งปากมดลูก, สัดส่วนนิวโตรฟิลล์ต่อลิมโฟไซต์, ปัจจัยทางพยาธิวิทยาบทคัดย่อ
เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับ NLR ≥3 ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ.2564 โดยข้อมูลพื้นฐานประชากร, ปัจจัยของมะเร็ง และ ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) จะถูกวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนนิวโตรฟิลล์ต่อลิมโฟไซต์ที่มากกว่า3 (NLR ≥3) ต่อปัจจัยของมะเร็ง
จากผู้ป่วยทั้งหมด 84 คน อายุเฉลี่ย 55.86 ปี พบว่าขนาดก้อนมะเร็งที่มากกว่าหรือเท่ากับ 4 เซนติเมตร มีความสัมพันธ์กับการเกิด NLR ≥3 คิดเป็น OR 4.176 95%CI (1.578-11.054), การตรวจพบกระจายไปต่อมน้ำเหลืองสัมพันธ์กับการเกิด NLR ≥3 คิดเป็น OR 2.530 95%CI (1.018-6.285) ระดับฮีโมโกลบิน มีความสัมพันธ์กับการเกิด NLR ≥3 คิดเป็น OR 4.909 95%CI (1.794-13.431), และระยะลุกลามเฉพาะที่ของโรคสัมพันธ์กับ NLR ≥3 คิดเป็น OR 3.214 95%CI (1.180-8.757) แต่เมื่อนำมาคิดวิเคราะห์ด้วยพหุนามถดถอย พบว่าการตรวจพบมะเร็งกระจายมายังต่อมน้ำเหลือง และระดับ Hb <10 g/dL สัมพันธ์กับการตรวจพบ NLR ≥3 คิดเป็น OR 2.628 95%CI (1.048-6.589) และ 4.174 95%CI (1.494-11.514) ตามลำดับ
NLR ≥3 มีความสัมพันธ์กับการกระจายมาต่อมน้ำเหลือง และระดับ Hb < 10 g/dL ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ซึ่งอาจจะมีผลเป็นตัวช่วยบอกการพยากรณ์โรคในอนาคต ถ้าสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงอัตราการหาย และอัตราการรอดชีวิต
References
สถาบันมะเร็ง. ทะเบียนมะเร็งปี 2020. ทะเบียนมะเร็ง. 2020;1:1.
Kim SM, Choi HS, Byun JS. Overall 5-year survival rate and prognostic factors in patients with stage IB and IIA cervical cancer treated by radical hysterectomy and pelvic lymph node dissection. Int J Gynecol Cancer. 2000;10(4):305-12
Bhatla N, Aoki D, Sharma DN, Sankaranarayanan R. Cancer of the cervix uteri. Int J Gynaecol Obstet. 2018;143 Suppl 2:22-36.
Gonzalez H, Hagerling C, Werb Z. Roles of the immune system in cancer: from tumor initiation to metastatic progression. Genes Dev. 2018;32(19-20):1267-84.
Wu J, Chen M, Liang C, Su W. Prognostic value of the pretreatment neutrophil-to-lymphocyte ratio in cervical cancer: a meta-analysis and systematic review. Oncotarget. 2017;8(8):13400-12.
Lee YY, Choi CH, Kim HJ, Kim TJ, Lee JW, Lee JH, et al. Pretreatment neutrophil:lymphocyte ratio as a prognostic factor in cervical carcinoma. Anticancer Res. 2012;32(4):1555-61.
Kyung MS, Kim HB, Seoung JY, Choi IY, Joo YS, Lee MY, et al. Tumor size and lymph node status determined by imaging are reliable factors for predicting advanced cervical cancer prognosis. Oncol Lett. 2015;9(5):2218-24.
Turan T, Yildirim BA, Tulunay G, Boran N, Kose MF. Prognostic effect of different cut-off values (20mm, 30mm and 40mm) for clinical tumor size in FIGO stage IB cervical cancer. Surg Oncol. 2010;19(2):106-13.
Institute NC. Cervical Cancer Prognosis and Survival Rates was originally published by the National Cancer Institute 2023 [Available from: https://www.cancer.gov/types/cervical/survival#:~:text=When%20cervical%20cancer%20is%20diagnosed,relative%20survival%20rate%20is%2059%25.
Bishop AJ, Allen PK, Klopp AH, Meyer LA, Eifel PJ. Relationship between low hemoglobin levels and outcomes after treatment with radiation or chemoradiation in patients with cervical cancer: has the impact of anemia been overstated? Int J Radiat Oncol Biol Phys. 2015;91(1):196-205.
Pang SS, Murphy M, Markham MJ. Current Management of Locally Advanced and Metastatic Cervical Cancer in the United States. JCO Oncol Pract. 2022;18(6):417-22.
https://rdo.psu.ac.th/researchStandards/animal/assets/document/SampleSizes.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว