การศึกษาอาการแสดงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด 19 ในเด็ก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
อาการแสดง, ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค, โรคโควิด 19 ในเด็กบทคัดย่อ
บทนำและวิธีการศึกษา: โรคโควิด 19 มีการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ต่อมาในเดือนมีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นการระบาดระดับสูงสุด ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาอาการแสดงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด 19 ในเด็ก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อช่วยในการดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดโอกาสการเสียชีวิต โดยศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) เก็บข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคโควิด 19 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 358 คน คัดออกจากการศึกษาเนื่องจากข้อมูล เวชระเบียนไม่ครบถ้วน จำนวน 117 คน เหลือกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 241 คน โดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วย เช่น อายุ เพศ รูปร่าง โรคประจำตัว อาการแสดง ภาพถ่ายรังสีทรวงอก (CXR) ผลทางห้องปฏิบัติการ นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Chi-square หรือ Fisher’s exact test และ Logistic regression analysis
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเพศชาย ร้อยละ 53.5 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 37.3 อาการแสดงที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไอ ไข้ น้ำมูก เจ็บคอ เมื่อแบ่งตามความรุนแรงของโรคพบว่าเป็นผู้ป่วยที่อาการรุนแรงปานกลางและรุนแรงมาก ร้อยละ 16.2 และ 1.7 ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาตามอาการและได้ยา Favipiravir ร้อยละ 59.3 และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคที่มีความรุนแรงปานกลางขึ้นไป คือ ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี มีโอกาสเพิ่มขึ้น 4.25 เท่า (95% CI 1.24-14.52) (p=.021) มีไข้ตั้งแต่ 38°C แต่ไม่เกิน 39°C มีโอกาสเพิ่มขึ้น 8.70 เท่า (95% CI 3.13-24.16) (p<.001) มีไข้มากกว่า 39°C มีโอกาสเพิ่มขึ้น 4.70 เท่า (95% CI 1.31-16.79) (p=.017) และอาเจียนมีโอกาสเพิ่มขึ้น 4.35 เท่า (95% CI 1.52-12.50) (p=.006)
การสรุปผลและการนำไปใช้: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคโควิด 19 ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ได้รับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลอินทร์บุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุน้อยกว่า 1 ปี มีไข้ตั้งแต่ 38°C และอาเจียน ดังนั้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว จึงควรให้การรักษาอย่างเหมาะสมแม้จะยังมีอาการไม่รุนแรงและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไป
References
World Health Organization. WHO-convened global study of origins of SARS-CoV-2: China Part. [Internet]. [Cited 2021 September 2]. Retrieved March 4, 2022, from https://www.who.int
World Health Organization. WHO Director-Genral’s opening remark at the media briefing on Covid19-March 2020. Retrieved March 4, 2022, from https://www.who.int
World Health Organization. COVID-19 Weekly Epidemiological Update on COVID-19 - 1 March 2022. Retrieved March 4, 2022, from https://www.who.int
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานการณ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565. จาก. https://ddc.moph.go.th.
Leidman E, Duca LM, Omura JD, Proia K, Stephens JW, Sauber-Schatz EK. COVID-19 Trends Among Persons Aged 0-24 Years - United States, March I-December 12, 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2021;70(3): 88-94.
Madewell ZJ, Yang Y, Longini 1M Jr, Halloran ME, Dean NE. Factors Associated With Household Transmission of SARS-CoV-2: An Updated Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Netw Open. 2021;4(8):e212224.
Hobbs CV, Martin LM, Kim SS, Kirmse BM, Haynie L, McGraw, et al. Factors Associated with Positive SARS-CoV-2 Test Results in Outpatient Health Facilities and Emergency Departments Among Children and Adolescents Aged <18 Years - Mississippi, September-November 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2020;69(50):192.
Viner RM, Ward JL, Hudson LD, Ashe M, Patel SV, Hargreaves D, Whittaker E. Systematic review of reviews of symptoms and signs of COVID-19 in children and adolescents. Arch Dis Child. 2020; 106:802-7.
Liguoro l, Pilotto C, Bonanni M, Ferrari ME, Pusiol A, Nocerino A, et al. SARS-COV-2 infection in children and newborns: a systematic review. Eur J Pediatr. 2020;179(7):1029. Epub 2020 May 18.
Cui X, Zhao Z, Zhang T, Guo W, Guo W, Zheng J, et al. A systematic review and meta-analysis of children with coronavirus disease 2019 (COVID-19), J Med Virol . 2021 Feb;93(2): 1051-69.
Yasuhara J, Kuno T, Takagi H,Sumitomo N. Clinical characteristics of COVID-19 in children: A systematic review, Pediatr Pulmonol. 2020 Oct;55(10):2565-75.
Bailey LC, Razzaghi H, Burrows EK, Bunnell I-IT, Camacho PEF, Christakis DA, et al. Assessment of 135 794 Pediatric Patients Tested for Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 Across the United States. JAMA Pediatr. 2021;175(2): 176-84.
Williams N, Radia T, Harman K, Agrawal P, Cook J, Gupta A. COVID-19 Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) infection in children and adolescents: a systematic review of critically unwell children and the association with underlying comorbidities. Eur J Pediatr. 2021;180(3):689-697.
Shekerdemian LS, Mahmood NR, Wolfe KK, Riggs BJ, Ross CE, McKiernan CA, et al. Characteristics and Outcomes of Children With Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Infection Admitted to US and Canadian Pediatric Intensive Care Units. JAMA Pediatr. 2020;174(9):868-73.
Bhumbra S, Malin S, Kirkpatrick L, Khaitan A, John CC, Rowan CM, et al. Clinical Features of Critical Coronavirus Disease 2019 in Children. Pediatr Crit Care Med. 2020;21(10): e948-e953.
de Souza TH, Nadal JA, Nogueira RJN, Pereira RM, Brandão MB. Clinical manifestations of children with COVID-19: A systematic review. Pediatr Pulmonol 2020;55(8):1892-9. doi: 10.1002/ ppul.24885.
Dong Y, Mo X, Hu Y, Qi X, Jiang F, Jiang Z, et al. Epidemiology of COVID-19 Among Children in China. Pediatrics 2020;145(6): e20200702. doi: 10.1542/peds.2020-0702.
Zhou B, Yuan Y, Wang S, Zhang Z, Yang M, Deng X, et al. Risk profiles of severe illness in children with COVID-19: a meta-analysis of individual patients. Pediatr Res 2021;90(2): 347-52. doi: 10.1038/s41390-021-01429-2.
Choi JH, Choi SH, Yun KW. Risk Factors for Severe COVID-19 in Children: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Korean Med Sci. 2022 Feb 7;37(5):e35. doi: 10.3346/jkms. 2022.37.e35. PMID: 35132841; PMCID: PMC8822112.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2022). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565. จาก https://covid19. dms.go.th.
ณัฐ อารยะพงษ์, อาการแสดงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด 19 ในเด็ก, วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564; 3 :663-74.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว