ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ

ผู้แต่ง

  • สุรชัย คำภักดี โรงพยาบาลบ้านฉาง จังหวัดระยอง

คำสำคัญ:

วัคซีนโควิด-19, บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ, ปัจจัย, การเข้าถึง

บทคัดย่อ

บทนำ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่าง (ANOVA test) ของการฉีดวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ในภาพรวมของประเทศ ระหว่าง 1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2565 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบงานการให้บริการการฉีดวัคซีนกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ จาก 5 จังหวัด จำนวน 15 คน

ผลการศึกษา: ภาพรวมของการฉีดวัคซีน (เข็มที่ 1-4) กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิทั่วประเทศ อยู่ที่ 8,686,301 เข็ม โดยเพศหญิงจะเข้ารับการฉีดวัคซีนมากกว่าเพศชายประมาณ 1.06 เท่า และกลุ่มอายุ 18-39 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนมากที่สุด (ประมาณร้อยละ 60-70) ความสำเร็จในการให้บริการการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิเกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่ายทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเข้าถึงการฉีดวัคซีน ได้แก่ 1. การไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการฉีดวัคซีนกับคนทุกกลุ่ม 2. การทำงานเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เสริมการทำงานเชิงรับในสถานพยาบาล 3. การสร้างความรับรู้เรื่องของการฉีดวัคซีน ผ่านสื่อต่างๆ ที่ช่วยให้เข้าใจได้ในคนทุกกลุ่มปราศจากข้อจำกัดด้านภาษา 4. การให้ข้อมูลเพื่อความเชื่อมั่น ความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีน 5. การบริหารวัคซีนที่เพียงพอ การกระจายวัคซีน และอำนวยความสะดวก

สรุปผลและการนำไปใช้: การให้บริการในพื้นที่มีกลไกในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เพื่อรองรับการเข้าถึงวัคซีนของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิทั้งผู้ที่มีเอกสารรับรองสิทธิและไม่มีเอกสารรับรอง โดยพบว่าจำนวนการฉีดวัคซีนมีอัตราที่สูงหลายเท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้มีสถานะและสิทธิ (6.42 เท่า: เข็มที่ 1 4,000,050 เข็ม ประชากรขึ้นทะเบียน 2565 จำนวน 623,335 คน) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสถานะและสิทธิควรมีฐานข้อมูล การตรวจทานข้อมูล ความเชื่อมโยงของฐานข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อมีข้อมูลเชิงประจักษ์ทางโครงสร้างประชากร และการกระจาย เพื่อออกแบบการบริหารจัดการบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม

References

กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางปฏิบัติ ตามมติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 23 มีนาคม 2553 การให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐาน ด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. การให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เพิ่มเติมและการจัดการสถานะและสิทธิในการบริการสาธารณสุขของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติทั้งระบบ. ทำเนียบรัฐบาล; 2558.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เพิ่มเติม. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

UNHCR Thailand. UNHCR warns of vaccine gap risk for world’s stateless [Internet]. UNHCR Thailand. 2022 [cited 2022 Aug 3]. Available from: https://www.unhcr.org/th/en/28257-unhcr-warns-of-vaccine-gap-risk-for-worlds-stateless.html

Zintel S, Flock C, Arbogast AL, Forster A, von Wagner C, Sieverding M. Gender differences in the intention to get vaccinated against COVID-19: a systematic review and meta-analysis. Z Gesundheitswissenschaften. 2022 Jan 7;1–25.

Marzo RR, Ahmad A, Abid K, Khatiwada AP, Ahmed A, Kyaw TM, et al. Factors influencing the acceptability of COVID-19 vaccination: A cross-sectional study from Malaysia. Vacunas. 2022 May;23:S33–40.

Handayani S, Rias YA, Kurniasari MD, Agustin R, Rosyad YS, Shih YW, et al. Relationship of spirituality, health engagement, health belief and attitudes toward acceptance and willingness to pay for a COVID-19 vaccine. PloS One. 2022;17(10):e0274972.

Adedeji-Adenola H, Olugbake OA, Adeosun SA. Factors influencing COVID-19 vaccine uptake among adults in Nigeria. PLOS ONE. 2022;17(2):e0264371.

Kamal AHM, Sarkar T, Khan MM, Roy SK, Khan SH, Hasan SMM, et al. Factors Affecting Willingness to Receive COVID-19 Vaccine Among Adults: A Cross-sectional Study in Bangladesh. J Health Manag. 2021 Oct 14;09735984211050691.

Neluvhalani VSJ. Statelessness and COVID-19 in South Africa. South Afr Public Law. 2022 Jul 5;37(1):28 pages-28 pages.

Burki T. Statelessness in the COVID-19 pandemic. The Lancet. 2021 Apr 24;397(10284):1529–30.

Barron GC, Laryea-Adjei G, Vike-Freiberga V, Abubakar I, Dakkak H, Devakumar D, et al. Safeguarding people living in vulnerable conditions in the COVID-19 era through universal health coverage and social protection. Lancet Public Health. 2022 Jan 1;7(1):e86–92.

Kitro A, Sirikul W, Piankusol C, Rirermsoonthorn P, Seesen M, Wangsan K, et al. Acceptance, attitude, and factors affecting the intention to accept COVID-19 vaccine among Thai people and expatriates living in Thailand. Vaccine. 2021 Dec 20;39(52):7554–61.

Thanapluetiwong S, Chansirikarnjana S, Sriwannopas O, Assavapokee T, Ittasakul P. Factors associated with COVID-19 Vaccine Hesitancy in Thai Seniors. Patient Prefer Adherence. 2021 Oct 31;15:2389–403.

Kitro A, Sirikul W, Dilokkhamaruk E, Sumitmoh G, Pasirayut S, Wongcharoen A, et al. COVID-19 vaccine hesitancy and influential factors among Thai parents and guardians to vaccinate their children. Vaccine X. 2022 Aug 1;11:100182.

หมอพร้อม กระทรวงสาธารณสุข. สถิติ รายงานข้อมูลการให้บริการ บน แพลตฟอร์ม หมอพร้อม [Internet]. หมอพร้อม. 2565 [cited 2022 Aug 7]. Available from: https://mohpromt.moph.go.th/mpc/mp-pf/statistics/

สำนักสารนิเทศ. สธ.แจงวัคซีนโควิด 16.8 ล้านโดสสำหรับ รพ.สต.เป็นโควตา จัดส่งระดับจังหวัด หากไม่พร้อมปฏิเสธได้ ไม่เกิดปัญหาล้นตู้เย็น [Internet]. 2565 [cited 2022 Aug 8]. Available from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/174878/

The Nation Thailand. Over 80% the people in Bangkok, Chiang Mai, Khon Kaen, Chonburi, Songkhla fully vaccinated [Internet]. nationthailand. 2021 [cited 2022 Nov 29]. Available from: https://www.nationthailand.com/blogs/in-focus/national/40009767

Tan J, Yoshida Y, Ma KSK, Mauvais-Jarvis F, Lee CC. Gender differences in health protective behaviours and its implications for COVID-19 pandemic in Taiwan: a population-based study. BMC Public Health. 2022 Oct 12;22(1):1900.

Ishimaru T, Okawara M, Ando H, Hino A, Nagata T, Tateishi S, et al. Gender differences in the determinants of willingness to get the COVID-19 vaccine among the working-age population in Japan. Hum Vaccines Immunother. 2021 Nov 2;17(11):3975–81.

Boon-itt S, Rompho N, Jiarnkamolchurn S, Skunkan Y. Interaction between age and health conditions in the intention to be vaccinated against COVID-19 in Thailand. Hum Vaccines Immunother. 2021 Dec 2;17(12):4816–22.

Kaewkungwal J, Apidechkul T, Jandee K, Khamsiriwatchara A, Lawpoolsri S, Sawang S, et al. Application of Mobile Technology for Improving Expanded Program on Immunization Among Highland Minority and Stateless Populations in Northern Thailand Border. JMIR MHealth UHealth. 2015 Jan 14;3(1):e4.

Krassanairawiwong T, Suvannit C, Pongpirul K, Tungsanga K. Roles of subdistrict health office personnel and village health volunteers in Thailand during the COVID-19 pandemic. BMJ Case Rep CP. 2021 Sep 1;14(9):e244765.

McCosker LK, El-Heneidy A, Seale H, Ware RS, Downes MJ. Strategies to improve vaccination rates in people who are homeless: A systematic review. Vaccine. 2022 May 20;40(23):3109–26.

World Health Organization. Ensuring the integration of refugees and migrants in immunization policies, planning and service delivery globally. Geneva, Switzerland; 2022 p. 108.

Pothisa T, Ong-Artborirak P, Seangpraw K, Tonchoy P, Kantow S, Auttama N, et al. Knowledge of COVID-19 and Its Relationship with Preventive Behaviors and Vaccination among Adults in Northern Thailand’s Community. Int J Environ Res Public Health. 2022 Jan;19(3):1521.

Wongnuch P, Mulikaburt T, Apidechkul T, Srichan P, Tamornpark R, Udplong A, et al. Acceptance and accessibility to the early phase COVID-19 vaccination among the healthcare workers and hill tribe population in Thailand. Sci Rep. 2022 Jun 30;12:11035.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2023