ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ธิดาพร ศิลประเสริฐ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแล, ผู้ช่วยเหลือดูแล (Care giver), ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลที่เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแล และเปรียบเทียบความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลจากผู้ช่วยเหลือดูแล ระหว่างเดือนมีนาคม 2565-พฤษภาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ช่วยเหลือดูแล (Care giver) เขตอำเภอเมืองอ่างทองจำนวน 31 คนโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแล ประกอบด้วย 7 กิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้ 2) แบบวัดทักษะ 3) แบบวัดพฤติกรรม และ 4) แบบประเมิน ADL วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Wilcoxon Signed Rank Test 

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแล กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนที่ผู้ช่วยเหลือดูแลเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ดังนั้นการพัฒนาความรู้และทักษะของผู้ช่วยเหลือดูแลอย่างสม่ำเสมอ โดยการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเอง (Self- efficacy) ร่วมกับการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) จะทำให้ผู้ช่วยเหลือดูแลเกิดพฤติกรรมการดูแลที่ดี มีความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้

References

วิมล โรมา และคณะ.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1). กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.);2561.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร.บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จํากัด(มหาชน); 2559.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). กรุงเทพมหานคร:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่งจํากัด (มหาชน); 2560.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง. การคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. รายงานข้อมูล; 2563.

Bandura, A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company;1997.

Freire, P. Pedagogy of the oppressed. Translated by Myra Bergman Ramos. New York: Continuum International Publishing Group; 2012.

กุนนที พุ่มสงวน. การสร้างเสริมพลังอำนาจทางสุขภาพ : บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557 ;15(1):86-90.

ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตากปี 2562. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2562;2:49-62.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด;2558.

กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ และประจวบ แหลมหลัก. ผลโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561;12: 61-74.

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์และเพชรา ชวนะพันธุ์. ประสิทธิภาพของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในเขตสุขภาพที่ 4. วารสารศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี. 2559;1:22-9

Green, L. W. and Kreuter, M. W. Health promotion planning: and environmental approach Toronto: Mayfied Publishing;1991.

Dewey, J. Moral principle of education. Boston: Houghton Miffin Co; 1976.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.2560;3:79-91.

Roger, C.R. On becoming a person: A therapist’s view of psychotherapy. Boston: Houghton Miffin; 1961.

ภาสินี แซ่ติ๋ว ชไมพร จินต์คณาพันธ์ ศราวุธ เรืองสวัสดิ์และธนิดา ทีปะปาล. ศักยภาพของผู้ช่วยเหลือดูแล ผู้สูงอายุ หลังจากอบรมหลักสูตรผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2562 ; 4:30-2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023