ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของประชากรกลุ่มวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ ยินดี King Narai Hospital, Lopburi Province

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , เขตสุขภาพที่ 4 , โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

บทนำ: ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดในกลุ่มคนวัยทำงานมากขึ้น และปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญของเขตสุขภาพที่ 4 ยังคงเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นหลัก ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพ

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชากรกลุ่มวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชากรกลุ่มวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข

วิธีการวิจัย: รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากประชากรวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 230 คน ระหว่างเดือนกันยายน ถึงตุลาคม 2565 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับสูง จำนวน 206 คน (ร้อยละ 89.56) และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในภาพรวม อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 100 คน (ร้อยละ 43.48) ส่วนปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน และดัชนีมวลกาย นอกจากนี้ยังพบว่าความรู้ของกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กับ   ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

สรุปผลการวิจัย: การวางแผนส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ น่าจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2562. เข้าถึงได้จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/ wp-content/uploads/2019/07/HP-eBook_14.pdf

นันทกร ทองแตง. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs). 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.si. mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1371

อังศินันท์ อินทรกำแหง. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพส่าหรับเด็กและเยาวชนไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (Health Literacy Scale for Thai Childhood Overweight). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การเตรียมพร้อมสู่การทำงานอาสาและการพัฒนารูปแบบความ สัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการสุขภาวะตนเองที่เกี่ยวข้องกับการท่างานอาสาของบุคลากรในมหาวิทยาลัย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2559; 22[2]: 103-119.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและสุขภาวะครอบครัวกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: การพัฒนา โมเดลเชิงสาเหตุทางวัฒนธรรมของพฤติกรรมสุขภาพและโปรแกรมจิตวิทยาเชิงบวกและความรอบรู้ด้านสุขภาพ. รายงานการวิจัย. 2561. เข้าถึงได้จาก http://bsris.swu.ac.th/upload/ 282370.pdf

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อมรินทร์; 2561.

Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008; 67[12]: 2072-8.

Chin, J.. Morrow, D,G., Stine-Morrow, E.A.., Conner-Garcia, T., Graumlich, J.F., & Murray, M.D. The process-knowledge model of health literacy: Evidence from a componential analysis of two commonly used measures. J Health Commun 2011; 16[Suppl 3]: 222-41.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4. รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เขตสุขภาพที่ 4. สระบุรี: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4; 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.sbo.moph. go.th/sbo/file/รายงานผลการดำเนินงาน%20เขตสุขภาพที่%204%20ปี%202564.pdf? page_id=1501

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมและ การประเมินด้านความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรม สุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

เบญจวรรณ สอนอาจ. แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม สุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

อุบล ตุลยากรณ์. การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช; 2553.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice (5th ed). New Jersey: Pearson Education, Inc; 2006.

ดุสิดา พุทธิไสย และศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2562; 14[1]: 124-141.

วัชราพร เชยสุวรรณ และอมลวรรณ ตันแสนทวี. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี 2561; 45[2]: 250-266.

Darvishpour J, Omidi S, Farmanbar R. The Relationship between Health Literacy and Hypertension Treatment Control and Follow-up. Caspian Journal of Health Research 2016; 2[1]: 1-8. doi: 10.18869/acadpub.cjhr.2.1.1

Shi D, Li J, Wang Y, Wang S, Liu K, Shi R, et. al. Association between health literacy and hypertension management in a Chinese community: a retrospective cohort study. Internal and Emergency Medicine 2017; 12[6]: 765-776. doi: 10.1007/s11739-017-1651-7.

Stiles E. Promoting health literacy in patients with diabetes. Nursing Standards 2011; 26[8]: 35-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022