ปัจจัยทำนายพฤติกรรมของบิดามารดาในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา ของเด็กวัยหัดเดินในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐนิชา เหลืองอ่อน -
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นุจรี ไชยมงคล รองศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

พัฒนาการด้านภาษา, พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของบิดามารดา, เด็กวัยหัดเดิน

บทคัดย่อ

บทนำ: พัฒนาการด้านภาษาในเด็กวัยหัดเดินมีความสำคัญอย่างมาก บิดามารดามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่บุตร

วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมของบิดามารดาในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กวัยหัดเดิน กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดาหรือมารดาของเด็กวัยหัดเดิน 91 ราย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตนของบิดามารดา การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การได้รับข้อมูลการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา และพฤติกรรมของบิดามารดาในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก มีค่าครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .96, .90, .91, .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา: พบว่า การรับรู้ความสามารถแห่งตนของบิดามารดาและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมของบิดามารดาในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กได้ร้อยละ 28.4 (R2 = .284, p < .001) โดยการรับรู้ความสามารถแห่งตนเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด (gif.latex?\beta= .339, p < .01) รองลงมาคือ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (gif.latex?\beta = .305, p < .01)   

สรุป: บุคลากรด้านสุขภาพควรแนะนำบิดามารดาในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กวัยหัดเดิน โดยเน้นการรับรู้ความสามารถแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

พัฏ โรจน์มหามงคล. ความผิดปกติของพัฒนาการด้านภาษา. ใน : สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู และจริยา จุฑาสิทธิ์, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2561: 411-434.

พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, ดุษฎี เงินหลั่งทวี. พัฒนาการเด็ก. ใน : สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, จริยา จุฑาสิทธิ์, พัฏ โรจน์มหามงคล, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2561: 365-382.

National Institute on Deafness and Other Communication Disorders. Quick statistics about voice, speech, language. [cited 2016, September 7]. Available from https://www. nidcd.nih.gov/health/statistics.

Sunderajan T, Kanhere SV. Speech and language delay in children: Prevalence and risk factor. [cited 2016, May 16]. Available from https://www.researchgate.net.

กรมอนามัย. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยครั้งที่ 6 พ.ศ.2560 กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย: 2561.

เดือนฉาย แสงรัตนายนต์. ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกพูดเด็กพูดช้าโดยใช้คู่มือฝึกพูดสำหรับผู้ปกครอง. วารสารราชานุกูล 2559; 31: 1-12.

ศรัชฌา กาญจนสิงห์. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยเขตสุขภาพที่ 6. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2560; 42: 68-85.

นวพรรษ บุญชาญ. สื่อทีวี-ไอที ภัยร้ายต่อเด็ก. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2555, [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก https:// th.rajanukul.go.th.

ธนพิชฌน์ แก้วกา. กรมอนามัยเตือนพ่อแม่ใช้มือถือ แท็บเล็ตหรือโทรทัศน์ เลี้ยงลูกอายุต่ำกว่า 2 ปี ทำร้ายพัฒนาการลูก. [อินเทอร์เนต็]. กรุงเทพฯ: สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย; 2563, [เข้าถึงเมื่อ 15 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/ TCATG201103110817591

Johnson B. Impacts of screen media on young children. BMH Medical Journal 2020; 7: 1-5.

Green LW, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological. 4th ed. McGraw-Hill Higher Education; 2005.

ณิชาณี พันธุ์งาม. ปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2560; 11: 5-20.

ปรัชญาพร ธิสาระ, จุฑามาศ ผลมาก, เพชรลดา สีขาว, บุษยารัตน์ ศิลปวิทยาทร. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35: 169-176.

อัจฉราพร ปิติพัฒน์, สิริณัฏฐ์ โภคพัชญ์ภูเบศ, ชลินดา คำศรีพล, สมสมร เรืองวรบูรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบิดามารดาเด็กวัยหัดเดิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2561; 34: 1-10.

ต้องตา ขันธวิธิ, จิราวรรณ แท่นวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีโอกาสทำให้เกิดพัฒนาการด้านการใช้ภาษาไม่สมวัยในเด็กอายุ 9 เดือนในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2561; 41: 87-97.

ลาวัลย์ ทาวิทะ, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, มาลี เอื้ออำนวย. พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของบิดามารดาหลักและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลสาร 2559; 43: 12-22.

บุษบา อรรถาวีร์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. รูปแบบการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2561; 13: 229-242.

สุดารัตน์ กงแก้ว. เพชรพราว ธาระวงค์. กรกนก มีสินทรัพย์ .ฐิตาพร เหมือนแก้ว. บรรณาธิการ.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลตะคร้ออำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 เรื่องการพัฒนาสู่สังคมอัจฉริยะ. มหาวิทยาลัยปทุมธานี; 9 กุมภาพันธ์ 2562.

มาลี เอื้ออำนวย, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, พรรณนิภา บุญกล้า, ศศิธร คำมี, กรชนก หน้าขาว. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของบิดามารดาและผู้ดูแล อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท 2564; 3: 48-63.

Cohen J. A power primer. Psychological Bulletins 1992; 112: 155-159.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2553.

อรุณศรี กัณวเศรษฐ, พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์, สุภาวดี เครือโชติกุล. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของบิดามารดาเด็กวัยปฐมวัย.วารสารวชิรสารการพยาบาล 2561; 20: 40-53.

House JW. Work stress and social support. Addison-Wesley; 1981.

ชญาน์นันท์ ใจดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของบิดามารดาเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.

Bandura A. Self-Efficacy: The Exercise of control. W.H. Freeman and Company; 1997.

รรฤณ แสงแก้ว, จิดาภา ผูกพันธ์, กนกจันทร์ เขม้นการ, วาสนา มาตพรมราช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2564; 14: 152-164.

มัทรี คอดริงตัน, จุฑามาศ โชติบาง, อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564; 37: 227-236.

กัญญา สอนสี, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์, นุจรี ไชยมงคล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมการเล่นแก่บุตรวัยก่อนเรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560; 28: 91-99.

Taylora ZE, Congerb RD, Robinsc RW, Widaman KF. Parenting practices and perceived social support: Longitudinal relations with the social competence of Mexican-origin children. Journal of Latinx Psychology 2015; 3: 193–208.

จินตนา วัชรสินธุ์, รวิวรรณ คำเงิน, ชนกพร ศรีประสาร, ณัชนันท์ ชีวานนท์. ปัจจัยครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอายุ 6-11 ปี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 11: 12-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023