การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
คำสำคัญ:
การพัฒนา , รูปแบบการพยาบาล , ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
บทนำ: สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 พยาบาลวิชาชีพจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและตนเอง
วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรค COVID-19 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 3 กลุ่ม ได้แก่ หัวหน้าหอ 22 คน พยาบาลวิชาชีพ 277 คน และผู้ป่วย 556 ราย (เวชระเบียน) การพัฒนารูปแบบฯ มี 4 ขั้นตอน: 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบฯ 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบการพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดย (1) แบบทดสอบความรู้ด้านการนิเทศทางคลินิกและด้านการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย (2) แบบทดสอบความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (3) แบบบันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย (4)แบบบันทึกคุณภาพการบันทึก (5) แบบบันทึกความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบฯ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผ่านการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้และแบบบันทึกฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired T-test, Wilcoxon signed rank test Chi-square test และการวิเคราะห์จัดกลุ่มเนื้อหา
ผลการวิจัย: ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยและผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการสูงขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ด้านองค์กรพบคุณภาพการบันทึกการพยาบาลและความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบฯหัวหน้าหอผู้ป่วยในระดับมากที่สุด
References
WHO.Coronavirus (COVID 19). 2564. เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564. เข้าถึงได้จาก /https://covid19 .who.int/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน COVID-19 ประจำวัน ข้อมูลประเทศไทย.2564. เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/ dataset/covid-19-daily
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการรักษา พยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงและเสียชีวิตของกลุ่ม 608. เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม.2565. เข้าถึงได้จาก/ https://www.dms.go.th/Content /Select_Landding_page?contentId=32681
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19. 2564. เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์.2565. เข้าถึงได้จาก / https://ddc.moph.go.th/ index.php
Huang C, Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Hu Y, et al. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet 2020; 395:497-506.2020.7.
อุ่นเรือน กลิ่นขจร, สุพรรษา วรมาลี, และสุวัชรี ยาใจ. ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ coronavirus disease 2019 :รายงานผู้ป่วย.เวชบันทึกศิริราช 2563;13(2): 155-163
WHO. Coronavirus (COVID 19). 2564. เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://covid19.who.int/
สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายและราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. Palliative Care in COVID-19 Pandemic. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา: 2563.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19. เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม. 2564. เข้าถึงได้จาก/ https:// covid-19. Dms.go.th/Content/ Select_Content_Gird_Home
งานเวชสถิติ โรงพยาบาลเลิดสิน. สถิติผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). 2564. (อัดสำเนา)
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ที่ 5. นนทบุรี: บริษัท ก.การพิมพ์เทียนกวง จำกัด: 2564.
Proctor, B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. in fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001.
Linda.S. Smith. How to use Focus charting. Nursing 2000, 2002;30(5), 76-77
อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3) : 137-143
Mahdjoubi, D. Four Types of R&D. Austin, Texas: Research Associate, IC2Institue; 2009.
Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 1970;30, 607-610
Bloom BS, Hasting JT, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learnig. Newyork: McGraw-HILL Book Co; 1971
พิมลพันธ์ เจริญศรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. Jounal of Nursing and Health Care. 2560; 35(3): 48-57
อารี ชีวเกษมสุข. การบันทึกทางการพยาบาลในยุคความปกติใหม่. วารสารแพทย์นาวี. 2564; 48(1): 184-198
ตรีญดา โตประเสริฐ. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2564;15(1) : 25-36
กรรณิกา อังกูรและจุก สุวรรณโณ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกต่อสมรรถนะพยาบาลและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหาดใหญ่. J Thai Stroke Soc. 2563; 19(3): 6-16
พรนิภา หาญละคร และคณะ. ความเครียด ความกังวลและผลกระทบของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564; 36(4): 488-494
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว