อิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • จินตนา บุญพร โรงพยาบาลบางระจัน

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, พฤติกรรมการมาตรวจตามนัด, พฤติกรรมการรับประทานยา

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรู้ที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยนำแนวคิดความรอบรู้ทางสุขภาพของดอนนัทบีมมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 100 ราย ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีเอาตัวแปรเข้าทั้งหมด

ผลการวิจัย: พบว่าพบตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว  สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพได้ ร้อยละ 55 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (R2 = .555) โดยพบว่าความรู้เกี่ยวกับการรับประทานยามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพสูงที่สุด (b =.801) รองลงมาคือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพื้นฐาน (b =.367) ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับปฏิสัมพันธ์ (b =.367)

สรุป:  ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะควรพัฒนาความรู้ด้านการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งจะส่งผลให้มีการสื่อสารด้านสุขภาพกันมากขึ้นและเพิ่มช่องทางสื่อเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้าข้อมูลและความรู้ด้านยาและโรคเรื้อรัง

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 [อินเทอร์เน็ต] สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ค.64]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

World Health Organization. Noncommunicable diseases country profiles 2018.WHO Report. Geneva: WHO; 2018.

กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDsเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องพ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี ข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center:HDC) [อินเทอร์เน็ต]. กลุ่มงานยุทธศาสตร์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ค.64]. เข้าถึงได้จาก: www.sbo.moph.go.th.

Baker, D. W., Wolf, M. S., Feinglass, J., Thompson, J. A., Gazmararian, J. A., & Huang, J. Health literacy and mortality among elderly persons. Archive Internal Medicine 2007; 167(14), 1503-1509.

รักษิตา ภานุพันธ์, อุไรวรรณ สายสุด, สุพิชฌาย์ ชนะวงศ์และประเสริฐ ประสมรักษ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้าตาลได้และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้าตาลไม่ได้ ตำบลนาจิก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2564; 4(1): 35-47.

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม และนุชนาฏ สุทธิ.ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง.รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562; 25(3): 280-295.

ราภรณ์ อริยสิทธิ์.ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2.สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564; 18(2): 142-155.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed). Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดียจำกัด; 2553.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และนรีมาลย์ นีละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health literacy) ผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง.นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุน บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2559

นายเอกชัย ชัยยาทา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในจังหวัดลำพูน [สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ประทุมธานี:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

Nutbeam,D. Defining and measuring health literacy: what can we learn on literacy studies?. International Journal Public Health 2008;54: 303-305.

วิมลรัตน์ บุญเสถียร และอรทัย เหรียญทิพยะสกุล.ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: สถานการณ์และผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอาย.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563; 2(1): 1-19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022