ความชุกและความสัมพันธ์ของปัจจัยความเครียดและสุขภาพจิตของผู้ให้บริการด้านการแพทย์ในการระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ณ โรงพยาบาลมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
ผู้ให้บริการด้านการแพทย์, สุขภาพจิต, ไวรัสโคโรน่า (COVID-19), ความเครียดบทคัดย่อ
บทนำ: การระบาดระลอกใหม่เดือนมกราคม พ.ศ.2565 ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว บุคลากรทางการแพทย์จึงมีภาระงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อตอบโต้สถานการณ์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บแบบสำรวจภาคตัดขวาง ในบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จำนวน 185 ราย โดยเก็บข้อมูลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม พ.ศ.2565 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและความสัมพันธ์ของปัจจัยความเครียดและสุขภาพจิตของผู้ให้บริการด้านการแพทย์ในการระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ของบุคลากรทางการแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Fisher’s exact test และ Chi square test
ผลการวิจัย: พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวนทั้งหมด 185 ราย แบ่งเป็นเพศหญิงจำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 79.92 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 37.35±10.48 ปี ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียด แบบประเมินความเครียด (ST5) พบว่า ผู้ร่วมวิจัยที่ไม่มีความเครียด (0 – 4 คะแนน) มีจำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 38.92 ผู้ร่วมวิจัยที่สงสัยว่ามีปัญหาความเครียด (5 – 7 คะแนน) มีจำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 44.86 ผู้ร่วมวิจัยที่มีความเครียดสูง (8 คะแนนขึ้นไป) มีจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 16.22 ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.84±2.8 แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ (TMHI-15 ) พบว่าผู้ร่วมวิจัยมีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป (51 – 60 คะแนน) จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 20.54 ผู้ร่วมวิจัยมีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (44 – 50 คะแนน) จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 56.22 ผู้ร่วมวิจัยมีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป (£ 43 คะแนน) จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 23.24 ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 46.62±5.63
สรุป: บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลมวกเหล็ก พบว่ามีความเครียดระดับสูง ร้อยละ 16.22 และมีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 23.24
References
Cheng ZJ, Shan J. 2019 Novel Coronavirus: where we are and what we know. Infection 2020; 48: 155-63. doi: 10.1007/s15010-20-01401-y.
Maxman A. More than 80 clinical trials launch to test coronavirus treatment. Nature 2020; 578(7795): 346-348. doi: 10.1038/d41586-020-00444-3.
Watts CH, Vallance P, Whitty CJM Coronavirus: global solutions to prevent a pandemic. Nature 2020: 7578(7795): 363. doi: 10.1038/d41586-020-00457-y.
Department of MicrobilogySirirajMahidol Universirty. Available from: https://www .si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/ article_files/1410_1.pdf
Kampf G, Todt D, Pfaender S, Steinmann E. Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and their inactivation with biocidalagents. J Hosp Infect 2020; 104(3): 246-251. doi: 10.1016/j.jhin .2020.01.022. Epub 2020 Feb 6.
Department of Disease Control. [Cited 2020 Mar 21]. Available from: https:// www ph.mahidol.ac.th/news/covid19/Edited_COVID-19%20byDDC-MOPH.pdf
Wold Health Organization. [Cited 2020 Mar 21]. Available from: http://www.who.int /emergencies/disease/novel-coronavirus-2019/
Nilchaikovit T, Sukying C. Factor associated with mental health outcomes among health care workers exposed to coronavirus disease 2019; J Psychiatr Assoc Thailand 2020; 63(2): 102-114.
Jianbo Lai, Simeng Ma, Ying Wang, ZhongxiangCai. Factors Associated with Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Net Open.2020; 3(3): e203976. doi: 10.1001/jamanetworkopen .2020.3976.
Chen-Yun Liu, Yun-Zhi Yang, Xiao-Ming Zhang, Xinying Xu. The Prevalence and InfluencingFactors in Anxiety in Medical Workers FightingCOVID-19 in China: A Cross-Sectional Survey, Epidemiol Infect. 2020; 148: e98. doi: 10.1017/ S0950268820001107.
Akekalak Sangsirilak, Sirinrat Sangsirilak. Stress and Depressed Mood in Healthcare Workers During COVID-19 Outbreak; J Psychiatr Assoc Thailand 2020; 65(4): 400-408.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว