ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน

ผู้แต่ง

  • จิราภา สุวรรณกิจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหก

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, เด็กก่อนวัยเรียน, ผู้ดูแลเด็ก

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัญหาทุพโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อกำลังคนของชาติในอนาคต การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน 3-5 ปี

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยก่อนเรียนและผู้ดูแล จำนวน 280 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนและบันทึกน้ำหนักและส่วนสูง เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 – 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า เด็กวัยก่อนเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 60.00 โดยพบปัจจัยนำ ได้แก่ น้ำหนักแรกคลอด พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยก่อนเรียน อายุผู้ดูแล ความรู้เกี่ยวกับอาหารในเด็กวัยก่อนเรียน               และการจัดอาหารให้กับเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ดูแล มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียน (p<.001, p<.05 ตามลำดับ)  ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียน (p<.05) และปัจจัยเสริม ได้แก่ การปลูกฝังนิสัยการบริโภคอาหารให้กับเด็กวัยก่อนเรียนมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียน (p<.001)

สรุปผล: ภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนตามเกณฑ์มากที่สุด และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ น้ำหนักแรกคลอด พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยก่อนเรียน อายุผู้ดูแล ความรู้เกี่ยวกับอาหารในเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ดูแล การจัดอาหารให้กับเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ดูแล รายได้ของครอบครัว และการปลูกฝังนิสัยการบริโภคอาหารให้กับเด็กวัยก่อน

References

วชรีกร อังคประสาทชัย, ยุนี พงศ์จตุร วิทย์, สาวิตรี วงศ์อินจันทร์. ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561; 26(3): 52-61.

ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุรรณเวหา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(3): 226-235.

World Health Organization. Nutrition. [internet]. 2021 [10 August 2022]. Available from: https:// www.who.int/health-topics/nutrition# tab=tab_1

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. สุขภาพคนไทย 2561. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด; 2561.

ศักรินทร์ สุวรรณเวหา, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2562; 25(2): 8-24.

Green, L. and Kreuter, M. Health program planning: An educational and ecological approach (4th Edition). McGraw Hill, New York: 2005.

อาซูรา รีเด็ง, จีราพัชร์ พลอยนิลเพชร และกัลยา ตันสกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ของเด็กแรกเกิด- 5 ปี ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. ใน; การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10; 2562. หน้า 1558-78.

ชัชฏา ประจุดทะเก, อัญชลี ภูมิจันทึก, ประดับ ศรีหมื่นไวย. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560 .วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2562;13 (31):159-177.

Muthuri, S. K., Onywera, V. O., Tremblay, M. S., Broyles, S. T., Chaput, J. P., Fogelholm, M., ISCOLE. Relationships between parental education and overweight with childhood overweight and physical activity in 9–11 year old children: Results from a 12-country study. PLoS One. 2016; 11(8): 1-14.

A Masooth Mohamed, A.B. KulanMohaideen, S. selvarajini. Factors influencing for the nutritional status of preschool children : A study on children age between three to five years. [internet]. 2019 [ 10 August 2022]. Available from : file:///C:/Users/ ADMIN/Downloads/journalarticle-masooth.pdf

Huang, H., Jasimah, C. W., Radzi, W. M., Jenatabadi, H. S. Family environment and childhood obesity: A new framework with structural equation modeling. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2017; 14(2): 34-45.

สุชาดา พิชัยธรรม,ยุวยงค์ จันทรวิจิตร, และอุมาพร ห่านรุ่งชโรทร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองกับภาวะโภชนาการของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารพยาบาลสาร. 2563; 47(4): 88-99.

ณัฐธวัลย์ เพ็งแจ่มและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562; 2562. หน้า 941-49.

ยุภา โพผา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ [วิทยานิพนธ์]. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2557.

วีรวัลย์ ศิรินาม. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.

ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุรรณเวหา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(3): 226-235.

ชัยพร พรหมสิงห์, วรรณา กางกั้น, พนิต โล่เสถียรกิจ. ภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยไทย พ.ศ. 2557 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc03.files.wordpress. com /2016/09/ wannapa0959.pdf

กัมปนาท คำสุข, บานเย็น ล้านภูเขียว และจริยา เสาเวียง. พฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองรังกา จังหวัดนครราชสีมา. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562; 2562. หน้า 908-14.

Roy, S., Bandyopadhyay, S., Bandyopadhyay, L., Dasgupta, A., Paul, B., & Mandal, S. Nutritional status and eating behavior of children: A study among primary school children in a rural area of West Bengal. Journal of family medicine and primary care. 2020; 9(2): 844.-49.

วิจิตรา อิ่มอุระ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561; 27(1): 1-12.

สมศิริ รุ่งรัตน์, อาภาวรรณ หนูคง, ณัฐธิรา ไกรมงคล และรุ่งรดี พุฒิเสถียร. การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล. 2560; 32(4): 120-33.

Siregar, N. S., Harahap, N. S., Sinaga, R. N., & Affandi, A. The Effect of Nutrition Knowledge on Nutritional Status in Sport Science Students. In Journal of Physics: Conference Series. 2020; 1462(1): 1-6.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, & ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562; 12(1): 38-48.

Chilapur, G. G., & Natekar, D. S. Dietary Habits and Nutritional Status among Preschool Children: An Observational Study at Bagalkot. SSR Institute of International Journal of Life Sciences. 2015; 8(3): 3005-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022