ผลการใช้ Cannabidiol (CBD) ในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • นัทวลัญช์ จันทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเวช, แคนนาบิไดออล, การรักษาทางการแพทย์ด้วยกัญชา

บทคัดย่อ

บทนำ: กัญชาเป็นพืชที่มีผลออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท มีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคตั้งแต่ยุคโบราณ ประเทศอังกฤษมีการใช้กัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้า ประเทศจีนมีการใช้กัญชากับไวน์เป็นยาสลบ ประเทศอินเดียมีการใช้กัญชาระงับปวดเส้นประสาท เก๊าท์ รูมาตอยด์ โรคกลัวน้ำ ลมชัก เคลื่อนไหวผิดปกติ ซึมเศร้า และโรคจิตเวช โดยประเทศไทยจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และได้มีการอนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ในปี 2562 และยังพบน้อยในการบำบัดผู้ป่วยทางจิตเวช การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทบทวนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับกัญชาและโรคจิตเวช       

วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) โดยทำการสืบค้นบทความจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Pub Med และ Google Scholar ที่ได้รับการตีพิมพ์ย้อนหลัง 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2565 และประเมินคุณภาพของบทความโดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยของ Heller RF, et al.(2008)

ผลการศึกษา: จากการสืบค้นมีบทความในเบื้องต้นทั้งหมดจำนวน 197 บทความ ประเมินคุณภาพของบทความคงเหลือทั้งสิ้นจำนวน 9 บทความ ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินคุณภาพงานวิจัย และเกี่ยวข้องกับการศึกษาการใช้ยาที่มีส่วนผสมของกัญชาทางการแพทย์ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช

สรุป: การใช้ Cannabidiol หรือ CBD ในการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มจิตเวช ทั้งโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท และโรคนอนไม่หลับ ทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มวัยรุ่นเพศชายและเพศหญิง มีผลการรักษาที่เป็นไปในทางบวก สามารถบรรเทาอาการของโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ทั้งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและกลุ่มที่มีอาการในระยะแรกเริ่มของโรครวมถึงกลุ่มป่วยด้วยโรคจิตเวช โดยยังไม่พบผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยกัญชา

References

Zuardi AW, Hallak JE, Dursun SM, Morais SL, Sanches RF, Musty RE, et al. Cannabidiol monotherapy for treatment-resistant schizophrenia. J Psychopharmacol. 2006;20(5):683-6.

McGuire P, Robson P, Cubala WJ, Vasile D, Morrison PD, Barron R, et al. Cannabidiol (CBD) as an Adjunctive Therapy in Schizophrenia: A Multicenter Randomized Controlled Trial. Am J Psychiatry. 2018;175(3):225-31.

Edwards J, Elkins K, Hinton M, Harrigan S, Donovan K, Athanasopoulos O, et al. Randomized controlled trial of a cannabis‐focused intervention for young people with first‐episode psychosis. Acta Psychiatrica Scandinavica. 2006;114(2):109-17.

Amminger GP, Lin A, Kerr M, Weller A, Spark J, Pugh C, et al. Cannabidiol for at risk for psychosis youth: A randomized controlled trial. Early intervention in psychiatry. 2022;16(4):419-32.

Kayani S. Investigating views and opinions of using Cannabidiol (CBD) to relieve stress and insomnia. 2018.

Berger M, Li E, Amminger GP. Treatment of social anxiety disorder and attenuated psychotic symptoms with cannabidiol. BMJ Case Reports CP. 2020;13(10):e235307.

Schoevers J, Leweke JE, Leweke FM. Cannabidiol as a treatment option for schizophrenia: recent evidence and current studies. Current Opinion in Psychiatry. 2020;33(3):185-91.

Laczkovics C, Kothgassner OD, Felnhofer A, Klier CM. Cannabidiol treatment in an adolescent with multiple substance abuse, social anxiety and depression. Neuropsychiatr. 2021;35(1):31-4.

Rouble AN, Tazkarji B. Is cannabidiol an effective treatment of anxiety in adults? Evidence-Based Practice. 2021;24(11):13-4.

ศ.พญ.สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล พณเ. <การใช้สารสกัดกัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต>. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022