ความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในผู้ป่วยโรครากประสาทส่วนคอและส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บ โรงพยาบาลสระบุรี

ผู้แต่ง

  • จริยา ศุภรพันธ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย, ความสัมพันธ์, โรครากประสาทส่วนคอ, โรครากประสาทส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บ

บทคัดย่อ

บทนำ: การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (electrodiagnosis) และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI)) เป็นการตรวจเพิ่มเติมช่วยในการวินิจฉัยโรครากประสาท (radiculopathy) อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะแสดงถึงรายละเอียดต่างๆของโรคและมีข้อจำกัดในการส่งตรวจที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในกลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยโรครากประสาทส่วนคอและส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บ รวมทั้งความผิดปกติที่พบในการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลสระบุรี

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาชนิดพรรณนาแบบภาพตัดขวางแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive cross-sectional study) ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยโรครากประสาทส่วนคอและส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บซึ่งได้เข้ารับการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย ณ โรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีทั้งผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและผลการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นำมาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจทั้งสองและลักษณะความผิดปกติที่พบจากการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย

ผลการศึกษา: กลุ่มผู้ป่วยทั้งหมด 47 คน สงสัยโรครากประสาทส่วนคอ คิดเป็นร้อยละ 48.9 สงสัยโรครากประสาทส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บร้อยละ 51.1 เป็นเพศชายร้อยละ 51.1 เพศหญิงร้อยละ 48.9 มีผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยที่เป็นผลปกติ (normal) ร้อยละ 38.2  การตัดประสาท (denervation) ร้อยละ 53.2 การมีประสาทไปเลี้ยงใหม่ (reinnervation) ร้อยละ 4.3 และการเปลี่ยนแปลงเกิดจากประสาทเรื้อรัง (chronic neurogenic change) ร้อยละ 4.3 ผลการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพบกระดูกสันหลังมีลักษณะเสื่อม (degeneration) ร้อยละ 10.6 การโป่ง (bulging) ร้อยละ 14.9 การยื่น (protrusion) ร้อยละ 8.5 และการกดรากประสาท (nerve root compression) ร้อยละ 66 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งกลุ่มโรครากประสาทส่วนคอและส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในผู้ป่วยทั้งกลุ่มโรครากประสาทส่วนคอและส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บ อาจพิจารณาส่งตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเพิ่มเติมในกรณีตรวจไม่พบการกดรากประสาทจากการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่สามารถเข้ารับการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้

References

Kuligowski T, Skrzek A, Cieślik B. Manual Therapy in Cervical and Lumbar Radiculopathy: A Systematic Review of the Literature. Int J Environ Res Public Health. 2021 Jun 7;18(11):6176.

Iyer S, Kim HJ. Cervical radiculopathy. Curr Rev Musculoskelet Med. 2016 Sep;9(3):272–80.

อินทรกำแหง ปช ชาญวิทย์ โพธิ์งามวงศ์, ภัทราวุธ. กลุ่มกล้ามเนื้อและจำนวนการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในการระบุโรครากประสาทส่วนเอวร่วมใต้กระเบนเหน็บ. 1. 2559;26: เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร.

Ghasemi M, Golabchi K, Mousavi SA, Asadi B, Rezvani M, Shaygannejad V, et al. The value of provocative tests in diagnosis of cervical radiculopathy. J Res Med Sci. 2013;4.

Nafissi S, Niknam S, Hosseini SS. Electrophysiological evaluation in lumbosacral radiculopathy. :4.

Reza Soltani Z, Sajadi S, Tavana B. A comparison of magnetic resonance imaging with electrodiagnostic findings in the evaluation of clinical radiculopathy: a cross-sectional study. Eur Spine J. 2014 Apr;23(4):916–21.

Levin KH. Electrodiagnostic approach to the patient with suspected radiculopathy. Neurol Clin. 2002 May;20(2):397–421.

Barr K. Electrodiagnosis of Lumbar Radiculopathy. Phys Med Rehabil Clin N Am. 2013 Feb;24(1):79–91.

Govindarajan R, Kolb C, Salgado E. Sensitivity and Specificity of MRI and EMG in Diagnosing Clinically Evident Cervical Radiculopathy: A Retrospective Study (P02.224). Neurology. 2013 Feb 12;80(7 Supplement):P02.224.

Yousif S, Musa A, Ahmed A, Abdelhai A. Correlation between Findings in Physical Examination, Magnetic Resonance Imaging, and Nerve Conduction Studies in Lumbosacral Radiculopathy Caused by Lumbar Intervertebral Disc Herniation. Adv Orthop. 2020 Jan 29;2020:1–6.

Hosseininezhad M, Hatamian H, Alizadeh A, Firozkohi B, Yousefzadeh S, Bakhshayesh B, et al. Agreement of electrodiagnosis, clinical findings and MRI in patients with low back pain. 2015;2(1):7.

Arslan Y, Yaşar E, Zorlu Y. Correlation of Electromyography and Magnetic Resonance Imaging Findings in the Diagnosis of Suspected Radiculopathy. Turk J Neurol. 2016 Jun 5;22(2):55–9.

Singh R, Yadav S, Sood S, Yadav R, Rohilla R. Evaluation of the correlation of magnetic resonance imaging and electrodiagnostic findings in chronic low backache patients. Asian J Neurosurg. 2018;13(4):1078.

Rubinstein SM, Pool JJM, van Tulder MW, Riphagen II, de Vet HCW. A systematic review of the diagnostic accuracy of provocative tests of the neck for diagnosing cervical radiculopathy. Eur Spine J. 2007 Mar;16(3):307–19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022