การเปรียบเทียบความรู้ ความวิตกกังวล ก่อนและหลังเข้ากลุ่มบำบัดประคับประคอง ในผู้ปกครองเด็กออทิสติกโรงพยาบาลอ่างทอง
คำสำคัญ:
โรคออทิสติก , ความวิตกกังวล , กลุ่มบำบัดประคับประคอง, ผู้ปกครองเด็กออทิสติกบทคัดย่อ
บทนำ: ความรู้ ความวิตกกังวลของผู้ปกครองมีผลต่อการดูแลเด็กเด็กออทิสติก มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้ ความวิตกกังวล ในผู้ปกครองเด็กออทิสติก ก่อนและหลังเข้ากลุ่มบำบัดประคับประคอง โรงพยาบาลอ่างทอง
วิธีการศึกษา:การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งมี กลุ่มตัวอย่างและประชากรเป็นผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก จำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเจาะจงและได้รับการเข้ากลุ่มบำบัดประคับประคองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2561 ถึง 31 มกราคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (1) แบบวัดความรู้โรคออทิสติก และ (2)แบบวัดความวิตกกังวล (State Anxiety: Form XI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test
ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มผู้ปกครองหลังเข้ากลุ่มบำบัดมีคะแนนความรู้เฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้ากลุ่มบำบัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 สำหรับความวิตกกังวล มีคะแนนเฉลี่ยหลังการเข้ากลุ่มบำบัดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการศึกษา:การเข้ากลุ่มบำบัดประคับประคองช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มมากขึ้น และช่วยให้ความวิตกกังวลลดลง
References
เพ็ญแข ลิ่มศิลา. (2545). คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง. สมุทรปราการ.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ศรีวรรณา พูลสรรพสิทธิ์ และคณะ. (2548). การศึกษาภาวะออทิสซึมในประเทศไทยและการดูแลรักษาแบบบูรณาการในระดับประเทศ. วรสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย.
นารีลักษณ์ มงคลศิริกูล. (2546). การสนับสนุนทางสังคมในผู้ปกครองเด็กออทิสติก. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จอม ชุ่มชวย. (2538). ครอบครัวของเด็กออทิสติก: เอกสารประกอบการอบรมพัฒนาการบำบัดในเด็กออทิสติกอายุต่ำกว่า 5 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์.
American Psychiatric Association. 1994). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders(4thed). Washington, DC.: American Psychiatric Inc.
สุไปรมา ลีลามณี.(2543). ศึกษาการเผชิญปัญหาภาวะวิกฤติและการได้รับการสนับสนุนทางสังคมของบิดามารดาที่มีบุตรเป็นเด็กออทิสติก. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Chou KR, Liu SY, Chu H. (2002) The effects of support groups on caregivers of patients with schizophrenia. Int J Nurs Stud.
Frisch, N. C.,& Frisch, L. E.(2002). Psychiatric Mental Health Nursing: Understanding the client as well as the Condition (2nded). Albany: Delmar.
ปาณิสรา เกษมสุข. (2551).ผลของกลุ่มบำบัดประคับประคองต่อภาระการดูแลและภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yalom ID. (1975). The theory and practice of group psychotherapy. 2nd ed. New York: Basic Book;
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว