ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของบุคลากรสุขภาพโรงพยาบาลอ่างทอง
คำสำคัญ:
ความเครียด, ปัจจัยแห่งความเครียด, บุคลากรสุขภาพบทคัดย่อ
บทนำ: ความเครียดที่มีสาเหตุจากการทำงานนับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกองค์กรและทุกสาขาอาชีพ ผลกระทบของความเครียดจากการทำงานจะเกิดขึ้นกับบุคลิกภาพผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ทำให้เกิดความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ของตน สมรรถภาพการทำงานลดลง หมดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน นำมาสู่การขาดงาน โยกย้ายงานและการลาออกจากงาน
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของบุคลากรสุขภาพโรงพยาบาลอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากร จำนวน 250 คน เก็บรวมรวบข้อมูลในเดือนธันวาคม 2564 ถึง มกราคม2565 โดยใช้แบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ เชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค ด้านความเครียดจากการทำงาน เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรและระดับความเครียด
ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.4 อายุเฉลี่ย 39.73 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 54.8 การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 59.6 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มากกว่า 10 ปี ร้อยละ 50.4 และรายได้เฉลี่ย 25,523.30 บาทต่อเดือน โดยระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์เครียดสูง ร้อยละ 13.6 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ได้แก่ ตำแหน่งงาน (p-value = 0.019) สถานะทางการเงิน (p-value = 0.002) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียด ได้แก่ ด้านความต้องการในงาน ด้านการพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ด้านความสามารถในการควบคุม/ตัดสินใจ ด้านสวัสดิการ (p-value <0.001)
สรุป: กลุ่มงานบุคลากรควรมีการวิเคราะห์งานสถานะทางการเงินและปัจจัยทางด้านการทำงานให้เหมาะสม อีกทั้งควรจัดอบรมทักษะการจัดการความเครียดทักษะแก้ปัญหาให้บุคลากรและจัดให้มีช่องทางในการรับคำปรึกษาเพื่อลดปัญหาความเครียดจากการทำงาน รวมถึงกิจกรรมเพื่อลดความเครียดในการทำงาน
References
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, จรัมพร โห้ลํายอง. คุณภาพชีวิตการทํางานและความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส;2556
สำนักทะเบียนกลาง. จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร[อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2565].เข้าถึงได้จาก:https://www. matichon.co.th/politics/news_3126075
เชิดชู อริยศรีวัฒนา. เมื่อกระทรวงสาธารณสุขไร้อำนาจ-ไร้เงิน ใครคือตัวจริง กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ บริการสาธารณสุขไทย[อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2565].เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/2011/09/healthcare/
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข.นนทบุรี.กระทรวงสาธารณสุข:2564
รุ่งแสง กนกวุฒิ. ความพึงพอใจของผู้มารับบริการด้านการให้บริการและอาคารสถานที่ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก:2560.
วิภา หวันแหละ.คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา. สงขลา:2558.
ไพฑูรย์ สมุทรสินธ.ปัญหาสุขภาพจิตในสถานประกอบอาชีพ. ใน สมชัย บวรกิตติ, โยธิน เบญจวังและปฐสวรรค์ปัญญาเลิศ, บรรณาธิการ. ตำราอาชีวเวชศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: เจเอสเคการพิมพ์;2542. หน้า 180-207.
กรมสุขภาพจิต. เผยผลสำรวจ "ปชช.-บุคลากรแพทย์" เครียดมากขึ้นช่วงผ่อนปรนฯ โควิด-19.
[อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.) [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://news.trueid. net/detail/no73qGVNn3ro
คณิน จินตนาปราโมทย์, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล.สรีรวิทยาความเครียดจากการทำงาน และการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญความเครียดในอาชีพบุคลากรทางแพทย์.วารสารทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 26: 112-123.
กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลอ่างทอง สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานแผนบุคคลากร:2565.
Cooper, C., & Straw, A. Successful stress Management in a Week. London: Hodder & Stoughton;1993
Neuman, W.L.Social research methods. Qualitative and quantitative aproaches. Boston: Allyn and Bacon; 1991.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์ ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.
Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York:Mcgraw-Hill; 1971.
กาญจนา วิเชียรประดิษฐ์, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ. เอกสารการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 2; 17 พฤษภาคม 2556; ณ โรงแรมริชมอนด์.นนทบุรี; 2556.
บุรัสกร เตจ๊ะมา, สุคนธา คงศีล, สมชาติ โตรักษา, กิติพงษ์ หาญเจริญ. ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎ์อินเตอร์เนชั่นเนล.วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2555;42:82-89
พัฒนวดี เรืองจำเนียร, ณรงค์ ณ เชียงใหม่, รพีพร เทียมจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสนับสนุนโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร 2556;2:97-110.
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์, สิรินรัตน์ แสงสิริรักษ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563; 65(4):400-8.
ทวีป อภิสิทธิ์. ความเครียดทางอารมณ์ของคนทำงาน (ราชการ). ประชาศึกษา 2532;40(3):22-5.
ต่อลาภ อยู่พงษ์พิทักษ์, อริสรา เสยานนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2559.
สมชาย พลอยเลื่อมแสง,ชรินทร์ ลิ้มสนธิกลุ . 2547.การสำรวจทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับสุขภาพจิตตราบาป และการบริการสุขภาพจิต ต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการในสถานบริการสุขภาพจิต.โรงพยาบาลสวนปรุง.เชียงใหม่.
ธัญยธรณ์ ทองแก้ว, ศริลักษณ์ ศุภปีติพร. ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2561;62(2): 197- 209.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว