ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • สมภพ พรหมจรรยา สาธารณสุขอำเภอท่าช้าง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ไดแก พฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการความเครียด เปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลบุคคล ไดแก เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได และความพอเพียงของรายไดที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 355 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) ในแต่ละหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ใช้การทดสอบค่าที (t - test) และความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA)  ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 53.80 อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 65 - 69 ป จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 31.55 การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 87.32 สถานภาพสมรสของส่วนใหญ่สถานภาพคู จำนวน 225 คน คิดเป็นร้อยละ 63.38 รายไดของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,001 – 2,000 บาท จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 34.37 ความเพียงพอของรายได้ส่วนใหญ่เพียงพอ จำนวน 306 คน คิดเป็นร้อยละ 86.20 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไมมีโรคประจำตัว จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 58.31  ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.33)  ข้อมูลส่วนบุคคลอันได้แก่เพศ ความเพียงพอของรายได้ และภาวะการมีโรคประจำตัวต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่มี อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะหน่วยงานในระดับตำบลที่เกี่ยวข้องได้แก่สถานบริการสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ  การจัดกิจกรรมบางอย่างเช่นการออกกำลังกายอาจจะแบ่งกลุ่มอายุให้เหมาะสมกับวัยและความพร้อมของร่างกาย เช่นการรำไม้พลอง การเล่นเปตอง และควรมีการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุให้มีการจัดตั้งชมรมและมีกิจกรรมสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์และมีกิจกรรมร่วมกัน อันจะส่งผลดีในด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

เผยแพร่แล้ว

10-10-2022