ผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิกายในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง

ผู้แต่ง

  • ขวัญเรือน มัชมี งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง
  • กานต์สิริ อุบลม่วง งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง
  • กันย์สินี วิเศษสิงห์ งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบ้านโป่ง
  • กันย์สินี วิเศษสิงห์ งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

โปรแกรมอบอุ่นร่างกาย, อุณหภูมิกาย, การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิกายในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง จำนวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดตามปกติจากวิสัญญีพยาบาลและพยาบาลห้องผ่าตัดส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมอบอุ่นร่างกาย ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดเซสเล่อร์ซึ่งเป็นการทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการให้ความร้อนแก่ร่างกายหรือการป้องกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2560เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ โปรแกรมอบอุ่นร่างกาย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลการผ่าตัดและการระงับความรู้สึก และแบบบันทึกข้อมูลอุณหภูมิ เครื่องมือวิจัยทั้ง 2 ชุด ไดรับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.96 และทดลองใช้กับหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 ราย ตรวจสอบความเป็นปรนัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า ระยะก่อนผ่าตัด กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายเพิ่มขึ้น 0.1 องศาเซลเซียสส่วนกลุ่มควบคุมมีอุณหภูมิกายเฉลี่ยเท่าเดิม  เมื่อพิจารณาผลต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายพบว่ากลุ่มทดลองมีอุณหภูมิกายเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t =0.26, p = 0.79 ) ระยะขณะผ่าตัด กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.5 องศาเซลเซียส ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.7 องศาเซลเซียส เมื่อพิจารณาผลต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายพบว่ากลุ่มทดลอง มีอุณหภูมิกายเฉลี่ยลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t =1.73, p = 0.08) และระยะหลังผ่าตัด พบว่า กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.2 องศาเซลเซียส กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.3 องศาเซลเซียส เมื่อพิจารณาผลต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายในระยะหลังผ่าตัดพบว่ากลุ่มทดลอง มีอุณหภูมิกายเฉลี่ยลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.65, p= 0.001)

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิกายในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง มีอุณหภูมิกายเฉลี่ยในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด สูงกว่าหญิงที่ได้รับการอบอุ่นร่างกายตามปกติจึงควรขยายผลในการปรับปรุงมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดและช่วยทดแทนผ้าห่มเป่าลมร้อนที่มีราคาสูงทำให้คุณภาพการบริการวิสัญญีพยาบาลแก่ผู้ป่วยผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

สุกัญญา เดชอาคม, อังศุมาศ หวังดีและอัญชลา จิระกุลสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น.วิสัญญีสาร2557 ; 40: 48-62.

สุพิศ สกูลคง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการ เกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดิน ปัสสาวะในห้องพักฟื้น.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3:195- 207.

สมจิต ชาโชติ. ศึกษาการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องและได้รับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย โรงพยาบาล มะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี (ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2550.

Hooper,V.D.Thermoregulation in Peri Anesthesia Nursing Core Curriculum: Preoperative, Phase I and Phase II ACU Nursing DM. WB Saunders: St. Louis2004 ; P 444-466.

Sessler, D. I. Complication and treatment of mild hypothermia. Anesthesiology 8 2001 ; 95: 531-543.

Clarke, J. R. Prevention of inadvertent perioperative hypothermia. Pennsylvania Safety Advisory2008 ; 5: 44-52.

Putzu, M., Casati, A., Berti, M., Pagliarini, G., &Fanelli, G. Clinical complications, monitoring and management of perioperative mild hypothermia: Anesthesiological features. The Official journal of Society of Medicine and Natural Sciences of Parma2007 ; 78: 163-169.

Yokoyama, K., Suzuki, M., Shimada,Y., Matsushima, T., Bito, H., & Sakamoto, A. Effect of administration of pre-warmed intravenous fluids on the frequency ofhypothermia following spinal anesthesia for caesarean delivery.Journal of Clinical Anesthesia2009; 21: 242-248.

Woolnough, M., Allam, J., Hemingway, C., Cox, M., &Yentis, S. M. Intra-operativefluid warming in elective cesarean section: A blinded randomized controlled trial.International Journal of Obstetric Anesthesia2009 ; 18: 346-351.

Hasankhani, H., Mohammadi, E., Moazzami, E., Mokhtari, M., &Naghgizadh, M. M. The effects of intravenous fluid temperature on perioperative hemodynamic situation, post-operative shivering, and recovery in orthopaedic surgery.Canadian Operating Room Nursing Journal 2007 ; 25: 20-27.

มนัสนันท์ศิริสกุลเวโรจ, วรารัตน์ แย้มโสภี, ถนอมจิตต์ ดวนด่วน, ศรัณยา ประสิทธิศิริกุลม กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. ผลการใช้อุปกรณ์ "อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย" ต่ออุณหภูมิที่ปลายนิ้วของผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2553 ;4: 38-49.

สาธร หมื่นสกุล. ผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิกายและอาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง(ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

วันเพ็ญ จันทร์แจ่ม.ผลของการป้องกันการสูญเสียความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกและข้อที่มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ. งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและพักฟื้น หอผู้ป่วยพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่: 2553.

นงนุช สุขพูล.การสรางนวัตกรรมผืนผา

อุนใจในการเพิ่มอุณหภูมิกายผูปวยหลัง

ผาตัดในห้องพักฟื้น (ปริญญาพยาบาล

ศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาการพยาบาล

ผู้ใหญ่ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัย,

มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-10-2022