ผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความรู้เกี่ยวกับการ ปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสลายต้อกระจกในโรงพยาบาลชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พาภรณ์ เยาว์วัฒนานุกุล งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเตรียมความพร้อม, ความวิตกกังวล, ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสลายต้อกระจก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แนวคิดของสปิลเบอร์เกอร์และบลูม (Spielberger & Bloom) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความวิตกกังวลและความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสลายต้อกระจก ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดกับกลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามปกติจากพยาบาล โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่รับการตรวจรักษาที่คลินิกห้องตรวจตา ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 รายโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อวีดีทัศน์และแผนการสอน แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประเมินความวิตกกังวลและความรู้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .76 และ.93 ตามลำดับ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ตอบแบบสอบถามก่อนและหลังให้ความรู้ ระหว่างวันที่ 11 เมษายน - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความวิตกกังวลเท่ากับ 0.33 และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความวิตกกังวลเท่ากับ 23.33 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความวิตกกังวลมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.000) และหลังการทดลองกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความรู้เท่ากับ 1.33 และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความรู้เท่ากับ 7.53 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนของความรู้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .000)

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถทำให้ผู้ป่วยต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดสลายต้อกระจกมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเพิ่มมากขึ้น ช่วยทำให้ความวิตกกังวลลดลง จึงควรขยายผลการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดไปใช้กับผู้ป่วยโรคตาอื่นๆและให้ความรู้ไปใช้เป็นมาตรฐานในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยทางจักษุเพื่อเป็นแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน

References

สถิติสำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (อินเทอร์เน็ต). 2553 (เข้าถึงเมื่อ 1มี.ค.2560).เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/29529.

ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล. การพยาบาลวิชาชีพผู้รับบริการที่ผิดปกติทางตา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2545

แผนกห้องผ่าตัดโรงพยาบาลชลบุรี. รายงานการผ่าตัดจักษุ. โรงพยาบาลชลบุรี ; 2559.

ปิยะนุช เพชรศิริ. ผลการให้ความรู้โดยใช้ตัวแบบบุคคลต่อความวิตกกังวลและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดต้อกระจก (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2550.

เอื้องพร พิทักษ์สังข์และคณะ. การศึกษาความวิตกกังวล ความเครียดและความต้องการของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดทางตาแบบผู้ป่วยนอก. วารสารศิริราช 2554 ; (4) : 35-41.

ศรินทรา ทองมี. ปัจจัยที่อิทธิพลต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบนัดล่วงหน้าในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ; 2548.

อุราวดี เจริญไชย. ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับวิธีการความรู้สึกและคำแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อความวิตกกังวลความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2541.

เกษร พรมมี. ความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยโรคต้อกระจกในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด : กรณีศึกษางานการพยาบาลจักษุวิทยา โรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; 2546.

ลดาวัลย์ อาจหาญ. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้อง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2545.

Bloom, B. Reflection on the Development and Use of the Taxonomy. In Anderson, L. Sosniak, L (Eds) Bloom's Taxonomy : A Forty Year Retrospective. Chicago : The National Society for the Study of Education ; 1994 : 1-8.

Spielberger C.D.,Gorsuch. R.L.,& Lushene, R.E. STAI manual. Florida : Condulting Phychologists Press ; 1970.

Burns N. & Grove S.K. The practice of nursing research : Conduct, critique, & utilization ( ed).St. Louis, MO, Elsevier Saunders ; 2005.

ธนวรรณ ศรีกุลวงศ์. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสังคมสื่ออนไลน์ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของ

ผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2556.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (ครั้งที่3) กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย ; 2553.

กนกวรรณ หอมจันทนากุล. ความเครียดของผู้ป่วยต้อกระจกในระยะรอผ่าตัด (วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2545.

ยุพิน สังฆะมณี. ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายต่อความรู้ ความวิตกกังวลและการ ปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2555.

วรนุช ฤทธิธรรม. ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วย ผ่าตัดช่องท้อง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเซนหลุยส์ ; 2554.

สุธัญญา นวลประสิทธ์และคณะ. ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองต่อ ความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยตาต้อกระจกและญาติผู้ดูแล. วารสารสภาการพยาบาล 2553 ; 78-85.

เจนจบ สุขแสงประสิทธิ์. การพัฒนารายการวีดีทัศน์ประกอบการฝึกอบรมเรื่องกิจกรรมการ สอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ; 2540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-10-2022