ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • บรรจง ทองงอก ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

สิ่งแวดล้อมในการทำงาน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช โดยทำการศึกษาบุคลากรจำนวน 313 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.84) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านจิตใจ (=3.99) ด้านศักยภาพการทำงาน (=3.84) และด้านช่วงเวลาในการทำงาน (=3.68) ส่วนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก (= 3.71) ในด้านการรับรู้ลักษณะงานของบุคลากร (= 3.97) ด้านความพึงพอใจในงาน (= 3.71) และความต้องการความก้าวหน้า (= 3.47) ตามลำดับ และพบว่า สิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ด้านการรับรู้ลักษณะงานของบุคลากร ด้านความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพโดยรวม (p<.001) ระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง (r = .663, .662 และ .640) และมีทิศทางเดียวกัน สิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านศักยภาพการทำงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการรับรู้ลักษณะของบุคลากร, ด้านความต้องการความก้าวหน้า, ด้านความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม (p<.001) ระดับความสัมพันธ์ปานกลาง (r = .447, .409, .443 และ .531) และมีทิศทางเดียวกัน

สรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (p<.001) จึงควรเน้นการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตใจเป็นอันดับแรก ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ทำให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

References

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานการสุขาภิบาลและความปลอดภัยในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2557.

ณัฎฐาสิริ ยิ่งรู้. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญญบุรี. 2555.

ดุษฎี แสงดำ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2552.

Elmore,R.The Role of Local Districts in Instructional Improvement. In S. Fuhrman (Ed.), Designing Coherent Education Policy: Improving the System. San Francisco. 1993.

อัครพล พรหมอุตม์. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 2549.

บุญเอื้อ โจว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ : ศึกษากรณีวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. ภาคนิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2552.

สรายุธ มงคล และคณะ. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของนักศึกษากายภาพบำบัดในวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2559; 5(1): 8-14.

ชุมพร ฉ่ำแสง และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2555.

Hackman, J. R., & Oldham, G. R.Work redesign. Reading, MA: Addison-Wesley. 1980.

Broadbent, Donald E.; Cooper, P. J.; Broadbent, M. H. Human Learning And Memory. Journal of Experimental Psychology. 1978; 4(5): 486-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2022