กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ฉลวย หาลือ โรงพยาบาลพะเยา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน และวิเคราะห์ผลของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน  ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำชุมชน ได้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครู นักเรียน วัยรุ่น ประชาชนในตำบลห้วยแก้ว อำเภอ
ภูกามยาว จังหวัดพะเยา วิเคราะห์ข้อมูล โดย การวิเคราะห์แก่นสาระจากการตีความผลการวิจัย พบว่า

  1. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ปัญหา กำหนดภาพความคาดหวังของชุมชนและมอบหมายความรับผิดชอบ ขั้นที่ 2 กำหนดแนวคิดความร่วมมือในการแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และ ขั้นที่ 3 กำหนดกระบวนการในการแก้ปัญหาโดยภาคีเครือข่าย กลุ่ม อสม.และเยาวชน
  2. ผลของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา พบว่า ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่มีในชุมชนอย่างแท้จริง เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เกิดข้อตกลงในการหาแนวทางป้องกันแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาสุขภาพของเยาวชนตำบลห้วยแก้ว อสม. แต่ละหมู่บ้านที่รับผิดชอบงานวัยรุ่น วัยรุ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการสะท้อนคิด   กิจกรรมเข้าข่ายพี่สอนน้องไม่ท้องในวัยเรียน  ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่ในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ตามการรับรู้ของกลุ่มวัยเรียน ความรู้ที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเอง การมีคู่ครองต้องมีความพร้อมก่อนแต่งงานเพื่อที่จะสามารถดูแลครอบครัวให้มีความสุขมีการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายก่อนการแต่งงานและสามารถปรับตัวได้การมีชีวิตครอบครัวที่ดีต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจบทบาทของตนเองในครอบครัวที่ต้องมีความรับผิดชอบในการสร้างครอบครัวการเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ 

ดังนั้น กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน จึงเป็นสิ่งสำคัญทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อชุมชน ชุมชนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมต่อปัญหาและพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

References

นันทิวา สิงห์ทอง. พฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโรงเรียนมัธยมศึกษาตำบลบ้านแปรง อำเภอด่านขุนทดจังหวัดนคราชสีมา. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2559] เข้าถึงได้จาก .http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2558Vol3No.

World Health Organization. Preventing Early Pregnancy and Poor Reproductive Outcomes: among Adolescents in Developing Countries. 2015 [cited August 11, 2016] Available from http://www.who.int/immunization/hpv/target/preventing_early_pregnancy_and_ poor_reprodu.

กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553 - 2557).2557.[เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2559] เข้าถึงได้จากhttp://www.yalalocal.go.th/new2/detail. php?news_id=2074.

ปฏิญญา เอี่ยมสำอาง และคณะ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำซ้อนที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น. 2558 .[เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2559] เข้าถึงได้จาก.http://digital_ collect.lib.buu.ac.th/ojs/index.php/ health /article/view/2646 .

ศรัณยู เรือนจันทร์. สถานการณ์พฤติกรรมเสียงทางเพศของวัยรุ่นในพื้นที่พัฒนาต้นแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2559.

สุกัญญาอินอิว. ตำราเวชศาสตร์วัยรุ่น.นนทบุรี: ภาพพิมพ์.2559.

Czuba, CE. Empowerment: What Is It? .2015. [cited August 11, 2016] Available from http://www. Joc/ 1999 october/comm1. Php. 1999.

นพพร จันทร์นำชู นรินทร์ สังข์รักษา และกิ่งแก้ว สุวรรณคีรี. รูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจ ชุมชน เพื่อการจัดทำแผนชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.2559; 9 : 1781-1801.

นฤมลมณีงาม. การพัฒนาโปรแกรมสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานตามหลักการเรียนรู้ ด้วยการรับใช้สังคมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้โปรแกรมสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานตามหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม. 2559 . [เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2559] เข้าถึงได้จาก https://www.mysciencework.com/publication/show/7f6fb46f738daa275779fc6e.

Nutbeam.D. Health Literacy and adolescents: a framework and agenda for. Social Science&Medicine. 2008; 2072-8.

นันทนา เดชกำธร. ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2559] เข้าถึงได้จาก https:// www.mysciencework.com /publication / show/ 62708786accf742ef85f2b6621215f9a .

อมรรัตน์เชิงหอม มลิวรรณสรรคชา สัญทิตย์ชอนบุรี และสำเริงอ่อนสัมพันธ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกสุจริตให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านหาดแพง (หาดแพงวิทยา). วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.2557; 221-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2022