ผลการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • วีรชัย ตรีวัฒนาวงศ์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี, ผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

รูปแบบการวิจัย:  เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (The Research and Development) โดยใช้รูปแบบการวิจัยกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการพัฒนา  ระบบที่พัฒนาขึ้นโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย  แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร แกนนำกลุ่มโรคเอดส์  มาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ปี 2557 ผลการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ ประเมินจากความร่วมมือในรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์  อัตราการตรวจปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือด และระดับเม็ดเลือดขาวชนิด  CD4  ประชากรที่ศึกษา เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า ติดเชื้อเอช ไอ วี และโรคเอดส์  เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแลของคลินิกให้คำปรึกษาและยาต้านไวรัสเอดส์ของโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช โดยเก็บข้อมูลจากทะเบียนสะสมทั้งหมด 1,249 ราย ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก 478  ราย 

ผลการศึกษา: 1). ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ภายหลังพัฒนาระบบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนพัฒนาระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.00 2).พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาภายหลังพัฒนาระบบค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนพัฒนาระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.00   3). Viral load ในผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์  ก่อนและหลังพัฒนาระบบ ภายในกลุ่มเดียวกัน  พบว่าก่อนพัฒนาระบบจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ ค่า  Viral  load  <20  copies/ml ร้อยละ 31.1 หลังพัฒนาระบบ ร้อยละ 86.8 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 4). CD4 ในผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ ก่อนและหลังพัฒนาระบบ ภายในกลุ่มเดียวกัน พบว่าก่อนพัฒนาระบบ  ค่าเฉลี่ยของ CD4 = 466.11 cells/mm3หลังพัฒนาระบบพบค่าเฉลี่ยของ CD4 = 528.66  cells/mm3 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00

สรุป  อภิปรายผล: การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์  โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช  เป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน จึงใช้แนวคิดให้มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา โดยทีมสุขภาพ   จนเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อการแก้ปัญหาดังกล่าวเพิ่มความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเองและสามารถเผชิญปัญหาการเจ็บป่วยของตนเองได้มากขึ้นและช่วยให้เห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการรับประทานยาการมาตามนัด  ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของระดับความรู้  พฤติกรรม  ผลการรักษาดีขึ้นก่อนการพัฒนาระบบ

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์ในประเทศ ไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2559.

สมศักดิ์ ศุภวิทย์กุล และคณะ. คู่มือการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2550.

Mocroft, A., et al., Decline in the AIDS and death rates in the EuroSIDA study: an observationalstudy.The Lancet. 2015; 372 : 22-29.

สำนักการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2556.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข,Burden of diseases and Injuries in Thailand. 2014.

งานสถิติโรคเอดส์โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช.สถิติโรคเอดส์ประจำปี พ.ศ.2559. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2022