ผลลัพธ์ของการเริ่มให้ยากระตุ้นความดันโลหิตต่อภาวะช็อกเหตุติดเชื้อ
คำสำคัญ:
ยากระตุ้นความดันโลหิต, ภาวะช็อกเหตุติดเชื้อบทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะช็อกเหตุติดเชื้อเป็นภาวะที่มีพยาธิสรีรวิทยาซับซ้อน ถึงแม้ปัจจุบันจะมีแนวทางการรักษาที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีอัตราการเสียชีวิตสูง การให้ยาปฏิชีวนะและปริมาณสารน้ำที่เหมาะสมสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ ในขณะที่ระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้ยากระตุ้นความดันโลหิตยังไม่แน่ชัด
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยภาวะช็อกเหตุติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ตั้งแต่ 30 มิถุนายน 2558 ถึง 30 มิถุนายน 2560 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะช็อกเหตุติดเชื้อ เมื่อเริ่มได้รับยากระตุ้นความดันโลหิตเร็ว หรือช้า วัตถุประสงค์รองเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การอยู่ที่หอผู้ป่วยวิกฤต การใช้เครื่องช่วยหายใจ การบำบัดทดแทนไต ระยะเวลาและปริมาณของยากระตุ้นความดันโลหิตเมื่อเริ่มได้รับยากระตุ้นความดันโลหิตเร็ว หรือช้า
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะ Septic Shock จำนวนทั้งสิ้น 442 ราย คัดออกตาม Exclusion Criteria คงเหลือผู้ป่วย 320 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่ม Early-NE และ Late-NE อย่างละ 160 ราย พบว่ากลุ่ม Early-NE มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 31.9 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.000) จากผู้ป่วยกลุ่ม Late-NE ที่มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 86.9 ส่วนระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การอยู่ที่หอผู้ป่วยวิกฤต ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ การบำบัดทดแทนไต ระยะเวลาและปริมาณของยากระตุ้นความดันโลหิตทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การให้ยากระตุ้นความดันโลหิตเร็วสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงในผู้ป่วยภาวะช็อกเหตุติดเชื้อ
References
นพ.รัฐภูมิ ชามพูนท, รศ.นพ.ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, รศ.นพ.บุญส่ง พัจนสุนทร. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) 2558.
Derek C. Angus, M.D., M.P.H., and Tom van der Poll, M.D., Ph.D. Severe Sepsis and Septic Shock. N Engl J Med 2013; 369: 840-851.
Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, Peterson E, Tomlanovich M: Early goal directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. N Engl J Med 2001; 345: 1368–1377.
R. Phillip Dellinger, Mitchell M, et al. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Severe Sepsis and Septic Shock: 2012.Crit Care Med 2013;41: 580-637.
Hill SL, Elings VB, Lewis FR. Changes in lung water and capillary permeability following sepsis and fluid overload. J Surg Res 1980; 28: 140–150.
Sakka SG, Klein M, Reinhart K, Meier-Hellmann A. Prognostic value of extravascular lung water in critically ill patients. Chest 2002; 122: 2080–2086.
Sandifer JP, Jones AE. Is the addition of vasopressin to norepinephrine beneficial for the treatment of septic shock. Ann Emerg Med 2013; 62: 534–535.
Daley MJ, Lat I, Mieure KD, Jennings HR, Hall JB, Kress JP. A comparison of initial monotherapy with norepinephrine versus vasopressin for resuscitation in septic shock. Ann Pharmacother 2013; 47: 301–310.
Russell JA, Walley KR, Singer J, et al. Vasopressin versus norepinephrine infusion in patients with septic shock. N Engl J Med 2008; 358: 877–887.
Parrillo JE. Septic shock–vasopressin, norepinephrine, and urgency. N Engl J Med 2008; 358: 954–956.
Ruokonen E, Takala J, Kari A, Saxen H, Mertsola J, Hansen EJ. Regional blood flow and oxygen transport in septic shock. Crit Care Med 1993; 21: 1296–1303.
LeDoux D, Astiz ME, et al. Effect of perfusion pressure on tissue perfusion in septic shock. Crit Care Med 2000; 28: 2729-2732.
Vance Beck, Dan Chateau, ei al. Timing of vasopressor initiation and mortality in septic shock: a cohort study. Critical care 2014; 18: R97-104.
Xiaowu BAI, Wenkui Yu et al. Early versus delayed administration of norepinephrin in patients with septic shock. Critical care 2014; 18: 532-539.
Christopher W. Seymour, Foster Gesten, et al. Time to Treatment and mortality during Mandated Emergency Care for Sepsis. N Engl Med 2017; 376: 2235-2244.
Michael Bernhard, Christoph Lichtenstern, et al. The early antibiotic therapy in septic patient-milestone or sticking point. Critical care 2014; 18: 671.
Varpula M, Tallgren M, et al. Hemodynamic variables related to outcome in septic shock. Intensiove Care Med 2005; 31: 1066-1071.
Dünser MW, Takala J, et al. Arterial blood pressure during early sepsis and outcome. Intensive Care Med 2009; 35: 1225-1233.
Sterling SA, Miller WR, et al. The impact of Timing of Antibiotics on Outcomes in Severe Sepsis and Septic Shock: A Systematic Review and Meta-Analysis. Crit Care Med 2015; 43(9): 1907-1015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว