เรื่องผลของการเจริญสติเพื่อลดระดับความกลัวการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น งานเครื่องมือพิเศษอายุรกรรมโรงพยาบาลสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
การเจริญสติ, ความกลัว, การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบ One group pre-post test design เพื่อศึกษาระดับความกลัวของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นและเปรียบเทียบผลในการลดระดับความกลัวก่อน-หลัง การใช้แนวทางการเจริญสติ โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น จำนวน 30 รายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบวัดความกลัวที่พัฒนาดัดแปลงจากแบบวัดความเจ็บปวด ภายใต้กรอบแนวคิดความกลัวของกัลโลน1 ตั้งแต่เดือนธันวาคม2560 - มิถุนายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า ที แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (dependent or paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นจำนวน 30 ราย มีความกลัวในการทำหัตถการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ระดับความกลัวในระดับปานกลางค่อนข้างมากค่าเฉลี่ย 5.53 และหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ พบว่า ระดับความกลัวอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.43 มีระดับความกลัวลดลงค่าเฉลี่ย 3.1 ค่าความดันโลหิต (Systolic BP) ของผู้ป่วยก่อนได้รับการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Systolic BP) เฉลี่ย 146.67 และ ค่าความดันโลหิต (Systolic BP) ของผู้ป่วยหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Systolic BP) เฉลี่ย 123.73 และพบว่า ค่าความดันโลหิต (Systolic BP) ลดลงเฉลี่ย 22.93 ค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) ของผู้ป่วยก่อนได้รับการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) เฉลี่ย 90.60 ค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) ของผู้ป่วยหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) เฉลี่ย 78.03 และพบว่า ค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) ลดลงเฉลี่ย 12.57 ค่าชีพจร (Pulse) ของผู้ป่วยก่อนได้รับการเจริญสติ มีค่าชีพจร (Pulse) เฉลี่ย 94.80 และค่าชีพจร (Pulse) ของผู้ป่วยหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ มีค่าชีพจร (Pulse) เฉลี่ย 77.97 พบว่า ค่าชีพจร (Pulse) ลดลงเฉลี่ย 16.83 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 (P<0.01)
References
Gullone, E.The Development of Normal Fear: A Century of research, Clinical Psychology Review, Vol. 20. 2000 ; 429-51.
ศิริพร รัตนเลิศ. การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการส่องกล้องทางเดินอาหาร. ใน ทวี รัตนชูเอก, ดารณี เศลารักษ์, บรรณาธิการ. ตำราการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลผู้ปฏิบัติงานด้านการส่องกล้องทางเดินอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพฯ: KRการพิมพ์.2547; 29-50.
ประชิต เตมียะเสพ. การบริหารงานในหน่วยส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทโซเบอร์พริ้นท์ จำกัด. 2555 ; 94-104
อรทัย ณ พัทลุง. ผลของการสวดมนต์ต่อระดับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุหญิงที่เป็นโรคซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2552.
De Souza, Errol B. Corticotropin-releasing factor: Basic and clinical studies of a neuropeptide. CRC Press, 2018.
Deepak, D., Sinha, A., Gusain, V., &Goel, A. Study on effects of meditation on Sympathetic Nervous System functional status in meditators. Journal of Clinical and Diagnosis Resesrch, 2012. 6(6),938-42.
ธนาเดช โพธิ์ศรี. การออกกำลังกายร่วมกับการฝึกสมาธิที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย และระบบประสาทอัตโนมัติ. คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทากรุงเทพมหานคร.2555.
อารี นุ้ยบ้านด่าน, ประนอม หนูเพชร, จินตนา ดำเกลี้ยง และเนตรนภา พรหมเทพ. ผลของการฝึกปฏิบัติสมาธิแบบการเจริญสติโดยการเคลื่อนไหวมือต่อความเครียดและระดับสติของนักศึกษาพยาบาล.2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว