การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์บทคัดย่อ
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุสำคัญอันดับสองของการเสียชีวิตและทุพพลภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารก ภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์สามารถพัฒนาความรุนแรงของโรคได้ถึงขั้นเสียชีวิต สตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ชัก เกิดภาวะของโรคหลอดเลือดสมองอย่างฉับพลัน ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เลือดออกในสมอง ตับวาย ไตวาย และกลุ่มอาการ HELLP นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในทารก เช่น การตายคลอด การบาดเจ็บและ การเสียชีวิตแรกคลอด ซึ่งส่งผลต่อระบบสาธารณสุขเนื่องจากต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลผู้รับบริการกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก พยาบาลจึงต้องใช้ความรู้ในการประเมิน การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และให้การพยาบาล เพื่อให้อาการของภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ เป็นการเปรียบเทียบกรณีศึกษา (Case study) จำนวน 2 ราย
ผลการศึกษาพบว่า(รายที่ 1) หญิงไทยอายุ 38 ปี G2P1 GA 38+2 wks. มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บครรภ์ เวลา 10.00 น. วันที่ 12 มิถุนายน 2560 แรกรับตรวจครรภ์พบ HF ¾ > ⦿ ท่า ROA FHS 134 /min ตรวจภายในพบ Cx.dilate 5 cm. Eff 80 % St. 0 MR ANC ที่คลินิก 7 ครั้ง น้ำหนัก 70 kg. ส่วนสูง 160 cm. BMI 27.34 kg/m2 v/s แรกรับ T 36 °C PR 88 /min RR 22 /min BP 161/112 mmHg Urine albumin 2+ Urine sugar Negative ตรวจร่างกายพบเท้าบวมทั้ง 2 ข้าง DTR 2+ pain score 3 คะแนน การหดรัดตัวของมดลูก I’ 5’ D’ 30” S+ แพทย์พิจารณารับไว้รักษา ขณะรอคลอดผู้คลอดได้รับการรักษาด้วย 50% MgSO4 5 mg + 0.9 % NaCl 100 ml IV drip in 30 min then 50% MgSO4 20 mg + 0.9 % NaCl 1,000 ml IV drip 50 ml/hr (Mg 1 gm/hr) เพื่อลดความดันโลหิตสูง และระหว่างรอคลอด ไม่มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ BP อยู่ในช่วง 161/112-187/119 mmHg on EFM FHS อยู่ในช่วง 130-140 /min ต่อมาเวลา 15.15 น. มีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น ตรวจภายในพบ Cx.fully dilate แพทย์ช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ทารกเพศหญิง คลอดเวลา 15.52 น. น้ำหนัก 3,015 กรัม Apgar score 1’ = 9 คะแนน, 5’ = 10 คะแนน, 10’ = 10 คะแนน ตัดฝีเย็บ Median episiotomy subcutaneous suture Total blood loss 300 ml. ความดันโลหิต 2 ชม.หลังคลอด อยู่ในช่วง 141/89-142/91 mmHg ย้ายหลังคลอด
(รายที่ 2) หญิงไทยอายุ 37 ปี G1P0 GA 32+5 wks. ประวัติพบว่า 7 วันก่อนมาโรงพยาบาล (28 เมษายน 2560) ฝากครรภ์ตามนัดที่โรงพยาบาลพนัสนิคม พบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ Plt.count 87,000 cells/mm3 ส่งตัวมาฝากครรภ์ต่อที่โรงพยาบาลชลบุรี วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 พบว่า ความดันโลหิตสูง 187/112 mmHg, Plt.count 112,000 cells/mm3, Hct 25.4 %, มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ตรวจร่างกายพบเท้าบวมทั้ง 2 ข้าง DTR 2+ แพทย์วินิจฉัย severe PIH R/O HELLP syndrome แพทย์พิจารณา admit ห้องคลอด เวลา 21.30 น. แพทย์พิจารณาให้การรักษา 50% MgSO4 5 mg + 0.9 % NaCl 100 ml IV drip in 30 min then 50% MgSO4 20 mg + 0.9 % NaCl 1,000 ml IV drip 50 ml/hr (Mg 1 gm/hr) เพื่อลดความดันโลหิตสูง ให้ PRC 1 unit หลังจากได้รับยา MgSO4 ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 134/79-135/75 mmHg แต่อาการของ PIHของผู้คลอดมีการพัฒนารุนแรงมาก ผลตรวจ Liver function test พบค่า SGOT เพิ่มขึ้นมาก (305 U/L) แพทย์พิจารณาให้คลอดแต่เนื่องจากเป็นการคลอดก่อนกำหนดแพทย์จึงให้การรักษาเพิ่มเติมด้วย Dexamethasone 6 mg IM q 12 hr. เพื่อกระตุ้นการสร้างสาร surfactant ของปอดทารก วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 แพทย์ set ผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน คลอดทารกเพศหญิง น้ำหนัก 1,618 กรัม Apgar score 1’ = 6 คะแนน, 5’ = 9 คะแนน, 10’ = 9 คะแนน ทารกถูกส่งไปรักษาต่อหอผู้ป่วย SNB Total blood loss 250 ml. และเนื่องจากผู้คลอดมีภาวะHELLP syndrome ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต้องการการดูแลที่ใกล้ชิดแพทย์จึงพิจารณาย้ายไปเฝ้าระวังอาการต่อที่หอผู้ป่วย MICU 19 ชั่วโมง ภายหลังผ่าตัดคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาการทางคลินิกดีจึงย้ายไปพักฟื้นที่หอผู้ป่วยหลังคลอด
จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย การศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องการป้องกัน การดูแลรักษา การพยาบาล รวมทั้งการมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกและประเทศชาติได้
References
กติกา นวพันธุ์. สูตินรีเวชทันยุค. กรุงเทพฯ : พี เอ ลิฟวิ่ง. 2558 ; 113-24.
Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Spong, C. Y., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., ...Sheffield, J. S. (Eds.). Williams OBSTETRICS (24th ed). New York, NY: McGraw-Hill Education. 2014 ; 728-70.
Karumanchi, S. A., Lim, K. H., & August, P. Preeclampsia: Pathogenesis. [Internet]. 2016 [cited 2018 May 1]; Available from: http://www.uptodate.com/contents/preeclampsiapathogenesis?topicKey=- OBGYN%2F6760&elapsedTimeMs=6&view=print&displayedView=full
World Health Organization. WHO recommendations for prevention and treatment of pre- eclampsia and eclampsia. [Internet]. 2011 [cited 2018 May 1]; Available from: http://www.who.int/reproductivehealtpublications/maternal_perinatal_health/9789241548335/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว