การศึกษาประสิทธิผลของการจัดบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ประภาพร นิกรเพสย์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอินทร์บุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบพรรณนาแบบย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ตามรูปแบบคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy COPD Clinic) เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการตรวจรักษาในคลินิกโรคปอดจำนวน 150 ราย และคัดกรองผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ในการศึกษาจำนวน 110 ราย โดยใช้แบบเก็บข้อมูลจากรายละเอียดเวชระเบียนและฐานข้อมูล HosXp [แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป, แบบบันทึกประวัติผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเมื่อเริ่มรักษา (Appendix1), แบบประเมินผลการรักษา (Appendix2), และแบบประเมินคุณภาพชีวิต] ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวัดประสิทธิผลของการจัดบริการด้วย Paired t-test

ผลการศึกษาพบว่า หลังการจัดบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันลดลงจาก 1 ครั้ง/คน/เดือน เป็น 0.5 ครั้ง/คน/เดือน ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย (ค่า6MWD) และคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนการจัดบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย ลดการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน ตลอดจนเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้

References

World Health Organization. COPD predicted to be third leading cause of death in 2030 [homepage on the internet]. [cited 2015 Jun 26]. Available from 2008. http://www.who.int/respiratory/copd/World_Health_Statistics_2008/en/

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2556. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข. 2556.

โรงพยาบาลอินทร์บุรี. ข้อมูลสถิติ ปีงบประมาณ 2558. สิงห์บุรี : โรงพยาบาลอินทร์บุรี. 2559.

กรวรรณ จันทพิมพะ. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลต่อสมรรถนะทางกายและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2550.

เมธิณี จันติยะ, พนิตนาฎ ชำนาญเสือ, ผุสดี คุณาพันธ์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการ โรงพยาบาลสระบุรี. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2554 ; 17 : 328-42.

ปราณี สายรัตน์. ผลของโปรแกรมการฝึกการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2557.

อรุณวรรณ วงษ์เดิม, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติกิจกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2557; 9 : 120-8.

สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติสาธารณสุขที่สำคัญ พ.ศ. 2549-2553. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช); 2553.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease [GOLD]. Pocket guide to global strategy for the diagnosis, management and prevention of chronic obstructive pulmonary disease, A Guide for Health Care Professionals 2017 Edition. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease, Inc., 2017.

วัชรา บุญสวัสดิ์. Easy COPD Clinic Workshop; วันที่ 16 มีนาคม 2554; โรงพยาบาลสวรรค์ ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. ขอนแก่น : คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2554 ; 1–15.

อุไรวรรณ แซ่อุย. Easy COPD Clinic Workshop; วันที่ 16 มีนาคม 2554; โรงพยาบาลสวรรค์ ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. ขอนแก่น :คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554 ; 1–12.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : เรืองแก้วการพิมพ์; 2553.

รัตนา พรหมบุตร. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

อารีรัตน์ ม่วงไหมทอง. ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการหายใจลำบากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2551.

ธิติภรณ์ ยอเสน. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร 2554; 39 : 52-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2022