ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการลดความเจ็บปวดและลดค่ารักษาพยาบาลของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 31 มีนาคม 2561 จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 30 คน และ กลุ่มควบคุม 30 คน โดยมีคุณสมบัติตามที่กำหนด ซึ่งจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา และ ภาวะสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม แบบประเมินความเจ็บปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผู้วิจัยเลือกแบบ NRS (Numeric rating scale) และ ค่ารักษาพยาบาลของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดของข้อเข่า ค่ารักษาพยาบาล ภายในกลุ่ม ด้วยสถิติ t-test for dependent samples เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดของข้อเข่า ค่ารักษาพยาบาล ระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test for independent samples
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง หลังจากได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดของข้อเข่า และ ค่ารักษาพยาบาลลดลง จากก่อนทดลอง และ ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม ได้ผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05 (p<.05)
โดยสรุป ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้โปแกรมดังกล่าว ส่งผลให้ คะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดของข้อเข่า และค่ารักษาพยาบาลลดลง ดังนั้น เพื่อให้การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังลดค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลลง โปรแกรมดังกล่าวควรนำไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ต่อไป
References
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ข้อมูลผู้สูงอายุประเทศไทย. http//www.cps.chula.ac.th/pop info/tha/pic th is thai demo data html.
มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมป์ฯ,http//www. Thaiarthritis.org.
วีระชัย โค้วสุวรรณ และ คณะ. แนวปฏิบัติบริการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. 2553.
Donald, R., Peterson and Joseph. D. Biomechannics Principles and application: Joint-Articuranics surface motion. 2008.
นิภาพร ทองหลอม. ความชุกของอาการข้อเข่าเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมหญิงอายระหว่าง50-60 ปี ตําบลริมใต้ อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550.
Narinder Kaur Multani & Satish Kumar Verma. Quadriceps strength of patients of osteoarthritis knee. Journal of Exercise Science and Physiotherapy, 2005 ; 1: 38-45.
Shahnawaz Anwer & Ahmad Alghadir. Effects of isometric quardriceps exercise on muscle strenght, pain, and function in patients with knee osteoarthritis. Journal of Physical Therapy Science, 2014 ; 26:745–8.
พัชรินทร์ ดวงคล้าย. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. 2546.
Kangchai,W. Efficacy of self-management promotion program for elderly women with urinary incontinence. Thai journal of Nursing Research, 2002 ; 6:101-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว