การพยาบาลผู้สูงอายุที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั่วไปร่วมกับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน เพื่อทำผ่าตัดยึดตรึงกระดูกต้นแขน: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้สูงอายุ, การให้ยาระงับความรู้สึกบทคัดย่อ
การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ มีความยุ่งยาก ซับซ้อน เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น และมักมีโรคประจำตัวร่วมด้วยเสมอ อายุของผู้ป่วยเองนั้น ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการผ่าตัดมากนัก แต่โรคประจำตัวเดิมที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น เป็นสิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ป่วย การทราบข้อมูลการผ่าตัด วิธีการผ่าตัด และการประเมินความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึกก่อนผ่าตัด มีความสำคัญมาก เพื่อที่นำมาวางแผนให้การระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัด และให้การดูแลหลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษานี้เป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 67 ปี กระดูกแขนซ้ายส่วนบนหัก มีโรคประจำตัวคือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื้อรัง เข้ารับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกต้นแขน (Humeral Nail) ภายใต้การระงับความรู้สึกทั่วไปโดยใส่ LMA และได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนด้วยวิธี Brachial Plexus Nerve Block ไม่พบภาวะแทรกซ้อน และได้รับความสำเร็จด้วยดี
References
มานี รักษาเกียรติ. การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้สูงอายุ. ในอักษร พูลนิติพรและคณะ (บรรณาธิการ). ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.2558:207-14.
ปณิตา ลิมปะวัฒนะ. ฉันเข้าสู่วัยเกษียณแล้วหรือยัง. ในปณิตา ลิมปะวัฒนะ (บรรณาธิการ). ด้วยรักและห่วงใยใส่ใจผู้สูงวัย. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. 2554:1-6.
Halaszynski TM. Pain management in the elderly andcognitively impaired patient: the role of regional anesthesia and analgesia. Curr Opin Anaesthesiol.2009; 22:594-99.
บังอร ฉางทรัพย์. กายวิภาคศาสตร์ 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552.
วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ์ และคณะ. ออร์โธปิดิกส์ ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทโฮลิสติกพับลิชซิ่ง จำกัด. 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว