ผลการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานของเจ้าหน้าที่ กลุ่มภารกิจอำนวยการ โรงพยาบาลสระบุรี

ผู้แต่ง

  • สุธิดา รักมโนธรรม กลุ่มภารกิจอำนวยการ โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการประหยัดพลังงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจอำนวยการ โรงพยาบาลสระบุรี  เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental  Research) ลักษณะการศึกษาเป็นการรวบรวมข้อมูล ก่อนและหลังการให้ความรู้ ในกลุ่มเดียว (One group pretest-posttest Design) วัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจอำนวยการ โรงพยาบาลสระบุรี ในการประหยัดพลังงานและเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจอำนวยการก่อนและหลังการให้ความรู้ตามมาตรการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มภารกิจอำนวยการ โรงพยาบาลสระบุรี ในช่วงเดือน มกราคม 2561 – กันยายน 2561 จำนวน 165 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติการทดสอบความแตกต่าง ด้วยสถิติ Paired t-test

 ผลการศึกษา พบว่า ประชากร ส่วนใหญ่อายุ 40 - 49 ปี ร้อยละ 43.9 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 28.5 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.9  สมรสแล้วร้อยละ 52.7 การศึกษา ส่วนมากจบระดับอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 23.6 ปฏิบัติงานในกลุ่มงานบริหารทั่วไป หมวดงานรักษาความปลอดภัย ร้อยละ 13.9  อายุราชการมากกว่า 20 ปี ร้อยละ 24.8 รายได้ 5,000- 10,000 บาท ร้อยละ 47.9 ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 68.5 พักอาศัยอยู่บ้านตนเอง และมีจำนวนเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานมากกว่า 20 คน ร้อยละ 43.6 

ด้านความรู้ ความเข้าใจ ในการประหยัดพลังงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจอำนวยการ โรงพยาบาลสระบุรี พบว่า ก่อนการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 74.54 และเพิ่มขึ้นเป็น 82.38  หลังการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการ  ทัศนคติในการประหยัดพลังงาน พบว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจอำนวยการ มีทัศนคติที่ดีต่อการประหยัดพลังงาน และดีขึ้นหลังการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน โดย ก่อนให้ความรู้และการกำหนดมาตรการ ค่าเฉลี่ยทัศนคติ เท่ากับ 4.09 และหลังการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน ค่าเฉลี่ยทัศนคติเพิ่มขึ้นเป็น 4.30 พฤติกรรมในการประหยัดพลังงาน พบว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจอำนวยการมีพฤติกรรมในการประหยัดพลังงานก่อนให้ความรู้และการกำหนดมาตรการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 และเพิ่มขึ้น หลังการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.28

เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการประหยัดพลังงานก่อนและหลังการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน พบว่า ความรู้ความเข้าใจ  ด้านทัศนคติ และ พฤติกรรม ของเจ้าที่กลุ่มภารกิจอำนวยการ หลังการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน  ต่างกับก่อนการให้ความรู้และการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยพบว่าหลังใช้มาตรการประหยัดพลังงาน มีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมดีกว่าก่อนการใช้มาตรการประหยัดพลังงาน (p-value = 0)

References

http:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/720382.

ประสงค์ เอี๊ยวเจริญ และคณะ.ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการประหยัด พลังงานไฟฟ้าของนักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.2552.

จงลาวัลย์ ศิริสม และคณะ. ความรู้และพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฎ.2550.

สุคนธ์ มาศนุ้ย. พฤติกรรมการประหยัดพลังงานเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนของบุคลากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.2551.

นิศรา จันทร์เจริญสุข. กลยุทธ์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาและบุคลากรคณะ

บริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2022